เมนู

สองบทว่า อารามญฺจ ปวารณา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด รู้อยู่ ซึ่งอารามอันมีภิกษุ ไม่ไต่ถามก่อน พึงเข้าไป
ดังนี้ 1 ภิกษุณีใด จำพรรษาแล้ว พึงไม่ปวารณาด้วยสถาน* 3 . . .ให้อุภโต
สงฆ์ ดังนี้ 1.
หลายบทว่า อนฺวชฑฺฒมาสํ สหชีวินี เทฺว ได้แก่ สิกขาบทที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธรรม 2 อย่าง (คือ อุโบสถ 1 การเข้าไปหา
เพื่อโอวาท 1) อันภิกษุณีพึงหวังเฉพาะจากสงฆ์ทุกกึ่งเดือน และ 2 สิกขาบท
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังสหชิวินีให้บวชแล้ว ไม่อนุเคราะห์
ตลอด 2 พรรษา 1 ภิกษุณีใด พึงยังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่พาไปเอง 1.
สองบทว่า จีวรํ อนุพนฺธนา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงพูดกะนางสิกขมานาว่า แน่ะแม่เจ้า ถ้าว่า เธอจักให้
จีวรแก่เราไซร้ ด้วยอย่างนั้น เราจักยังเธอให้อุปสมบท ดังนี้เป็นต้น 1 ภิกษุณี
ใด พึงพูดกะนางสิกขมานาว่า แน่ะแม่เจ้า ถ้าว่า เธอจักติดตามเราไปตลอด
2 พรรษาไซร้ ด้วยอย่างนั้น เราจักยังเธอให้อุปสมบท ดังนี้ 1.
ธรรม 37 เหล่านี้ (ทั้งหมด เป็นสมุฏฐานอันหนึ่ง มีองค์ 3 คือ
กาย วาจา จิต เหมือนสมนุภาสนสมุฏฐาน).

[ว่าด้วยกฐินสมุฏฐาน]


สามบทว่า อุพฺภตํ กฐินํ ตีณิ ได้แก่ 3 สิกขาบทข้างต้นที่พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ครั้นจีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุรื้อเสียแล้ว.
* คือ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา.

สองบทว่า ปฐมํ ปตฺตเภสชฺชํ ได้แก่ ปัตตสิกขาบทที่ 1 ที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงทรงอดิเรกบาตรไว้ได้ 10 วันเป็นอย่างยิ่ง และ
สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เภสัชอันควรลิ้ม.
สองบทว่า อจฺเจกกญฺจาปิ สาสงฺกํ ได้แก่ อัจเจกจีวรสิกขาบท 1
สาสังกสิกขาบท อันเป็นลำดับแห่งอัจเจกจีวรสิกขาบทนั้นเอง 1.
สองบทว่า ปกฺกมนฺเตน วา ทุเว ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ในภูตคามวรรคว่า เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ซึ่งเตียง
เป็นต้นนั้น.
สองบทว่า อุปสฺสยํ ปรมฺปรา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า ไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้ว พึงสอนภิกษุณีทั้งหลาย 1 เป็น
ปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะทีหลัง 1.
สองบทว่า อนติริตฺต นิมนฺตนา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด ฉันเสร็จห้ามเสียแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของ
เคี้ยวก็ตาม ซึ่งของฉันก็ตาม อันไม่เป็นเดน 1 ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มี
ภัตรอยู่แล้ว 1.
สามบทว่า วิกปฺปํ รญฺโญ วิกาเล ได้แก่ 3 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด วิกัปจีวรเอง . . . 1 ของพระราชาผู้กษัตริย์ 1
ภิกษุใด . . . พึงเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล 1.
บทว่า โวสาสารญฺญเกน จ ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า ถ้าภิกษุณีมายืนยันสั่งเสียอยู่ในที่นั้น 1 ภิกษุใดอยู่ในเสนาสนะป่า
เห็นปานนั้น รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ก่อน 1.

สองบทว่า อุสูยา สนฺนิจยญฺจ ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด มักพูดด้วยความริษยา 1 ภิกษุณีใด พึงทำการ
สะสมบาตร 1.
หลายบทว่า ปุเร ปจฺฉา วิกาเล จ ได้แก่ 3 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงเข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลาก่อน
อาหาร ดังนี้ 1 อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงเข้าไปสู่สกุลทั้งหลายในเวลาภายหลัง
อาหาร ดังนี้ 1 อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงเข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลาวิกาล
ดังนี้ 1.
สองบทว่า ปญฺจาหิกา สงฺกมนี ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังการผลัดสังฆาฏิ ให้ก้าวล่วง 5 วันไป 1
ภิกษุณีใด พึงทรงจีวรที่ตนยืมมา ซึ่งจะต้องส่งคืน 1.
สองบทว่า เทฺวปิ อาวสเถน จ ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสรวมกับที่พักอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด ไม่มอบหมายจีวรในที่พัก
พึงบริโภค ไม่มอบหมายที่พัก พึงหลีกไปสู่ที่จะริก.
สองบทว่า ปสาเข อาสเน เจว ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่บอกซึ่งฝี (หรือพุพอง) อันเกิดที่โคนขา
(กะสงฆ์หรือกะคณะ) 1. ภิกษุณีใด ไม่ขออนุญาตก่อนพึงนั่งบนอาสนะข้าง
หน้าภิกษุ 1.
29 สิกขาบทเหล่านี้ (ย่อมเกิดโดยทวาร 3 คือ กายกับวาจาแต่ไม่
เกิดโดยลำพังจิต ทุกสิกขาบทรวมทั้งกฐินสิกขาบทมีสมุฏฐาน 2 เสมอกัน).

[ว่าด้วยเอฬกโลมสมุฏฐาน]


สามบทว่า เอฬกโลมา เทฺว เสยฺยา ได้แก่ เอฬกโลมสิกขาบท
1 และสหไสยสิกขาบ 2.
บทว่า อาหจฺจปิณฺฐโภชนํ ได้แก่ อาหัจจปาทกสิกขาบท และ
อาวสถปิณฑโภชนสิกขาบท.
บทว่า คณวิกาลสนฺนิธิ ได้แก่ 3 สิกขาบท คือ คณโภชนสิกขาบท
1 วิกาลโภชนสิกขาบท 1 สันนิธิการกสิกขาบท 1.
บทว่า ทนฺตโปเณนเจลกา ได้แก่ ทันตโปณสิกขาบทและอเจลก
สิกขาบท.
สามบทว่า อุยฺยุตฺตํ วเส อุยฺโยธิ ได้แก่ 3 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า พึงไปเพื่อดูเสนาอันยกออกแล้ว พึงอยู่ในกองทัพ พึงไป
สู่สนามรบก็ดี ฯลฯ ไปดูกองทัพก็ดี.
สามบทว่า สุรา โอเรน นหายนา ได้แก่ สุราปานสิกขาบท 1
โอเรนัฑฒมาสังนหานสิกขาบท 1.
สามบทว่า ทุพฺพณฺเณ เทฺว เทสนิกา ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ 1 ปาฏิเทสนียะ 2 สิกขาบท
ที่เหลือจากที่ตรัสแล้ว 1.
สองบทว่า ลสุณุตฺติฏฺเฐ นจฺจนา ได้แก่ ลสุณสิกขาบท 1 สิกขาบท
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงเข้าไปปฏิบัติภิกษุผู้กำลังฉัน ด้วย
น้ำฉันก็ดี ด้วยการพัดก็ดี 1. สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด
พึงไปดูการฟ้อนก็ดี การประโคมก็ดี 1.