เมนู

ทั้งหลายจะพึงปรับกันและกัน ด้วยอาบัติเหล่านี้, ข้อนั้นจะพึงเป็นอธิกรณ์ก็ได้,
อธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน,
ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติมีโทษล่ำ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์เสีย ดังนี้ ชื่อว่ากรรมลักษณะ.
ญัตติ 2 นับฝ่ายละ 1 ญัตติ ต่อจากสัพพสังคาหิกาญัตตินั้นไป ก็
เหมือนกัน.
ญัตติกรรมมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว ย่อมถึงฐานะ 9 เหล่านี้ คือ
โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา สมมติ การให้ การรับ การเลื่อน
ปวารณาออกไป และกรรมลักษณะเป็นที่ 9 ด้วยประการฉะนั้น.

[ญัตติทุติยกรรม]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในประเภทแห่งฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม ดัง
ต่อไปนี้ :-
พึงทราบนิสสารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในขันธกะ. ด้วยอำนาจ
คว่ำบาตรแก่วัฑฒลิจฉวี และโอสารณาที่ตรัสด้วยอำนาจหงายบาตรแก่วัฑฒ-
ลิจฉวีนั้นแล.
พึงทราบสมมติ เนื่องด้วยสมมติเหล่านี้ คือ สมมติสีมา สมมติแดน
ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร สมมติสันถัต สมมติพระภัตตุทเทสก์ สมมติภิกษุผู้
เสนาสนคาหาปกะ สมมติภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง สมมติภิกษุผู้รับแจกจีวร
สมมติภิกษุผู้แจกจีวร สมมติภิกษุผู้แจกยาคู สมมติภิกษุผู้แจกของเคี้ยว สมมติ
ภิกษุผู้แจกผลไม้ สมมติภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย สมมติภิกษุผู้รับผ้า สมมติ
ภิกษุผู้ปัตตคาหาปกะ สมมติภิกษุผู้ใช้คนวัด สมมติภิกษุผู้ใช้สามเณร.