เมนู

เมื่อวางเสนาสนะมีเตียงของสงฆ์เป็นต้น ไว้กลางแจ้งแล้วหลีกไปเสีย
ชื่อว่าต้องในภายนอก ไม่ท้องในภายใน. ที่เหลือชื่อว่าต้องทั้งภายในและ
ภายนอก. อาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ชื่อว่าไม่ต้องทั้งภายในทั้งภายนอก.
วินิจฉัยในอันโตสีมาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุอาคันตุกะ เมื่อไม่ยังวัตรให้เต็ม ชื่อว่าต้องในภายในสีมา.
ภิกษุผู้เตรียมจะไป เมื่อไม่ยังวัตรให้เต็ม ชื่อว่าต้องในภายนอกสีมา.
ภิกษุย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นต้น ทั้งภายในสีมาและภายนอก
สีมา. ย่อมไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ในที่ไหน ๆ.
วินิจฉัยในคามจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุย่อมต้องอาบัติที่ทรงตั้งไว้ควรศึกษา อันเนื่องเฉพาะด้วยละแวก
บ้าน ในบ้าน, ไม่ต้องในป่า.
ภิกษุณีเมื่อให้อรุณขึ้น ย่อมต้องในป่า, ไม่ต้องในบ้าน.
ภิกษุย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นต้น ทั้งในบ้านและในป่า ย่อม
ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ในที่ไหน ๆ.

[วินิจฉัยในปุพพกิจจาทิจตุกกะ]


สองบทว่า จตฺตาโร ปุพฺพกิจฺจา ความว่า พระอรรถกถาจารย์
กล่าวว่า กรรม 4 อย่างนี้คือ การปัดกวาด ตามประทีป ตั้งน้ำฉันน้ำใช้
พร้อมทั้งปูลาดอาสนะ เรียกว่า ปุพพกรณ์. ส่วนกิจ 4 อย่างนี้ คือ นำฉันทะ
ปาริสุทธิ บอกฤดู นับภิกษุและสอนภิกษุณี พึงทราบว่า ปุพพกิจ.
สองบทว่า จตฺตาโร ปตฺตกลฺลา มีความว่า วันอุโบสถ 1 ภิกษุ
ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร เธอเป็นผู้มาแล้ว 1 สภาคาบัติไม่มี 1 บุคคลควร
เว้นไม่มีในหัตถบาสสงฆ์นั้น 1 รวมเรียกว่าปัตตกัลละ ฉะนี้แล.

สองบทว่า จตฺตาริ อนญฺญปาจิตฺติยานิ มีความว่า ปาจิตตีย์ 4
สิกขาบทนี้คือ สิกขาบทว่าด้วยสำเร็จการนอนเบียด, สิกขาบทที่ว่า เอหาวุโส
คามํ วา นิคมํ วา
เป็นอาทิ, สิกขาบทว่าด้วยแกล้งก่อความรำคาญ,
สิกขาบทว่าด้วยแอบฟัง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ทำความหมาย
อย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
สองบทว่า จตสฺโส ภิกฺขุสมฺมติโย มีความว่า สมมติในที่อื่น
พ้นจากสมมติ 13 ที่มาแล้วอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรี
1 เว้น เสียแต่ภิกษุได้สมมติ, ถ้าภิกษุ. . .พึงไห้ทำสันถัตอื่นใหม่ เว้นแต่ภิกษุ
ได้สมมติ, ถ้าเธออยู่ปราศจากยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, พึงบอก
อาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ.

[วินิจฉัยในคิลานจตุกกะ]


วินิจฉัยในคิลานจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อออกปากขอเภสัชอื่น ด้วยความเป็นผู้ละโมบ ในเมื่อมีกิจที่จะ
ต้องทำด้วยเภสัชอื่น ภิกษุผู้อาพาธต้อง (อาบัติ).
เมื่อออกปากขอเภสัช ในเมื่อมีกิจที่จะต้องทำด้วยของมิใช่เภสัช ภิกษุ
ไม่อาพาธต้อง.
ภิกษุผู้อาพาธและไม่อาพาธทั้ง 2 ย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาท
เป็นต้น. ทั้ง 2 ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน).
บทที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 4 จบ