เมนู

ได้บัญญัติในระหว่าง นอกจากพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธะ พระโกนาคมน-
สัมมาสัมพุทธะ และพระกัสสปสัมมาสัมพุทธะ.
วินีตกถามีมักกฏีวัตถุเป็นต้น ชื่อว่าอนุบัญญัติ ในสิกขาบทที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว.
คำที่เหลือ ในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาอานิสังสวัคค์ จบ

[ว่าด้วยประมวล]


บัดนี้ พระอุบาลี กล่าวคำว่า นว สงฺคหา เป็นต้น เพื่อแสดง
ประมวลสิกขาบททั้งปวงเป็น 9 ส่วน โดยอาการแต่ละอย่าง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตฺถุสงฺคโห ได้แก่ ประมวลด้วยวัตถุ.
เนื้อความเฉพาะบท แม้ในบทที่เหลือ ก็พึงทราบอย่างนี้.
ก็ในบทว่า วตฺถุสงฺคโห เป็นต้นนี้ มีอัตถโยชนา ดังต่อไปนี้ :-
ประมวลด้วยวัตถุ พึงทราบก่อนอย่างนี้ว่า ก็สิกขาบททั้งปวง ชื่อว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลด้วยวัตถุ เพราะเหตุว่า ไม่มีแม้แต่สิกขาบท
เดียวที่ทรงบัญญัติ ในเพราะเหตุมิใช่วัตถุ.
อนึ่ง ประมวลด้วยวิบัติ พึงทราบอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่อาบัติ 2 กอง
ทรงประมวลด้วยสีลวิบัติ, อาบัติ 5 กอง ทรงประมวลด้วยอาจารวิบัติ, 6
สิกขาบท ทรงประมวลด้วยอาชีววิบัติ ฉะนั้น สิกขาบทแม้ทั้งปวง ชื่อว่า
ทรงประมวลแล้วด้วยวิบัติ.

อนึ่ง ประมวลด้วยอาบัติ พึงทราบอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่ไม่มีแม้แต่
สิกขาบทเดียว ซึ่งพ้นจากอาบัติ 7 กอง ฉะนั้น สิกขาบททั้งปวง ชื่อว่าทรง
ประมวลแล้วด้วยอาบัติ.
อนึ่ง ประมวลด้วยนิทาน พึงทราบอย่างนี้ว่า สิกขาบททั้งปวง ทรง
บัญญัติแล้วใน 7 นคร เพราะฉะนั้น ชื่อว่าทรงประมวลแล้วด้วยนิทาน.
อนึ่ง ประมวลด้วยบุคคล พึงทราบอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่ไม่มีแม้แต่
สิกขาบทเดียว ที่ทรงบัญญัติในเมื่อไม่มีบุคคลผู้พระพฤติล่วง ฉะนั้น สิกขาบท
ทั้งปวง ชื่อว่าทรงประมวลแล้วด้วยบุคคล.
อนึ่ง สิกขาบททั้งปวง ทรงประมวลแล้ว ด้วยอาบัติ 5 กอง และ
7 กอง. สิกขาบททั้งหมดนั้น เว้นจากสมุฏฐาน 6 เสีย ย่อมเกิดไม่ได้ เพราะ
ฉะนั้น ชื่อว่าทรงประมวลแล้วด้วยสมุฏฐาน.
อนึ่ง สิกขาบททั้งปวง ทรงประมวลแล้ว ด้วยอาปัตตาธิกรณ์ใน
บรรดาอธิกรณ์ 4. สิกขาบททั้งปวง ย่อมถึงความระงับด้วยสมถะ 7 เพราะ
ฉะนั้น ชื่อว่าทรงประมวลแล้วด้วยสมถะ.
แม้ประมวลด้วยกอง อธิกรณ์ สมุฏฐาน และสมถะ ในบทว่า
ขนฺธสงฺคโห เป็นอาทินี้ ก็พึงทราบอย่างนี้.
คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล ฉะนี้แล.
พรรณนาสังคหวัคค์ ในอัฏฐกถาวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
และพรรณนาบทที่มีเนื้อความไม่ตื้น
แห่งคัมภีร์บริวาร ก็จบดังนี้แล

วินัยฏฐกถาวสานคาถา


พระโลกนาถผู้ชำนะ เมื่อจะทรงแนะนำบุคคลผู้
ควรแนะนำ ได้ตรัสวินัยปิฎกใด ซึ่งแสดงจำแนกโดย
อุถโตวิภังค์ ขันธกะ และบริวาร, อรรถกถาชื่อสมันต-
ปาสาทิกาแห่งวินัยปิฎกนั้น จบบริบูรณ์แล้ว โดยคันถะ
ประมาณ 27,000 ถ้วน ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้แล.
ในคำที่ว่า อรรถกถาวินัย ปลูกความเลื่อมใส
รอบด้านนั้น มีคำอธิบายในข้อที่อรรถกถาชื่อสมันต
ปาสาทิกา เป็นคัมภีร์ปลูกความเลื่อมใสรอบด้าน ดังนี้ :-
ในสมันตปาสาทิกานี้ ไม่ปรากฏคำน้อยหนึ่งที่ไม่
น่าเลื่อมใสแก่วิญญู ชนทั้งหลายผู้พิจารณาอยู่ โดยสืบ
ลำดับแห่งอาจารย์ โดยแสดงประเภทแห่งนิทานและ
วัตถุ โดยเว้นลัทธิของฝ่ายอื่น โดยความหมดจดแห่งลัทธิ
ของตน โดยชำระพยัญชนะให้หมดจด โดยเนื้อความ
เฉพาะบท โดยลำดับแห่งบาลีและโยชนา โดยวินิจฉัย
ในสิกขาบท และโดยแสดงประเภทแห่งนัยที่สมแก่
วิภังค์ เพราะฉะนั้นอรรถกถาแห่งวินัย ซึ่งพระโลกนาถ
ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกผู้ฉลาดในการฝึกชนที่ควร
แนะนำ ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนั้นนี้ จึงบ่งนามว่า
" สมันตปาสาทิกา" แล.