เมนู

ขันธกปุจฉาวัณณนา


สองบทว่า อุปสมฺปทํ ปุจฺฉิสฺสํ มีความว่า ข้าพเจ้าจักถามถึง
อุปสัมปทาขันธกะ.
สองบทว่า สนิทานํ สนิทฺเทสํ มีความว่า ข้าพเจ้าจักถามพร้อม
ด้วยต้นเหตุ และอธิบาย.
หลายบทว่า สมุกฺฏฺฐปทานํ กติ อาปตฺติโย มีความว่า บทเหล่าใด
เป็นบทอุกฤษฏ์ คือ เป็นบทสูงสุด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอุปสัม-
ปทาขันธกะนั้น บทอุกฤษฏ์โดยย่อ มีอาบัติเท่าไร ?
อาบัติใด ? อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติด้วยบทใด ?, อาบัติ
นั้น ๆ ท่านกล่าวว่า อาบัติแห่งบทนั้น ๆ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
บทสูงสุดทั้งหลาย มีอาบัติเท่าไร ?
สองบทว่า เทฺว อาปตฺติโย มีความว่า เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้
ยังบุคคลมีอายุหย่อน 2 ปีให้อุปสมบท, เป็นทุกกฏในบททั้งปวงที่เหลือ.
บทว่า ติสฺโส มีความว่า ในอุโปสถักขันธกะ มีอาบัติ 3 อย่างนี้
คือ เป็นถุลลัจจัย เพราะทำอุโบสถแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มุ่งความแตกกันเป็นใหญ่
แก่ผู้กล่าวอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้ จงฉิบทาย. ภิกษุเหล่านี้ จงวอดวาย, ประโยชน์
อะไร ด้วยภิกษุเหล่านั้น, เป็นปาจิตตีย์ แม้เพราะทำอุโบสถร่วมกับภิกษุผู้ถูก
สงฆ์ยกวัตร, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
บทว่า เอกา มีความว่า ในวัสสูปนายิกขันธกะ มีอาบัติทุกกฏ
ชนิดเดียวเท่านั้น.