เมนู

คำว่า สมณจีวเรน จ นั่น ท่านกล่าวหมายเอาพระบาลีนี้ว่า
สมณจีวรํ ทเทยฺย.

[ว่าด้วยสมนุภาสนสมุฏฐาน]


บทว่า เภทานุตฺตทุพฺพจทูสทุฏฐุลฺลทิฏฺฐิ จ ได้แก่ สังฆเภท-
สิกขาบท 1 เภทานุวัตตกสิกขาบท 1 ทุพพจสิกขาบท 1 กุลทูสกสิกขาบท 1
ทุฎฐุลลาปัตติปฏิจฉาทนสิกขาบท 1 ทิฏฐิอัปปฏินิสสัชชสิกขาบท 1.
สามบทว่า ฉนฺทํ อุชฺชคฺฆิกา เทฺว จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วย
ไม่มอบฉันทะไปเสีย 1 และ 2 สิกขาบทว่าด้วยการไปและการนั่งในละแวก
บ้าน และทั้งหัวเราะลั่น.
บทว่า เทฺวปฺปสทฺทา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่ว่า เราจักเป็นผู้มีเสียง
น้อย ไปในละแวกบ้าน 1 นั่งในละแวกบ้าน 1.
บทว่า น พฺยาหเร ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า เราจักไม่พูดด้วยปากที่
ยังมีคำข้าว.
หลายบทว่า ฉมา นีจาสเน ฐานํ, ปจฺฉโต อุปฺปเถน จ
ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุนั่งที่แผ่นดิน แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่ง
บนอาสนะ 1 นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
1 ผู้ยืนอยู่ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่ง 1 ผู้ไปข้างหลัง แสดงธรรม
แก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ไปข้างหน้า 1 ผู้เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคลไม่
เป็นไข้ ผู้ไปในทาง 1.

สองบทว่า วชฺชานุวตฺติ คหณา ได้แก่ ปาราชิก 3 สิกขาบท
กล่าวคือ วัชชปฏิจฉาทนสิกขาบท 1 อุกขิตตานุวัตตนสิกขาบท 1 หัตถคห-
ณาทิสิกขาบท 1
สองบทว่า โอสาเร ปจฺจาจิกฺขนา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่บอกเล่าสงฆ์ผู้กระทำ ไม่ทราบความพอใจ
ของคณะ. พึงถอนโทษ (ภิกษุณี ผู้อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงยกวัตรแล้ว โดย
ธรรมโดยวินัย โดยสัตถุศาสน์) 1. ภิกษุณีใดโกรธเคือง มีใจไม่แช่มชื่น
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ากล่าวคืนพระพุทธเจ้า ดังนี้เป็นต้น 1.
หลายบทว่า กิสฺมึ สํสฏฺฐา เทฺว วธิ ได้แก่ หลายสิกขาบทที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด อันสงฆ์ทำภายหลัง ในอธิกรณ์บางเรื่อง
เท่านั้น ดังนี้ 1 อนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลายเป็นผู้คลุกคลีกันอยู่ดังนี้ 1 อนึ่ง
ภิกษุณีใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คลุกคลีกันอยู่เถิด แม่เจ้า
ดังนี้เป็นต้น 1 ภิกษุณีใด พึงประหารข่วนตัวแล้วร้องไห้ดังนี้ 1.
สองบทว่า วิสิพฺเพ ทุกฺขิตาย จ ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงเลาะเองก็ดี ให้ผู้อื่นเลาะก็ดี ซึ่งจีวรของ
ภิกษุณี 1 ภิกษุณีใด พึงไม่บำรุงเองก็ดี ไม่พึงให้ผู้อื่นบำรุงก็ดี ซึ่งสหชีวินี
ผู้ถึงทุกข์ 1.
หลายบทว่า ปุน สํสฏฺฐา น วูปสเม ได้แก่ สังสัฏฐสิกขาบท
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซ้ำอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงอยู่คลุกคลีด้วยคหบดีก็ดี
ด้วยบุตรของคหบดีก็ดี 1 และสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด
ผู้อันภิกษุณีกล่าวอยู่ว่า มาเถิด แม่เจ้าท่านจงยังอธิกรณ์นี้ให้ระงับ ดังนี้ รับ
แล้วว่า สาธุ ภายหลังเธอผู้ไม่มีอันตราย พึงไม่ยังอธิกรณ์ให้ระงับ 1.

สองบทว่า อารามญฺจ ปวารณา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด รู้อยู่ ซึ่งอารามอันมีภิกษุ ไม่ไต่ถามก่อน พึงเข้าไป
ดังนี้ 1 ภิกษุณีใด จำพรรษาแล้ว พึงไม่ปวารณาด้วยสถาน* 3 . . .ให้อุภโต
สงฆ์ ดังนี้ 1.
หลายบทว่า อนฺวชฑฺฒมาสํ สหชีวินี เทฺว ได้แก่ สิกขาบทที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธรรม 2 อย่าง (คือ อุโบสถ 1 การเข้าไปหา
เพื่อโอวาท 1) อันภิกษุณีพึงหวังเฉพาะจากสงฆ์ทุกกึ่งเดือน และ 2 สิกขาบท
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังสหชิวินีให้บวชแล้ว ไม่อนุเคราะห์
ตลอด 2 พรรษา 1 ภิกษุณีใด พึงยังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่พาไปเอง 1.
สองบทว่า จีวรํ อนุพนฺธนา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงพูดกะนางสิกขมานาว่า แน่ะแม่เจ้า ถ้าว่า เธอจักให้
จีวรแก่เราไซร้ ด้วยอย่างนั้น เราจักยังเธอให้อุปสมบท ดังนี้เป็นต้น 1 ภิกษุณี
ใด พึงพูดกะนางสิกขมานาว่า แน่ะแม่เจ้า ถ้าว่า เธอจักติดตามเราไปตลอด
2 พรรษาไซร้ ด้วยอย่างนั้น เราจักยังเธอให้อุปสมบท ดังนี้ 1.
ธรรม 37 เหล่านี้ (ทั้งหมด เป็นสมุฏฐานอันหนึ่ง มีองค์ 3 คือ
กาย วาจา จิต เหมือนสมนุภาสนสมุฏฐาน).

[ว่าด้วยกฐินสมุฏฐาน]


สามบทว่า อุพฺภตํ กฐินํ ตีณิ ได้แก่ 3 สิกขาบทข้างต้นที่พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ครั้นจีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุรื้อเสียแล้ว.
* คือ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา.