เมนู

บทว่า อุสฺสงกิตปริสงฺกิโต มีความว่า เป็นผู้อันภิกษุทั้งหลาย
ผู้ได้เห็นได้ฟัง ระแวงแล้วและรังเกียจแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแม้เป็นพระขีณาสพ ผู้มีอันไม่กำเริบเป็นธรรมดา
ก็เป็นผู้ถูกระแวงถูกรังเกียจ. เพราะเหตุนั้น อโคจรทั้งหลาย อันภิกษุพึงเว้น
จริงอยู่ ภิกษุผู้ปรากฏเสมอในอโคจรเหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากความเสื่อมยศ
หรือจากความติเตียน.

[ว่าด้วยผ้าบังสุกุลเป็นอาทิ]


บทว่า โสสานิกํ ได้แก่ ผ้าที่ตกที่ป่าช้า.
บทว่า อาปณกํ ได้แก่ ผ้าที่ตกที่ประตูตลาด.
บทว่า ถูปจีวรํ ได้แก่ ผ้าที่เขาห่มจอมปลวกทำพลีกรรม.
บทว่า อภิเสกิกํ ได้แก่ จีวรที่เขาทิ้งที่สถานที่อาบน้ำ หรือที่สถาน
ที่อภิเษกของพระราชา.
บทว่า คตปฏิยาคตํ ได้แก่ ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมาอีก.
มหาโจร 5 จำพวก ได้กล่าวแล้วในอุตริมนุสธัมมสิกขาบท*.
ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย กายโต สมุฏฐหนฺติ มีความว่า ภิกษุต้อง
อาบัติ 5 ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ 1 ได้แก่ อาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ในอันตรเปยยาลอย่างนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควรทำกุฎีด้วยการขอเขาเอง.
ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย กายโต จ วาจโต จ มีความว่า ภิกษุ
ย่อมต้องอาบัติ 5 ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ 3 คือ ย่อมต้องอาบัติที่พระผู้มี
* มหาวิภังค์ 1/169.

พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในอันตรเปยยาลนั้นแลอย่างนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควร
ชักชวนกันทำกุฎี ดังนี้.
บทว่า เทสนาคามินิโย มีความว่า เว้นปาราชิกและสังฆาทิเสสเสีย
ได้แก่อาบัติที่เหลือ.
สองบทว่า ปญฺจ กมฺมานิ ได้แก่ กรรม 5 คือ ตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม และปฏิสารณียกรรมรวม 4 และอุกเขปนียกรรม
ทั้ง 3 อย่าง 1.
สองบทว่า ยาวตติยเก ปญฺจ ได้แก่ อาบัติ 3 คือ ปาราชิก
ถุลลัจจัย ทุกกฏ ของภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้อันสงฆ์ยกวัตร ผู้ไม่ยอมสละ
เพราะสมนุภาสน์ เพียงครั้งที่ 3. สังฆาทิเสส เพราะสมนุภาสน์ในเภทกานุ-
วัตตกสิกขาบทเป็นต้น. ปาจิตตีย์ เพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก.
บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ ของที่ผู้อื่นไม่ประเคน.
บทว่า อวิทิตํ ได้แก่ ชื่อว่าไม่ทราบ เพราะไม่มีเจตนาว่า เรารับ
ประเคน.
บทว่า อกปฺปิยํ ได้แก่ ของที่ไม่ได้ทำให้ควร ด้วยสมณกัปปะ 5.
ก็หรือว่าเนื้อที่ไม่ควร โภชนะที่ไม่ควร แม้อื่น ก็ชื่อว่า ของไม่ควร.
บทว่า อกตาติริตฺตํ ได้แก่ ของภิกษุห้ามโภชนะแล้ว ไม่ได้ทำ
ให้เป็นเดน.
บทว่า สมชฺชทานํ ได้แก่ การให้มหรสพคือฟ้อนเป็นต้น
บทว่า อุสภทานํ ได้แก่ การปล่อยโคผู้ในภายในแห่งฝูงโค.

บทว่า จิตตกมฺมทานํ มีความว่า การที่ให้สร้างอาวาสแล้วทำ
จิตรกรรมในอาวาสนั้น สมควร. แต่คำว่า จิตฺตกมฺมทานํ นี้ท่านกล่าวหมาย
เอาการให้จิตรกรรมที่เป็นลายรูปภาพ.
จริงอยู่ ทาน 5 อย่างนี้ โลกสมมติกันว่าเป็นบุญก็จริง แต่ที่แท้ หา
เป็นบุญไม่ คือเป็นอกุศลนั่นเอง.
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพูด เรียกว่า ปฏิภาณ ในคำว่า อุปฺปนฺนํ
ปฏิภาณํ
นี้. ความว่า ธรรม 5 อย่างนี้ อันบุคคลบรรเทาได้ยาก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรเทาได้ไม่ง่าย. แต่บุคคลอาจ บรรเทาได้ด้วยเหตุที่เป็น
อุบาย คือด้วยการพิจารณาและพร่ำสอนเป็นต้น ที่เหมาะกัน.

[อานิสงส์แห่งการกวาด]


ใน 2 บทว่า สกจิตฺตํ ปสีทติ นี้ มีเรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า พระปุสสเทวเถระ ผู้อยู่ที่กาฬันทกาฬวิหาร กวาดลานเจดีย์
ทำอุตรางสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แลดูลานเจดีย์ซึ่งเกลี่ยทรายไว้เรียบร้อย ราว
กะลาดด้วยดอกย่างทราย ให้เกิดปีติและปราโมทย์มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
ได้ยืนอยู่แล้ว. ในขณะนั้น มารได้จำแลงเป็นลิงดำเกิดแล้วที่เชิงเขา เรี่ย
รายโคมัยไว้เกลื่อน ที่ลานเจดีย์ ไปแล้ว. พระเถระไม่ได้อาจเพื่อบรรลุ
พระอรหัต, กวาดแล้ว ได้ไปเสีย. แม้ในวันที่ 2 มาร ได้จำแลงเป็นโค
แก่ กระทำประการแปลกเช่นนั้นนั่นแล. ในวันที่ 3 ได้นิรมิตอัตภาพเป็น
มนุษย์ มีเท้าแก เดินเอาเท้าคุ้ยรอบไป. พระเถระคิดว่า บุรุษแปลกเช่นนี้
ไม่มีในโคจรตามประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ นี่คงเป็นมารแน่ละ จึงกล่าว
ว่า เจ้าเป็นมารหรือ ? มารตอบว่า ถูกละผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นมาร บัดนี้
ไม่ได้อาจเพื่อจะลวงท่านละ. พระเถระถามว่า ท่านเคยเห็นพระตถาคต