เมนู

ก็ถ้าว่า ผู้บำรุงด้วยมุ่งวัตรก็ไม่มี ผู้บำรุงด้วยหวังส่วนเพิ่มก็ไม่มี, ทั้ง
สงฆ์ก็ไม่สามารถจะบำรุงเองไซร้, ภิกษุรูป 1 ไม่เรียนสงฆ์ก่อน บำรุงเอง
ทำให้เจริญแล้วหวังส่วนเพิ่ม, ส่วนเพิ่มอันสงฆ์พึงเพิ่มให้ด้วยอปโลกนกรรม.
อปโลกนกรรมแม้ทั้งปวงนี้ จัดเป็นกรรมลักษณะแท้. อปโลกนกรรม
ย่อมถึงฐานะ 5 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

[ญัตติกรรม]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัย ในประเภทแห่งฐานแห่งญัตติกรรม ดังต่อ
ไปนี้ :-
วาจาสำหรับเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามา อย่างนี้ว่า ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีอายุชื่อนี้ ข้าพเจ้าสอนซ้อม
เขาแล้ว, ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอผู้มีชื่อนี้พึงมา เพราะฉะนั้น
ผู้มีชื่อนี้อันข้าพเจ้าพึงเรียกว่า เจ้าจงมา ดังนี้ ชื่อว่าโอสารณา.
วาจาสำหรับถอนภิกษุผู้ธรรมกถึกออก ในอุพพาหิกวินิจฉัย อย่างนี้ว่า
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า, ภิกษุผู้มีชื่อนี้รูปนี้เป็นธรรมกถึก, สูตรของ
พระธรรมกถึกนี้ หามาไม่, วิภังค์แห่งสูตรก็หามาไม่, เธอไม่พิจารณาอรรถ
ค้านอรรถด้วยเงาแห่งพยัญชนะ, ถ้าความพรั่งพร้อมของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว,
พึงถอนภิกษุชื่อนี้ออกเสีย พวกเราที่เหลือพึงระงับอธิกรณ์นี้ ดังนี้ ชื่อว่า
นิสสารณา.
ญัตติที่ตั้งด้วยอำนาจอุโบสถกรรมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า อุโบสถวันนี้ที่ 15, ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงทำ
อุโบสถ ดังนี้ ชื่อว่าอุโบสถ.

ญัตติที่ตั้งด้วยอำนาจปวารณากรรมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ 15, ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึง
ปวารณา ดังนี้ ชื่อว่าปวารณา.
ญัตติที่ตั้ง เพื่อสมมติตนเองหรือผู้อื่นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้, ถ้าความ
พรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงสอนซ้อมผู้ที่มีชื่อนี้, ดังนี้ก็ดี, ว่า
ถ้าความพรั่งพร้อมของภิกษุถึงที่แล้ว, ผู้มีชื่อนี้ พึงสอนซ้อมผู้ที่มีชื่อนี้ ดังนี้ก็ดี,
ว่า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมกะ
ผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ก็ดี, ว่า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, ผู้มีชื่อนี้ พึง
ถามอันตรายิกธรรมกะผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ก็ดี, ว่า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่
แล้ว, ข้าพเจ้าพึงถามวินัยกะผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ก็ดี ว่า ถ้าความพรั่งพร้อม
สงฆ์ถึงที่แล้ว, ผู้มีชื่อนี้ พึงถามวินัยกะผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ก็ดี ว่า ถ้าความพรั่งพร้อม
ของสงฆ์ถึงที่แล้ว, ข้าพเจ้าอันผู้มีชื่อนี้ถามวินัยแล้ว ขอวิสัชนา ดังนี้ก็ดี, ว่า
ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ผู้มีชื่อนี้ อันผู้มีชื่อนี้ถามวินัยแล้ว พึง
วิสัชนา ดังนี้ก็ดี ชื่อว่าสมมติ.
การคืนบริขารมีจีวรและบาตรที่ภิกษุอื่นเสียสละเป็นต้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า จีวรนี้ ของภิกษุผู้มีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
อันเธอสละแล้วแก่สงฆ์, ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงคืนจีวรนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ว่า ถ้าความพรั่งพร้อมของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่านทั้งหลาย
พึงคืนจีวรนี้ แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ ชื่อว่าการให้.

การรับอาบัติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศว่า ท่าน
ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ รูปนี้ ระลึกได้เปิดเผย ทำให้ตื้น
แสดงอาบัติ. ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของ
ภิกษุผู้มีชื่อนี้, ว่า ถ้าความพรั่งพร้อมของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ข้าพเจ้าพึง
รับอาบัติของภิกษุผู้มีชื่อนี้, เธออันภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า ท่านเห็นหรือ ? เมื่อ
เธอตอบว่า ขอรับ ข้าพเจ้าเห็น พึงกล่าวว่า ท่านพึงสำรวจต่อไป ดังนี้
ชื่อว่าการรับ.
ปวารณาที่สงฆ์ทำอย่างนี้ คือ ภิกษุเจ้าถิ่นผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ว่า ขอท่านทั้งหลายผู้เจ้าถิ่น จงฟังข้าพเจ้า, ถ้าความพรั่งพร้อมของท่านทั้งหลาย
ถึงที่แล้ว, บัดนี้ เราทั้งหลายพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาฏิโมกข์ พึงปวารณา
ในกาฬปักษ์อันจะมาข้างหน้า. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้ก่อความ
บาดหมางกัน ก่อความทะเลาะกัน ก่อการวิวาทกัน ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ หน่วง
อยู่ตลอดกาฬปักษ์นั้นไซร้ ภิกษุเจ้าถิ่นผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุเจ้าถิ่น
ทั้งหลายทราบว่า ขอท่านทั้งหลายผู้เจ้าถิ่น จงฟังข้าพเจ้า, ถ้าความพรั่งพร้อม
ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, บัดนี้ เราทั้งหลายพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาฏิโมกข์,
พึงปวารณาในชุณหปักษ์อันจะมาข้างหน้า ดังนี้ ชื่อว่าเลื่อนปวารณาออกไป.
ญัตติที่ครอบทั่วไป อันเป็นต้นแห่งญัตติทั้งปวง ซึ่งกระทำด้วยติณ-
วัตถารกสมถะอย่างนี้ คือ ภิกษุทุก ๆ รูปพึงประชุมในที่เดียวกัน, ครั้นประชุม
กันแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์
จงฟังข้าพเจ้า, เมื่อเราทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติอัชฌาจารไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ต่างกล่าวซัดกัน, ถ้าเรา

ทั้งหลายจะพึงปรับกันและกัน ด้วยอาบัติเหล่านี้, ข้อนั้นจะพึงเป็นอธิกรณ์ก็ได้,
อธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน,
ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติมีโทษล่ำ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์เสีย ดังนี้ ชื่อว่ากรรมลักษณะ.
ญัตติ 2 นับฝ่ายละ 1 ญัตติ ต่อจากสัพพสังคาหิกาญัตตินั้นไป ก็
เหมือนกัน.
ญัตติกรรมมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว ย่อมถึงฐานะ 9 เหล่านี้ คือ
โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา สมมติ การให้ การรับ การเลื่อน
ปวารณาออกไป และกรรมลักษณะเป็นที่ 9 ด้วยประการฉะนั้น.

[ญัตติทุติยกรรม]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในประเภทแห่งฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม ดัง
ต่อไปนี้ :-
พึงทราบนิสสารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในขันธกะ. ด้วยอำนาจ
คว่ำบาตรแก่วัฑฒลิจฉวี และโอสารณาที่ตรัสด้วยอำนาจหงายบาตรแก่วัฑฒ-
ลิจฉวีนั้นแล.
พึงทราบสมมติ เนื่องด้วยสมมติเหล่านี้ คือ สมมติสีมา สมมติแดน
ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร สมมติสันถัต สมมติพระภัตตุทเทสก์ สมมติภิกษุผู้
เสนาสนคาหาปกะ สมมติภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง สมมติภิกษุผู้รับแจกจีวร
สมมติภิกษุผู้แจกจีวร สมมติภิกษุผู้แจกยาคู สมมติภิกษุผู้แจกของเคี้ยว สมมติ
ภิกษุผู้แจกผลไม้ สมมติภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย สมมติภิกษุผู้รับผ้า สมมติ
ภิกษุผู้ปัตตคาหาปกะ สมมติภิกษุผู้ใช้คนวัด สมมติภิกษุผู้ใช้สามเณร.