เมนู

สองบทว่า ปาปิจฺฉานํ ปกฺขุปจฺเฉทาย มีความว่า คณโภชน-
สิกขาบท อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อประโยชน์ที่จะทำลายการ
ควบคุมกันเป็นพวก แห่งบุคคลผู้มีความปรารถนาลามกทั้งหลาย.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
ก็ในข้อที่ยังเหลืออยู่นี้ จะพึงมีคำใดที่ข้าพเจ้าควรกล่าว, คำทั้งปวงนั้น
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในวัณณนาแห่งปฐมปาราชิกเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
บรรยายประโยชน์ในสิกขาบท จบ

[พรรณนาปัญญัตติวัคค์]


บรรดาธรรมมีปาฏิโมกข์เป็นต้น ปาฏิโมกขุทเทสของภิกษุมี 5 อย่าง,
ของภิกษุณีมี 4 อย่าง.
บรรดากรรมมีให้ปริวาสเป็นต้น สองบทว่า โอสารณียํ ปญฺญตฺตํ
มีความว่า โอสารณียกรรม ทรงบัญญัติสำหรับภิกษุผู้ประพฤติในวัตร 18
หรือ 43. อธิบายว่า ภิกษุอันสงฆ์ย่อมเรียกเข้าหมู่ ด้วยกรรมใด กรรมนั้น
ทรงบัญญัติแล้ว.
สองบทว่า นิสฺสารณียํ ปญฺญตฺตํ มีความว่า ภิกษุผู้ก่อความ
บาดหมางเป็นต้น อันสงฆ์ย่อมขับออกจากหมู่ด้วยกรรมใด กรรมนั้นทรง
บัญญัติแล้ว.

[อานิสงส์แห่งบัญญัติ]


บรรดาบทมีบทว่า อปญฺญตฺเต เป็นต้น สองบทว่า อปญฺญตฺเต
ปญฺญตฺตํ
มีความว่า กองอาบัติทั้ง 7 ชื่อว่าบัญญัติ ในสิกขาบทที่ใคร ๆ ไม่

ได้บัญญัติในระหว่าง นอกจากพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธะ พระโกนาคมน-
สัมมาสัมพุทธะ และพระกัสสปสัมมาสัมพุทธะ.
วินีตกถามีมักกฏีวัตถุเป็นต้น ชื่อว่าอนุบัญญัติ ในสิกขาบทที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว.
คำที่เหลือ ในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาอานิสังสวัคค์ จบ

[ว่าด้วยประมวล]


บัดนี้ พระอุบาลี กล่าวคำว่า นว สงฺคหา เป็นต้น เพื่อแสดง
ประมวลสิกขาบททั้งปวงเป็น 9 ส่วน โดยอาการแต่ละอย่าง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตฺถุสงฺคโห ได้แก่ ประมวลด้วยวัตถุ.
เนื้อความเฉพาะบท แม้ในบทที่เหลือ ก็พึงทราบอย่างนี้.
ก็ในบทว่า วตฺถุสงฺคโห เป็นต้นนี้ มีอัตถโยชนา ดังต่อไปนี้ :-
ประมวลด้วยวัตถุ พึงทราบก่อนอย่างนี้ว่า ก็สิกขาบททั้งปวง ชื่อว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลด้วยวัตถุ เพราะเหตุว่า ไม่มีแม้แต่สิกขาบท
เดียวที่ทรงบัญญัติ ในเพราะเหตุมิใช่วัตถุ.
อนึ่ง ประมวลด้วยวิบัติ พึงทราบอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่อาบัติ 2 กอง
ทรงประมวลด้วยสีลวิบัติ, อาบัติ 5 กอง ทรงประมวลด้วยอาจารวิบัติ, 6
สิกขาบท ทรงประมวลด้วยอาชีววิบัติ ฉะนั้น สิกขาบทแม้ทั้งปวง ชื่อว่า
ทรงประมวลแล้วด้วยวิบัติ.