เมนู

บทว่า จิตตกมฺมทานํ มีความว่า การที่ให้สร้างอาวาสแล้วทำ
จิตรกรรมในอาวาสนั้น สมควร. แต่คำว่า จิตฺตกมฺมทานํ นี้ท่านกล่าวหมาย
เอาการให้จิตรกรรมที่เป็นลายรูปภาพ.
จริงอยู่ ทาน 5 อย่างนี้ โลกสมมติกันว่าเป็นบุญก็จริง แต่ที่แท้ หา
เป็นบุญไม่ คือเป็นอกุศลนั่นเอง.
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพูด เรียกว่า ปฏิภาณ ในคำว่า อุปฺปนฺนํ
ปฏิภาณํ
นี้. ความว่า ธรรม 5 อย่างนี้ อันบุคคลบรรเทาได้ยาก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรเทาได้ไม่ง่าย. แต่บุคคลอาจ บรรเทาได้ด้วยเหตุที่เป็น
อุบาย คือด้วยการพิจารณาและพร่ำสอนเป็นต้น ที่เหมาะกัน.

[อานิสงส์แห่งการกวาด]


ใน 2 บทว่า สกจิตฺตํ ปสีทติ นี้ มีเรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า พระปุสสเทวเถระ ผู้อยู่ที่กาฬันทกาฬวิหาร กวาดลานเจดีย์
ทำอุตรางสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แลดูลานเจดีย์ซึ่งเกลี่ยทรายไว้เรียบร้อย ราว
กะลาดด้วยดอกย่างทราย ให้เกิดปีติและปราโมทย์มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
ได้ยืนอยู่แล้ว. ในขณะนั้น มารได้จำแลงเป็นลิงดำเกิดแล้วที่เชิงเขา เรี่ย
รายโคมัยไว้เกลื่อน ที่ลานเจดีย์ ไปแล้ว. พระเถระไม่ได้อาจเพื่อบรรลุ
พระอรหัต, กวาดแล้ว ได้ไปเสีย. แม้ในวันที่ 2 มาร ได้จำแลงเป็นโค
แก่ กระทำประการแปลกเช่นนั้นนั่นแล. ในวันที่ 3 ได้นิรมิตอัตภาพเป็น
มนุษย์ มีเท้าแก เดินเอาเท้าคุ้ยรอบไป. พระเถระคิดว่า บุรุษแปลกเช่นนี้
ไม่มีในโคจรตามประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ นี่คงเป็นมารแน่ละ จึงกล่าว
ว่า เจ้าเป็นมารหรือ ? มารตอบว่า ถูกละผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นมาร บัดนี้
ไม่ได้อาจเพื่อจะลวงท่านละ. พระเถระถามว่า ท่านเคยเห็นพระตถาคต

หรือ ? มารตอบว่า แน่ละเคยเห็น. พระเถระกล่าวว่า ธรรมดามาร ย่อม
เป็นผู้มีอานุภาพใหญ่ เชิญท่านนิรมิตอัตภาพให้คล้ายอัตภาพของพระผู้มีพระ-
ภาคพุทธเจ้าก่อน. มารกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่สามารถนิรมิตรูปเช่นนั้น ผู้เจริญ
แต่เอาเถอะ ข้าพเจ้าจักนิมิตรูปเทียมที่จะพึงเห็นคล้ายรูปนั้น ดังนี้ แล้วได้
จำแลงเพศของตนตั้งอยู่ด้วยอัตภาพคล้ายพระรูปของพระพุทธเจ้า. พระเถระแล
ดูมารแล้วคิดว่า มารนี้ มีราคะ โทสะ โมหะ ยังงามถึงเพียงนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าจะทรงงามอย่างไรหนอ ? เพราะว่า พระองค์ปราศจากราคะ โทสะ
โมหะ โดยประการทั้งปวง ดั่งนี้แล้ว ได้ปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เจริญ
วิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว. มารกล่าวว่า ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถูกท่านลวงแล้ว.
ฝ่ายพระเถระกล่าวว่า มารแก่ จะมีประโยชน์อะไร ที่เราจะลวงคนเช่นท่าน.
ภิกษุหนุ่มชื่อทัตตะ แม้ในโลกันตรวิหาร กวาดลานเจดีย์แล้วแลดู
ได้โอทาตกสิณ, ยังสมาบัติ 8 ให้เกิดแล้ว, ภายหลังเจริญวิปัสสนา กระทำ
ให้แจ้งซึ่งผล 3.
ใน 2 บทว่า ปรจิตฺตํ ปสีทติ นี้ มีเรื่องเหล่านี้ เป็นอุทาหรณ์
ภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ กวาดลานเจดีย์ใกล้ท่าชัมพุโกละแล้ว ได้เอามือ
ถือตะกร้าเทหยากเยื่อเที่ยวยืนอยู่. ในขณะนั้น พระเถระชื่อติสสทัตตะลงจากเรือ
แลดูลานเจดีย์ ทราบว่า เป็นสถานที่เธอผู้มีจิตอบรมแล้วกวาดไว้ จึงถาม
ปัญหาตั้งพันนัย. ฝ่ายพระติสสะแก้ได้ทั้งหมด.
พระเถระในวิหารแม้บางตำบล กวาดลานเจดีย์แล้ว ทำวัตรเสร็จ
พระเถระ 4 รูปผู้ไหว้เจดีย์มาจากโยนกประเทศ เห็นลานเจดีย์แล้ว ไม่เข้า
ข้างใน ยืนอยู่ที่ประตูนั่นเอง พระเถระรูปหนึ่ง ตามระลึกได้ 8 กัป รูปหนึ่ง

ตามระลึกได้ 16 กัป รูปหนึ่งตามระลึกได้ 20 กัป รูปหนึ่งตามระลึกได้ 30
กัป.
ในคำว่า เทวตา อตฺตมนา โหนฺติ นี้ มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ในวิหารตำบล 1 กวาดลานเจดีย์และลาน
โพธิ์แล้ว ไปอาบน้ำ. เทพดาทั้งหลายมีจิตเลื่อมใสว่า ตั้งแต่กาลที่สร้างวิหาร
นี้มา ไม่มีภิกษุที่เคยบำเพ็ญวัตรกวาดอย่างนี้ จึงพากันมา ได้ยืนถือดอกไม้
อยู่ในมือ. พระเถระมาแล้วกล่าวว่า พวกท่านเป็นชาวบ้านไหน ? เทพดาจึง
กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าอยู่ที่นี่เอง เลื่อมใสในวัตรของท่านว่า ตั้งแต่
กาลที่สร้างวิหารนี้มา ไม่มีภิกษุที่เคยบำเพ็ญวัตรกวาดอย่างนี้ จึงยืนถือดอกไม้
อยู่ในมือ.
ในบทว่า ปสาทิกสํวตฺตนิยํ นี้ มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า ถ้อยคำนี้ ปรารภบุตรอมาตย์คนหนึ่ง และพระอภัยเถระ
เกิดขึ้นว่า บุตรอมาตย์จะเป็นผู้น่าเลื่อมใส หรือว่าพระอภัยเถระจะเป็นผู้น่า
เลื่อมใสหนอ ? ญาติทั้งหลายพูดกันว่า เราทั้งหลายจักแลดูชนทั้ง 2 นั้นในที่
เดียวกัน จึงแต่งตัวบุตรอมาตย์แล้วได้พากันไปด้วยความคิดว่า จักให้ไหว้
พระมหาเจดีย์. ฝ่ายมารดาของพระเถระ ให้ทำจีวรมีราคาบาทหนึ่ง* ส่งไปให้
บุตรด้วยสั่งว่า บุตรของเราจงให้ปลงผมแล้วห่มจีวรนี้ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม
จงไหว้พระมหาเจดีย์. บุตรอมาตย์มีญาติห้อมล้อมขึ้นสู่ลานเจดีย์ ทางประตู
ด้านปราจีน. พระอภัยเถระมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ขึ้นสู่ลานเจดีย์ ทางประตูด้าน
ทักษิณ มาพบกับบุตรอมาตย์นั้นที่ลานเจดีย์ จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านเท
* บาลีบางฉบับเป็นปาสาทิกํ แปลว่า น่าเลื่อมใสก็มี.

หยากเยื่อ ในที่ซึ่งพระมหัลลกเถระได้กวาดไว้จะจับคู่แข่งกับเราหรือ ? ได้ยิน
ว่า ในอัตภาพที่ล่วงไปแล้วพระอภัยเถระ เป็นพระมหัลลกเถระ ได้กวาดลาน
เจดีย์ที่กาชรคาม. บุตรอมาตย์เป็นมหาอุบาสก ถือหยากเยื่อไปเทในที่ซึ่งท่าน
กวาดไว้.
หลายบทว่า สตฺถุ สาสนํ กตํ โหติ มีความว่า ชื่อว่า วัตรคือ
การกวาดนี้ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญ.
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ทำวัตรคือการกวาดนั้น จึงเป็นอันได้ทำตามคำ
สอนของพระศาสดา. เรื่องต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์ในข้อนั้น.
ได้ยินว่า พระสารีบุตร ไปสู่หิมวันตประเทศ ไม่กวาดูก่อนนั่งเข้า
นิโรธที่เงื้อมตำบลหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกถึง ก็ทรงทราบความที่
พระเถระไม่กวาดก่อนนั่ง จึงเสด็จมาทางอากาศทรงแสดงรอยพระบาทไว้ในที่
ซึ่งมิได้กวาดข้างหน้าพระเถระแล้วเสด็จกลับ. พระเถระออกจากสมาบัติแล้ว
เห็นรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประจงตั้งไว้ซึ่งความละอายและ
และความเกรงกลัวอย่างแรงกล้า คุกเข่าลงคิดว่า พระศาสดาได้ทรงทราบความ
ที่เราไม่กวาดก่อนนั่งแล้วหนอ บัดนี้เราจักขอให้พระองค์ทรงทำการทักท้วงใน
ท่ามกลางสงฆ์ ไปสู่สำนักของพระทศพล ถวายบังคมแล้วนั่ง. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า เธอไปไหน ? สารีบุตร แล้วตรัสว่า บัดนี้ การที่ไม่กวาด
ก่อนนั่ง ไม่สมควรแก่เธอ ผู้ตั้งอยู่ในตำแหน่งเป็นรองถัดเราไป. จำเดิมแต่
นั้นมา พระเถรเมื่อยืน แม้ในสถานที่ปลดลูกดุม ได้เอาเท้าเขี่ยหยากเยื่อแล้ว
จึงยืน.

[ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร]


หลายบทว่า อตตโน ภาสปริยนฺตํ น อุคฺคณฺหาติ มีความว่า
ไม่กำหนดที่สุดแห่งถ้อยคำของตน อย่างนี้ว่า ในคดีนี้ ได้สูตรเท่านี้ ได้
วินิจฉัยเท่านี้ เราจักกล่าวสูตรและวินิฉัยเท่านี้.
แต่เมื่อไม่กำหนดอย่างนี้ว่า นี้เป็นคำต้น นี้เป็นคำหลังของโจทก์ นี้
เป็นคำต้น นี้เป็นคำหลังของจำเลย ในคำของโจทก์และจำเลยนี้ คำที่ควรเชื่อ
ถือเท่านี้ คำที่ไม่ควรเชื่อถือเท่านี้ ชื่อว่า ไม่กำหนดที่สุดแห่งถ้อยคำของผู้อื่น.
สองบทว่า อาปตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักความทำต่างกัน
แห่งอาบัติ 7 กองว่า ปาราชิกหรือสังฆาทิเสส เป็นต้น.
บทว่า มูลํ มีความว่า มูลของอาบัติมี 2 คือ กายและวาจา ไม่รู้
จักมูล 2 นั้น.
บทว่า สมุทยํ มีความว่า สมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 ชื่อว่าเหตุเกิดของ
อาบัติ ไม่รู้จักเหตุของอาบัติ 6 นั้น. มีคำอธิบายว่า ไม่รู้จักวัตถุ ของอาบัติ
มีปาราชิกเป็นต้น บ้าง.
บทว่า นโรธํ มีความว่า ไม่รู้จักเหตุดับของอาบัติอย่างนี้ว่า อาบัติ
นี้ย่อมดับ คือ ย่อมระงับด้วยการแสดง อาบัตินี้ ด้วยการอยู่กรรม.
อนึ่ง เมื่อไม่รู้จักสมถะ 7 ชื่อว่าไม่รู้จักข้อปฏิบัติเป็นทางให้ถึงความ
ดับแห่งอาบัติ.
วินิจฉัยในหมวด 5 แห่งอธิกรณ์ พึงทราบดังนี้:-
ความว่า ไม่รู้วิภาคนี้ คือ อธิกรณ์ 4 ชื่อว่า อธิกรณ์. มูล 33 ชื่อว่า
มูลแห่งอธิกรณ์. วิวาทาธิกรณ์ มีมูล 12. อนุวาทาธิกรณ์ มีมูล 14.
อาปัตตาธิกรณ์ มีมูล 6. กิจจาธิกรณ์ มีมูล 1. มูลเหล่านั้นจักมีแจ้งข้างหน้า.