เมนู

พึงทราบความที่ปาราชิก 4 กับสังฆาทิเสส 13 มีวัตถุต่างกัน และ
มีอาบัติต่างกัน.
พึงทราบความที่สังฆาทิเสสเป็นต้น กับอนิยตเป็นต้น มีวัตถุต่างกัน
และมีอาบัติต่างกันอย่างนั้น.
ความที่วัตถุเป็นของต่างกัน (และ) ความที่อาบัติเป็นของต่างกัน ไม่มี
แก่ภิกษุและภิกษุณีผู้ต้องปาราชิก 4 ข้างต้น พ้องกัน.
ในภิกษุและภิกษุณีผู้ต้องอาบัติต่างกันก็ตาม ในภิกษุและภิกษุณีผู้ต้อง
อาบัติที่ทั่วไป (แก่กันและกัน) ที่เหลือก็ตาม มีนัยเหมือนกัน.

[วินิจฉัยในวัตถุสภาคาทิจตุกกะ]


วินิจฉัยในวัตถุสภาคาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
เพราะภิกษุกับภิกษุณีเคล้าคลึงกันด้วยกาย มีความที่วัตถุเป็นสภาคกัน
ไม่มีความที่อาบัติเป็นสภาคกัน.
ในปาราชิก 4 มีความที่อาบัติเป็นสภาคกัน ไม่มีความที่วัตถุเป็น
สภาคกัน. ในสังฆาทิเสสเป็นอาทิ มีนัยเหมือนกัน.
ในปาราชิก 4 ของภิกษุและภิกษุณี มีความที่วัตถุเป็นสภาคกันด้วย
มีความที่อาบัติเป็นสภาคกันด้วย. ในอาบัติที่ทั่วไปทั้งปวงก็นัยนี้.
ในอาบัติที่ไม่ทั่วไป ความที่วัตถุเป็นสภาคกันก็ไม่มี และความที่อาบัติ
เป็นสภาคกันก็ไม่มี.
ก็ปัญหาที่ 1 ในจตุกกะต้น เป็นปัญหาที่ 2 ในจตุกกะนี้, และปัญหา
ที่ 2 ในจตุกกะต้นนั้น เป็นปัญหาที่ 1 ในจตุกกะนี้. ไม่มีความทำต่างกันใน
ปัญหาที่ 3 และที่ 4.

[วินิจฉัยในอุปัชฌายจตุกกะ]


วินิจฉัยในอุปัชฌายจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ก็เพราะไม่ทำวัตรที่อุปัชฌาย์พึงทำแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌาย์ต้องอาบัติ,
สัทธิวิหาริกไม่ต้อง.
เมื่อไม่ทำวัตรอันสัทธิวิหาริกพึงทำแก่อุปัชฌาย์ สัทธิวิหาริกย่อมต้อง
อาบัติ, อุปัชฌาย์ไม่ต้อง.
สัทธิวิหาริกและอุปัชฌาย์ทั้ง 2 ฝ่าย ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ. ทั้ง 2 ฝ่าย
ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป. แม้ในอาจริยจตุกกะ ก็นัยนี้แล.

[วินิจฉัยในอาทิยันตจตุกกะเป็นอาทิ]


วินิจฉัยในอาทิยันตจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เข้าของไม่ได้ให้บาท 1 หรือเกินกว่าบาทด้วยมือ
ของตน ต้องอาบัติหนัก. ใช้ผู้อื่นด้วยสั่งบังคับว่า ท่านจงถือเอาทรัพย์หย่อน
กว่าบาท ต้องอาบัติเบา. 3 บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยนี้.
วินิจฉัยในอภิวาทนารหจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
สำหรับภิกษุณีทั้งหลายก่อน ในโรงฉัน แม้อุปัชฌาย์อยู่ถัดจากภิกษุณี
องค์ที่ 9 ไป ก็เป็นผู้ควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ. และสำหรับภิกษุผู้กำลัง
ฉันค้าง ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ย่อมเป็นผู้ควรอภิวาท แต่ไม่ควร
ลุกรับโดยไม่แปลกกัน.
ภิกษุแม้อุปสมบทในวันนั้น ไปถึงสำนักแล้ว เป็นผู้ควรลุกรับ แต่
ไม่ควรอภิวาท ของภิกษุผู้อยู่ปริวาส แม้มีพรรษา 60.