เมนู

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก 5 จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่
รู้ปวารณา 1 ไม่รู้ปวารณากรรม 1 ไม่รู้ปาติโมกข์ 1 ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ 1
มีพรรษาหย่อนห้า 1
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ 5 ไม่ต้องถือนิสัย คือ รู้ปวารณา 1 รู้
ปวารณากรรม 1 รู้ปาติโมกข์ 1 รู้ปาติโมกขุทเทศ 1 มีพรรษา 5 หรือมี
พรรษาเกินห้า 1
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก 5 จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ ศีล ไม่
รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ 1 ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก 1 ไม่รู้อาบัติมีส่วน
เหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ 1 ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ 1
มีพรรษาหย่อนห้า 1
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ 5 ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อาบัติและมิใช่
อาบัติ 1 รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก 1 รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วน
เหลือ 1 รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ 1 มีพรรษาห้า หรือมีพรรษา
เกินห้า 1

โทษในกรรมไม่น่าเสื่อมใสเป็นต้น


[983] กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษ 5 คือ ตนเองก็ติเตียนตน 1
ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียน 1 กิตติศัพท์อันทรามย่อมขจรไป 1 หลง-
ไหลทำกาละ 1 เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก 1

กรรมที่น่าเลื่อมใสมีคุณ 5 คือ ตนเองก็ไม่ติเตียนตน 1 ผู้รู้ทั้งหลาย
ใคร่ครวญแล้วก็สรรเสริญ 1 กิตติศัพท์อันดีย่อมขจรไป 1 ไม่หลงใหลทำ
กาละ 1 เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ 1
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษแม้อื่นอีก 5 คือ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
ย่อมไม่เลื่อมใส 1 คนบางคนพวกที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเป็นอย่างอื่นไป 1 เขา
ไม่เป็นอันทำคำสอนของพระศาสดา 1 หมู่ชนมีในภายหลัง ย่อมถือเป็น
ทิฏฐานุคติ 1 จิตของเขาไม่เลื่อมใส 1
กรรมที่น่าเลื่อมใสมีคุณ 5 คือ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส 1
ผู้ที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป 1 เขาเป็นอันทำคำสอนของพระศาสดา 1
หมู่ชนมีในภายหลัง ย่อมถือเป็นทิฏฐานุคติ 1 จิตของเขาย่อมเลื่อมใส 1
ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลมีโทษ 5 คือ ต้องอาบัติเพราะไม่บอกลาเที่ยวไป
1 ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ 1 ต้องอาบัติเพราะอาสนะกำบัง 1 แสดงธรรมแก่
มาตุคามด้วยวาจาเกิน 5 -6 คำ ต้องอาบัติ 1 เป็นผู้มากด้วยความดำริในกาม
อยู่ 1
ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล คลุกคลีอยู่ในตระกูลเกินเวลา มีโทษ 5 คือ
เห็นมาตุคามเนือง ๆ 1 เมื่อมีการเห็นก็มีการเกี่ยวข้อง 1 เมื่อมีการเกี่ยวข้อง
ก็ต้องคุ้นเคย 1 เมื่อมีความคุ้นเคยก็มีจิตกำหนัด 1 เมื่อมีจิตกำหนัด ก็หวัง
ข้อนี้ได้ คือ เธอจักไม่ยินดีพระพฤติพรหมจรรย์ หรือจักต้องอาบัติที่เศร้า-
หมองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจักบอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ 1

ว่าด้วยพืชและผลไม้


[984] พืชมี 5 ชนิด คือ พืชเกิดจากเงา 1 พืชเกิดจากต้น 1 พืช
เกิดจากข้อ 1 พืชเกิดจากยอด 1 พืชเกิดจากเมล็ด 1
ผลไม้ที่ควรบริโภคด้วยวิธีอันควรแก่สมณะมี 5 คือ จี้ด้วยไฟ 1 กรีด
ด้วยศัสตรา 1 จิกด้วยเล็บ 1 ไม่มีเมล็ด 1 เขาปล้อนเมล็ดออกแล้วเป็นที่ห้า 1.

ว่าด้วยวิสุทธิ 5


[985] วิสุทธิมี 5 คือ ภิกษุแสดงนิทานแล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วย
สุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ 1
แสดงนิทาน แสดงปาราชิก 4 แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้
เป็นวิสุทธิข้อที่ 2
แสดงนิทาน แสดงปาราชิก 4 แสดงสังฆาทิเสส 13 แล้ว นอกนั้น
พึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ 3
แสดงนิทาน แสดงปาราชิก 4 แสดงสังฆาทิเสส 13 แสดงอนิยต 2
แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ 4
สวดโดยพิสดารอย่างเดียว เป็นวิสุทธิข้อที่ 5
วิสุทธิแม้อื่นอีก 5 คือ สุตตุทเทศ 1 ปาริสุทธิอุโบสถ 1 อธิษฐาน
อุโบสถ 1 สามัคคีอุโบสถ 1 ปวารณาเป็นที่ห้า 1.

ว่าด้วยอานิสงส์การทรงวินัยเป็นต้น


[986] การทรงวินัยมีอานิสงส์ 5 คือ กองศีลของตนเป็นอันคุ้มครอง
รักษาดีแล้ว 1 ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้ 1 กล้าพูดใน