เมนู

หัวข้อประจำวาร


[860] อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ และอาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ
อีกอย่างละ 7 ความไม่เคารพ ความเคารพ วินีตวัตถุอีก 7 วิบัติ สมุฏฐาน
แห่งอาบัติ มูลแห่งการวิวาท และการโจท ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึก
ถึงกัน เรื่องทำการแตกร้าว อธิกรณ์และสมถะ 7 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
แล้ว รวมเป็น 17 บท.

กติปุจฉาวารวัณณนา


[วินิจฉัยในคำว่า กติ อาปตฺติโย เป็นต้น]


บัดนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ตั้งบทมาติกาโดยนัย มีคำว่า
กติ อาปตฺติโย เป็นอาทิแล้ว กล่าววิภังค์ด้วยอำนาจนิทเทสและปฏินิทเทส
เพื่อให้เกิดความฉลาด ในส่วนทั้งหลายมีอาบัติเป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กติ อาปตฺติโย เป็นคำถามถึงอาบัติ
ซึ่งมาในมาติกาและในวิภังค์. แม้ในบทที่ 2 ก็มีนัยเหมือนกัน. จริงอยู่ ใน
บทที่ 2 นี้ อาบัติสิ้นเชิงทีเดียว ท่านกล่าวว่า กอง ด้วยอำนาจแห่งหมวด.
คำที่ว่า วินีตวตฺถูนิ เป็นคำถามถึงความระงับอาบัติเหล่านั้น.
จริงอยู่ 3 บทว่า วินีตํ วินโย วูปสโม นี้ โดยใจความเป็นอัน
เดียวกัน.

เนื้อความแห่งบทในคำว่า วินีตวตฺถูนิ นี้ พึงทราบดังนี้ว่า วัตถุ
เป็นเครื่องกำจัดอาบัตินั่นเอง ชื่อว่าวินีตวัตถุ.
บัดนี้ เมื่ออคารวะเหล่าใดมีอยู่ อาบัติจึงมี, เมื่ออคารวะเหล่าใดไม่มี
อาบัติย่อมไม่มี, เพื่อแสดงอคารวะเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวคำถาม 2 ข้อว่า
กติ อคารวา เป็นต้น . ส่วนคำว่า วินีตวตฺถูนิ นี้ เป็นคำถามถึงการกำจัด
อคารวะเหล่านั้น.
ก็เพราะอาบัติเหล่านั้น ที่จัดว่าไม่ถึงความวิบัติย่อมไม่มี ฉะนั้น
คำที่ว่า กติ วิปตฺติโย นี้ จึงเป็นคำถามถึงความมีวิบัติแห่งอาบัติทั้งหลาย.
คำที่ว่า กติ อาปตฺติสมุฏฐานา นี้ เป็นคำถามถึงสมุฏฐานแห่ง
อาบัติเหล่านั้นเอง.
คำที่ว่า วิวาทมูลานิ อนุวาทมูลานิ เหล่านี้ เป็นคำถามถึงมูลแห่ง
วิวาทและอนุวาทที่มาว่า วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์.
คำที่ว่า สาราณียา ธมฺมา นี้ เป็นคำถามถึงธรรมที่ทำความไม่มี
แห่งมูลของวิวาทและอนุวาท.
คำที่ว่า เภทกรวตฺถูนิ นี้ เป็นคำถามถึงวัตถุที่ก่อความแตก ซึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคำว่า อธิกรณ์เป็นไปเพื่อแตกกันก็ดี เป็นอาทิ.
คำที่ว่า อธิกรณานิ นี้ เป็นคำถามถึงธรรมที่เกิดขึ้น ในเมื่อมี
เภทกรวัตถุ.
คำที่ว่า สมถา นี้ เป็นคำถามถึงธรรมที่สำหรับระงับอธิกรณ์
เหล่านั้นแล.
คำที่ว่า ปญฺจ อาปตฺติโย ตรัสด้วยอำนาจอาบัติซึ่งมาในมาติกา.
คำที่ว่า สตฺต ตรัสด้วยอำนาจอาบัติซึ่งมาในวิภังค์.

[ว่าด้วยวิเคราะห์แห่งอารติศัพท์เป็นต้น]


ที่ชื่อว่า อารติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นไกลจากกองอาบัติเหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่เว้นอย่างกวดขันจากกองอาบัติเหล่านั้น ชื่ออารติ.
ที่ชื่อว่า วิรติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นเสียต่างหากจากกองอาบัติ
เหล่านั้น.
ที่ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นเฉพาะหนึ่ง ๆ จากกอง
อาบัติเหล่านั้น.
ที่ชื่อว่า เวรมณี เพราะวิเคราะห์ว่า ขับเวรสีย คือยังเวรให้สาบสูญ
ที่ชื่อว่า อกิริยา เพราะวิเคราะห์ว่า วิรัตินั่น เป็นเหตุอันภิกษุไม่
ทำกองอาบัติเหล่านั้น.
ที่ชี่อว่า อกรณํ เพราะเป็นข้าศึกต่อความกระทำกองอาบัติที่จะพึง
เกิดขึ้น ในเมื่อวิรัตินั้นไม่มี.
ที่ชื่อว่า อนชฺฌาปตฺติ เพราะเป็นข้าศึกต่อความต้องกองอาบัติ.
ที่ชื่อว่า เวลา เพราะเป็นเหตุผลาญ. อธิบายว่า เพราะเป็นเหตุคลอน
คือเพราะเป็นเหตุพินาศ.
ที่ชื่อว่า เสตุ เพราะวิเคราะห์ว่า ผูกไว้ คือตรึงไว้ ได้แก่ คุมไว้
ซึ่งทางเป็นที่ออกไป. คำว่า เสตุ นี้ เป็นชื่อแห่งกองอาบัติทั้งหลาย. เสตุนั้น
อันภิกษุย่อมสังหารด้วยวิรัตินั่น เพราะฉะนั้น วิรัตินัน จึงชื่อ เสตุฆาโต.
แม้ในนิทเทสแห่งวินีตวัตถุที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้แล.