เมนู

อรรถกถาบรรพชาวินิจฉัย


สองบทว่า นานาทิสา นานาชนปทา มีความว่า จากทิศต่าง ๆ
และจากชนบท1 ต่าง ๆ.
คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ตุมฺเหวทานิ ตาสุ ตาสุ ทิสาสุ
เตสุ เตสุ ชนปเทสุ ปพฺพาเชถาติ
เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เมื่อจะให้กุลบุตรผู้
เพ่งบรรพชาบวช พึงเว้นบุคคลที่ทรงห้ามไว้ เริ่มต้น ว่า ภิกษุทั้งหลาย คน
ที่ถูกอาพาธ 5 อย่างเบียดเบียนแล้ว อันท่านทั้งหลายไม่ควรให้บวช ดังนี้
จนถึงอย่างนี้ว่า คนตาบอดหรือใบ้หรือหนวก อันท่านทั้งหลายไม่ควรให้บวช
ดังนี้ ข้างหน้าพึงให้บุคคลเว้นจากบรรพชาโทษบวช. บุคคลแม้นั้น อันมารดา
บิดาอนุญาตแล้ว เท่านั้น. ลักษณะแห่งการอนุญาตซึ่งบุคคลผู้สมควรนั้นข้าพเจ้า
จักพรรณนาในสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต อันท่าน
ทั้งหลายไม่ควรให้บวช ภิกษุใดพึงให้บวช ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ. ก็แลเมื่อจะ
ให้บวชกุลบุตรผู้เว้นจากบรรพชาโทษ ซึ่งมารดาบิดาอนุญาตแล้วอย่างนั้น ถ้า
ว่ากุลบุตรนั้น ยังไม่ได้ปลงผม, และภิกษุแม้เหล่าอื่นมีอยู่ในสีมาเดียวกัน. พึง
บอกภัณฑุกรรม2 เพื่อประโยชน์แก่การปลงผม อาการบอกภัณฑุกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจักพรรณนาในสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกเล่ากะ
สงฆ์ เพื่อทำภัณฑุกรรม. ถ้ามีโอกาส พึงให้บวชเอง. ถ้าต้องขวนขวายด้วย
กิจการมีอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้น ไม่ได้โอกาส พึงสั่งภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งว่า
คุณจงให้กุลบุตรนี้บวช. ถ้าภิกษุหนุ่มซึ่งอุปัชฌาย์ไม่ได้สั่งเลย แต่เธอให้บวช
แทนอุปัชฌาย์ การทำอย่างนั้นสมควร. ถ้าภิกษุหนุ่มไม่มี อุปัชฌาย์พึงบอก

1. คำว่า ชนบท หมายความว่าประเทศหรือราชอาณาจักร. 2. พิธีโกนผม.