เมนู

ขันธกปุจฉาวัณณนา


สองบทว่า อุปสมฺปทํ ปุจฺฉิสฺสํ มีความว่า ข้าพเจ้าจักถามถึง
อุปสัมปทาขันธกะ.
สองบทว่า สนิทานํ สนิทฺเทสํ มีความว่า ข้าพเจ้าจักถามพร้อม
ด้วยต้นเหตุ และอธิบาย.
หลายบทว่า สมุกฺฏฺฐปทานํ กติ อาปตฺติโย มีความว่า บทเหล่าใด
เป็นบทอุกฤษฏ์ คือ เป็นบทสูงสุด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอุปสัม-
ปทาขันธกะนั้น บทอุกฤษฏ์โดยย่อ มีอาบัติเท่าไร ?
อาบัติใด ? อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติด้วยบทใด ?, อาบัติ
นั้น ๆ ท่านกล่าวว่า อาบัติแห่งบทนั้น ๆ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
บทสูงสุดทั้งหลาย มีอาบัติเท่าไร ?
สองบทว่า เทฺว อาปตฺติโย มีความว่า เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้
ยังบุคคลมีอายุหย่อน 2 ปีให้อุปสมบท, เป็นทุกกฏในบททั้งปวงที่เหลือ.
บทว่า ติสฺโส มีความว่า ในอุโปสถักขันธกะ มีอาบัติ 3 อย่างนี้
คือ เป็นถุลลัจจัย เพราะทำอุโบสถแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มุ่งความแตกกันเป็นใหญ่
แก่ผู้กล่าวอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้ จงฉิบทาย. ภิกษุเหล่านี้ จงวอดวาย, ประโยชน์
อะไร ด้วยภิกษุเหล่านั้น, เป็นปาจิตตีย์ แม้เพราะทำอุโบสถร่วมกับภิกษุผู้ถูก
สงฆ์ยกวัตร, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
บทว่า เอกา มีความว่า ในวัสสูปนายิกขันธกะ มีอาบัติทุกกฏ
ชนิดเดียวเท่านั้น.

บทว่า ติสฺโส มีความว่า แม้ในปวารณาขันธกะ ก็มีอาบัติ 3 อย่างนี้
คือ เป็นถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้มุ่งความแตกกันเป็นใหญ่ ปวารณาอยู่, เป็น
ปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ปวารณากับภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร, เป็นทุกกฏ เพราะบท
ทั้งหลายที่เหลือ.
บทว่า ติสฺโส มีความว่า แม้ในจัมมสังยุตต์ ก็มีอาบัติ 3 อย่างนี้
คือ เป็นปาจิตตีย์ แก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้จับแม่โคสาวให้ (จมน้ำ) ตาย,
เป็นถุลลัจจัย เพราะมีจิตกำหนัดถูกองคชาต, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลาย
ที่เหลือ.
แม้ในเภสัชชขันธกะ ก็มีอาบัติ 3 อย่างนี้ คือ เป็นถุลลัจจัย (แก่
ภิกษุผู้ทำสัตถกรรม) ใกล้ที่แคบประมาณ 2 นิ้ว โดยรอบ (แห่งวัจจมัคค์และ
ปัสสาวมัคค์), เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนยาคู, เป็นทุกกฏ เพราะบท
ทั้งหลายที่เหลือ.
กฐิน พระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงแต่ทรงบัญญัติเท่านั้น, ไม่มีอาบัติใน
กฐินขันธกะนั้น.
ในจีวรสังยุตต์ มีอาบัติ 3 เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัย เพราะจีวร
คากรองและเปลือกไม้คากรอง, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอติเรกจีวร, เป็น
ทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
แม้ในจัมมเปยยักขันธกะ ก็มีอาบัติทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น.
แม้ในโกสัมพิกขันธกะ กรรมขันธกะ ปาริวาสิกขันธกะและสมุจจย-
ขันธกะ ก็มีอาบัติทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น.
ในสมถขันธกะ มีอาบัติ 2 เหล่านี้ คือ ภิกษุณีผู้มอบฉันทะย่อมบ่น
ว่า เธอต้องปาจิตตีย์ มีการบ่นว่าเป็นเหตุ เป็นทุกกฏเพราะบททั้งหลายที่เหลือ.

ในขุททกวัตถุกขันธกะ มีอาบัติ 3 เหล่านี้ คือ ภิกษุตัดองคชาตของ
ตน ต้องถุลลัจจัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะกลืนอาหารที่สำรอกออกมาค้างอยู่ใน
ปาก เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
ในเสนาสนขันธกะ มีอาบัติ 3 เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัยเพราะจำ
หน่ายครุภัณฑ์ เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉุดคร่าออกจากสำนักของสงฆ์ เป็นทุกกฏ
เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
ในสังฆเภทักขันธกะ มีอาบัติ 2 เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุ
ผู้พลอยสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์ เพราะคณโภชนะ.
ในวัตตขันธกะ ที่ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถามถึงสมาจาร มีอาบัติ
ทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น. อาบัติทุกกฏนั้น เป็นเพราะความไม่เอื้อเฟื้อในวัตร
ทั้งปวง.
ในปาฏิโมกขัฏฐปนขันธกะ ก็เหมือนกัน.
ในภิกขุนีขันธกะ มีอาบัติ 2 เหล่านี้ คือ เป็นปาจิตตีย์ เพราะไม่
ปวารณา เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
ในปัญจสติกขันธกะและสัตตสติกขันธกะ ท่านยกธรรมล้วน ๆ ขึ้นสู่
หมวด ไม่มีอาบัติในขันธกะทั้ง 2 นั้น ฉะนี้แล.
ขันธกปุจฉา วัณณนา จบ

เอกุตตริกะ


หมวด 1


ว่าด้วยธรรมก่ออาบัติเป็นต้น


[941] พึงรู้ธรรมที่ก่ออาบัติ พึงรู้ธรรมที่ไม่ก่ออาบัติ พึงรู้อาบัติ
พึงรู้อนาบัติ พึงรู้อาบัติเบา พึงรู้อาบัติหนัก พึงรู้อาบัติมีส่วนเหลือ พึงรู้
อาบัติหาส่วนเหลือมิได้ พึงรู้อาบัติชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติไม่ชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติ
ที่ทำคืนได้ พึงรู้อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ พึงรู้อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติ
ที่ไม่เป็นเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่ไม่ทำอันตราย
พึงรู้อาบัติที่ทรงบัญญัติพร้อมทั้งโทษ พึงรู้อาบัติที่ทรงบัญญัติไม่มีโทษ พึงรู้
อาบัติที่เกิดแต่การทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดแต่การไม่ทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดแต่การทำ
และไม่ทำ พึงรู้อาบัติก่อน พึงรู้อาบัติหลัง พึงรู้อาบัติระหว่างอาบัติก่อน พึงรู้
อาบัติระหว่างแห่งอาบัติหลัง พึงรู้อาบัตินับเข้าในจำนวนที่แสดงแล้ว พึงรู้อาบัติ
ไม่นับเข้าในจำนวนที่แสดงแล้ว พึงรู้บัญญัติ พึงรู้อนุบัญญัติ พึงรู้อนุปันน-
บัญญัติ พึงรู้สัพพัตถบัญญัติ พึงรู้ปเทสบัญญัติ พึงรู้สาธารณบัญญัติ พึงรู้
อสาธารณบัญญัติ พึงรู้เอกโตบัญญัติ พึงรู้อุภโตบัญญัติ พึงรู้อาบัติมีโทษหนัก
พึงรู้อาบัติมีโทษเบา พึงรู้อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ พึงรู้อาบัติที่ไม่เกี่ยวกับ
คฤหัสถ์ พึงรู้อาบัติที่แน่นอน พึงรู้อาบัติที่ไม่แน่นอน พึงรู้บุคคลผู้ทำที่แรก
พึงรู้บุคคลไม่ทำทีแรก พึงรู้บุคคลผู้ต้องอาบัติไม่เป็นนิจ พึงรู้บุคคลผู้ต้อง
อาบัติเนือง ๆ พึงรู้บุคคลผู้เป็นโจทก์ พึงรู้บุคคลผู้เป็นจำเลย พึงรู้บุคคลผู้