เมนู

ส่วนกรรมลักษณะ พึงทราบด้วยอำนาจแห่งอุปสมบทกรรม และ
อัพภานกรรม.
ญัตติจตุตถกรรม ย่อมถึงฐานะ 7 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงธรรม กรรมวิบัติ และความถึงประเภท
แห่งฐานะแห่งกรรมทั้งหลาย ที่เว้นจากวิบัติด้วยประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้
จะแสดงจำนวนแห่งสงฆ์ผู้กระทำกรรมเหล่านั้น จึงกล่าวสืบไปว่า ในกรรม
ที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นอาทิ. เนื้อความแห่งคำนั้น บัณฑิตพึงทราบ โดย
นัยที่ได้กล่าวแล้ว ในวัณณนาแห่งกรรมวิบัติโดยปริสะนั่นเทียว ฉะนี้แล.
พรรณากัมมวัคค์ จบ

[ประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท]


บัดนี้ พระอุบาลีเถระ ได้เริ่มคำว่า เทฺว อตฺถวเส ปฏิจฺจ เป็นต้น
เพื่อแสดงอานิสงส์ ในการที่ทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง
กรรมเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย
มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่การระวัง คือ เพื่อประโยชน์แก่การปิด ซึ่งเวร
อันเป็นไปในทิฏฐธรรม 5 มีปาณาติบาตเป็นต้น.
หลายบทว่า สมฺปรายิกานํ อาสวานํ ปฏิฆาตาย มีความว่า เพื่อ
ประโยชน์แก่การกำจัด คือ เพื่อประโยชน์แก่การตัดขาด ได้แก่ เพื่อประโยชน์
แก่การไม่เกิดขึ้น แห่งเวรอันเป็นไปในสัมปรายภพกล่าวคือวิปากทุกข์.

หลายบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ เวรานํ สํวราย มีความว่า เพื่อ
ประโยชน์แก่การปิดซึ่งเวร 5 เหล่านั้นแล.
สองบทว่า สมฺปรายิกานํ เวรานํ มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่
การกำจัดวิปากทุกข์เหล่านั้นแล.
หลายบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ วชฺชานํ สํวราย มีความว่า เพื่อ
ประโยชน์แก่การปิดซึ่งเวร 5 เหล่านั้น.
สองบทว่า สมฺปรายิกานํ วชฺชานํ มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่
การกำจัดวิปากทุกข์เหล่านั้นแล. จริงอยู่ วิปากทุกข์นั่นแล อันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า โทษ ในที่นี้ ก็เพราะเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงเว้น.
สองบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ ภยานํ มีความว่า ภัยเหล่านี้ คือ
ความติ การโจท กรรมมีตัชชนียกรรมเป็นต้น การงดอุโบสถและปวารณา
กรรมที่ประจานความเสียหาย ชื่อว่าภัยเป็นไปในทิฏฐธรรม, เพื่อประโยชน์
แก่การระวังภัยเหล่านั้น,
ส่วนภัยเป็นไปในสัมปรายภพ ก็คือวิปากทุกข์นั่นเอง, เพื่อประโยชน์
แก่การระวังสัมปรายิกภัยเหล่านั้น.
สองบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อกุสลานํ มีความว่า เพื่อประโยชน์
แก่การระวังอกุศล มีเวร 5 และอกุศลกรรมบถ 1 เป็นประเภท.
อนึ่ง วิปากทุกข์นั่นเอง ท่านกล่าวว่า อกุศลเป็นไปในสัมปรายภพ
เพราะอรรถว่าไม่ปลอดภัย, เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดอกุศลเหล่านี้.
สองบทว่า คิหีนํ อนุกมฺปาย มีความว่า เพื่อประโยชน์ที่จะ
อนุเคราะห์แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจรักษาศรัทธาไว้.

สองบทว่า ปาปิจฺฉานํ ปกฺขุปจฺเฉทาย มีความว่า คณโภชน-
สิกขาบท อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อประโยชน์ที่จะทำลายการ
ควบคุมกันเป็นพวก แห่งบุคคลผู้มีความปรารถนาลามกทั้งหลาย.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
ก็ในข้อที่ยังเหลืออยู่นี้ จะพึงมีคำใดที่ข้าพเจ้าควรกล่าว, คำทั้งปวงนั้น
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในวัณณนาแห่งปฐมปาราชิกเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
บรรยายประโยชน์ในสิกขาบท จบ

[พรรณนาปัญญัตติวัคค์]


บรรดาธรรมมีปาฏิโมกข์เป็นต้น ปาฏิโมกขุทเทสของภิกษุมี 5 อย่าง,
ของภิกษุณีมี 4 อย่าง.
บรรดากรรมมีให้ปริวาสเป็นต้น สองบทว่า โอสารณียํ ปญฺญตฺตํ
มีความว่า โอสารณียกรรม ทรงบัญญัติสำหรับภิกษุผู้ประพฤติในวัตร 18
หรือ 43. อธิบายว่า ภิกษุอันสงฆ์ย่อมเรียกเข้าหมู่ ด้วยกรรมใด กรรมนั้น
ทรงบัญญัติแล้ว.
สองบทว่า นิสฺสารณียํ ปญฺญตฺตํ มีความว่า ภิกษุผู้ก่อความ
บาดหมางเป็นต้น อันสงฆ์ย่อมขับออกจากหมู่ด้วยกรรมใด กรรมนั้นทรง
บัญญัติแล้ว.

[อานิสงส์แห่งบัญญัติ]


บรรดาบทมีบทว่า อปญฺญตฺเต เป็นต้น สองบทว่า อปญฺญตฺเต
ปญฺญตฺตํ
มีความว่า กองอาบัติทั้ง 7 ชื่อว่าบัญญัติ ในสิกขาบทที่ใคร ๆ ไม่