เมนู

บทว่า อุสฺสงกิตปริสงฺกิโต มีความว่า เป็นผู้อันภิกษุทั้งหลาย
ผู้ได้เห็นได้ฟัง ระแวงแล้วและรังเกียจแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแม้เป็นพระขีณาสพ ผู้มีอันไม่กำเริบเป็นธรรมดา
ก็เป็นผู้ถูกระแวงถูกรังเกียจ. เพราะเหตุนั้น อโคจรทั้งหลาย อันภิกษุพึงเว้น
จริงอยู่ ภิกษุผู้ปรากฏเสมอในอโคจรเหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากความเสื่อมยศ
หรือจากความติเตียน.

[ว่าด้วยผ้าบังสุกุลเป็นอาทิ]


บทว่า โสสานิกํ ได้แก่ ผ้าที่ตกที่ป่าช้า.
บทว่า อาปณกํ ได้แก่ ผ้าที่ตกที่ประตูตลาด.
บทว่า ถูปจีวรํ ได้แก่ ผ้าที่เขาห่มจอมปลวกทำพลีกรรม.
บทว่า อภิเสกิกํ ได้แก่ จีวรที่เขาทิ้งที่สถานที่อาบน้ำ หรือที่สถาน
ที่อภิเษกของพระราชา.
บทว่า คตปฏิยาคตํ ได้แก่ ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมาอีก.
มหาโจร 5 จำพวก ได้กล่าวแล้วในอุตริมนุสธัมมสิกขาบท*.
ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย กายโต สมุฏฐหนฺติ มีความว่า ภิกษุต้อง
อาบัติ 5 ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ 1 ได้แก่ อาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ในอันตรเปยยาลอย่างนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควรทำกุฎีด้วยการขอเขาเอง.
ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย กายโต จ วาจโต จ มีความว่า ภิกษุ
ย่อมต้องอาบัติ 5 ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ 3 คือ ย่อมต้องอาบัติที่พระผู้มี
* มหาวิภังค์ 1/169.