เมนู

ฝ่ายภิกษุผู้ไม่ทำอาวาสิกวัตร เป็นเจ้าถิ่น จึงต้อง เป็นอาคันตุกะ
ไม่ต้อง ทั้ง 2 พวก ย่อมต้องอาบัติที่เป็นทางกายทวารและวจีทวารที่เหลือ.
ทั้งอาคันตุกะ ทั้งเจ้าถิ่น ย่อมไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน).
วินิจฉัยแม้ในคมิยจตุกกะ. พึงทราบดังนี้:
ภิกษุผู้ไม่ยังคมิยวัตรให้เต็มไปเสีย เป็นผู้เตรียมจะไป จึงต้อง, เป็น
เจ้าถิ่น ไม่ต้อง.
เมื่อไม่ทำอาวาสิกวัตร เป็นเจ้าถิ่น จึงต้อง ผู้เตรียมจะไป ไม่ต้อง.
ทั้ง 2 พวก ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ. ทั้ง 2 พวก ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป
(แก่ตน).

[วินิจฉัยในวัตถุนานัตตตาทิจตุกกะ]


วินิจฉัยในวัตถุนานัตตตาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ความที่ปาราชิก 4 มีวัตถุต่าง ๆ กันและกันแล ย่อมมี, ความที่
ปาราชิก 4 มีอาบัติต่างกันและกันหามีไม่. จริงอยู่ อาบัติปาราชิกนั้นทั้งหมด
คงเป็นอาบัติปาราชิกเหมือนกัน. แม้ในสังฆาทิเสสเป็นต้น ก็นัยนี้แล.
ส่วนโยชนาในคำว่า อาปตฺตินานตฺตตา น วตฺถุนานตฺตตา นี้
พึงทราบโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ความเป็นต่างกันแห่งอาบัติแล ย่อมมีอย่างนี้
คือ เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี เพราะเคล้าคลึงกันและกัน
ด้วยกาย แห่งภิกษุและภิกษุณี, ความเป็นต่างกันแห่งวัตถุหามีไม่, ความ
เคล้าคลึงกันด้วยกายแล เป็นวัตถุแห่งอาบัติแม้ทั้ง 2,
อนึ่ง เพราะฉันกระเทียม เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ.