เมนู

[ว่าด้วยองค์เป็นเหตุลงโทษและเพิ่มโทษ]


สองบทว่า อาคาฬฺหาย เจเตยฺย มีความว่า สงฆ์พึงตั้งใจเพื่อความ
แน่นเข้า คือเพื่อความมั่นคง. อธิบายว่า สงฆ์เมื่อปรารถนา พึงลงอุกเขปนีย-
กรรม แก่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเป็นต้นแล้วไม่ยังวัตรให้เต็ม.
ในคำว่า อลชฺชี จ โหติ พาโล จ อปกตตฺโต จ นี้ มี
ความว่า ไม่พึงลงโทษด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ว่า ผู้นี้เป็นผู้โง่ ไม่รู้จักธรรมและ
อธรรม หรือว่า ผู้นี้มิใช่ปกตัตต์ ไม่รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ. พึงลงโทษแก่
ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ซึ่งมีความเป็นผู้โง่เป็นมูลและมีความเป็นไม่ใช่ผู้ปกตัตต์เป็น
มูล.
ผู้ต้องอาบัติ 2 กอง ชื่อว่าผู้เสียศีลในอธิศีล.
ผู้ต้องอาบัติ 5 กอง ชื่อว่าผู้เสียอาจาระ.
ผู้ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ ชื่อว่าผู้เสียทิฏฐิ.
พึงลงโทษแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ไม่เห็น ไม่ทำคืนอาบัติ และผู้ไม่ยอม
สละทิฏฐิเท่านั้น.
อนาจารต่างโดยชนิดมีเล่นการพนันเป็นต้น ด้วยเครื่องเล่นมีสกา 1
เป็นอาทิ ชื่อว่าเล่นทางกาย.
อนาจารต่างโดยชนิดมีทำเปิงมางปากเป็นต้น ชื่อว่าเล่นทางวาจา.
อนาจารทางทวารทั้ง 2 ต่างโดยชนิดมีฟ้อนและขับเป็นต้น ชื่อว่าเล่น
ทางวาจา.
1. ปาสากาทีหิ, ปาสก =Throw = ทอดลูกบาท - เล่นสกา

อนาจารทวารทั้ง 2 ต่างโดยชนิดมีฟ้อนและขับเป็นต้น ชื่อว่าเล่นทาง
กายและทางวาจา.
ความก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติในกายทวาร ชื่อว่าอนาจารทางกาย
ความก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติในวจีทวาร ชื่อว่าอนาจารทางวาจา
ความก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติในทวารทั้ง 2 ชื่อว่าอนาจารทาง
กายทวารและทางวจีทวาร.
สองบทว่า กายิเกน อุปฆาติเกน ได้แก่ ด้วยการไม่ศึกษา
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติในกายทวาร.
จริงอยู่ ภิกษุใดไม่ศึกษาสิกขาบทนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าผลาญสิกขาบท
นั้น. เพราะเหตุนั้น การไม่ศึกษานั้น ของภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การ
ผลาญเป็นไปทางกาย. แม้ใน 2 สิกขาบทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ข้อว่า กายิเกน มิจฺฉาชีเวน ได้แก่ ด้วยการรับใช้ของคฤหัสถ์
มีเดินส่งข่าวเป็นต้นก็ดี ด้วยเวชกรรมมีฝ่าฝีเป็นต้นก็ดี.
บทว่า วาจสิเกน ได้แก่ ด้วยรับหรือบอกข่าว (ของคฤหัสถ์)
เป็นต้น. บทที่ 3 ท่านกล่าวด้วยอำนาจประกอบบททั้ง 2 เข้าด้วยกัน.
หลายบทว่า อลํ ภิกฺขุ มา ภณฺฑนํ มีความว่า อย่าเลยภิกษุ
เธออย่าทำความบาดหมาง อย่าทำความทะเลาะ อย่าทำความแก่งแย่ง อย่าก่อ
วิวาท.
บทว่า น โวหริตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึงว่ากล่าวอะไรเลย.
จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่สำคัญที่จะพึงฟังถ้อยคำของภิกษุเช่นนั้น
แม้ว่ากล่าวอยู่.

ข้อว่า น กิสฺมิญฺจิ ปจิเจกฏฺฐาเน มีความว่า (ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ 3 คือเป็นอลัชชีเป็นต้น ) อันสงฆ์ไม่พึงตั้งไว้ในตำแหน่งหัวหน้า
ไร ๆ คือแม้ตำแหน่งเดียว มีถือพัด (อนุโมทนา) เป็นต้น.
สองบทว่า โอกาสํ การาเปนฺตสฺส มีความว่า (ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ 3 คือเป็นอลัชชี เป็นต้น ) ซึ่งขอโอกาสอยู่อย่างนี้ว่า ขอท่านจงให้
โอกาส ข้าพเจ้าอยากพูดกะท่าน.
ข้อว่า นาลํ โอกาสกมฺมํ กาตุํ มีความว่า โอกาสอันภิกษุไม่พึง
ทำว่า ท่านจักทำอะไร ? ดังนี้ .
ข้อว่า สวจนียํ นาทาตพฺพํ มีความว่า คำให้การ ไม่ควรเชื่อถือ
คือแม้ถ้อยคำ ก็ไม่ควรฟัง ไม่ควรไปในที่ซึ่งเธอประสงค์จะเกาะตัวไป.
หลายบทว่า ตีหงฺเคหิ สมนฺนาคตสฺส ภิกฺขุโน วินโย มีความว่า
ภิกษุนั้นย่อมรู้วินัยโด วินัยนั้นย่อมเป็นวินัยของเธอ วินัยนั้น อันสงฆ์ไม่
พึงถาม.
สองบทว่า อนุโยโค น ทาตพฺโพ มีความว่า สงฆ์ไม่พึงให้
โอกาสเพื่อถาม แก่ภิกษุพาลนั้น ผู้ถามอยู่ว่า นี้ควรหรือ ? เธออันสงฆ์พึง
ตอบว่า จงถามภิกษุอื่น. แม้ภิกษุใด ย่อมถามภิกษุนั้น ภิกษุนั้น อันภิกษุ
ผู้บัณฑิตพึงกล่าวว่า ท่านจงถามภิกษุอื่น เพราะเหตุนั้น ภิกษุพาลนั้น อัน
ภิกษุอื่นไม่พึงถามเลยทีเดียว คือคำถามของภิกษุพาลนั้น อันใคร ๆ ไม่พึงฟัง.
สองบทว่า วินโย น สากจฺฉิตพฺโพ มีความว่า ปัญหาวินัยอัน
ใคร ๆ ไม่พึงสนทนา คือเรื่องที่ควรหรือไม่ควร ก็ไม่พึงสนทนา (กับภิกษุ
พาลนั้น).

[ว่าด้วยขาวอบาย 3 พวกเป็นต้น]


สองบทว่า อิทมปฺปหาย ได้แก่ ไม่สละลัทธิมีความเป็นผู้ปฏิญ-
ญาว่า ตนเป็นพรหมจารีบุคคลเป็นต้นนั่น.
สองบทว่า สุทฺธํ พฺรหฺมจารึ ได้แก่ ภิกษุผู้ขีณาสพ.
สองบทว่า ปาตพฺยตํ อาปชฺชติ ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ตกไปคือ
การเสพ.
แต่เพราะพระบาลีว่า อิทมปฺปหาย บุคคลนั้น พึงละความปฏิญญา
ว่าตนเป็นพรหมจารีบุคคลนั้นเสียแล้ว ขอขมาพระขีณาสพเสียว่า ข้าพเจ้ากล่าว
เท็จ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าพเจ้า แล้วสละลัทธิที่ว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี
เสีย ทำการชำระคติให้สะอาด.
อกุศลทั้งหลายด้วย รากเหง้าทั้งหลาย ชื่อว่าอกุศลมูล อีกอย่างหนึ่ง
รากเหง้าของอกุศลทั้งหลาย ชื่อว่าอกุศลมูล. แม้ในกุศลมูล ก็นัยนี้แล.
ความประพฤติชั่วหรือความประพฤติผิดรูป ชื่อว่าทุจริต.
ความประพฤติเรียบร้อยหรือความพระพฤติที่ดี ชื่อว่าสุจริต.
ทุจริต ที่ทำด้วยกายอันเป็นทางสำหรับทำ ชื่อว่ากายทุจริต.
ในบททั้งปวง ก็นัยนี้แล. คำที่เหลือ นับว่าชัดเจนแล้ว เพราะมีนัย
ดั่งกล่าวแล้วในที่นั้น ๆ ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 3 จบ

(พรรณนาหมวด 4)
[ว่าด้วยประเภทของอาบัติ]


วินิจฉัยในหมวด 4 พึงทราบดังนี้:-