เมนู

พวกเธอในภายหลัง. ถ้าภิกษุผู้ปวารณาแล้ว ในวันมหาปวารณามีมาก ภิกษุผู้
จำพรรษาหลังมีน้อยหรือมีรูปเดียว เมื่อพวกภิกษุผู้จำพรรษาต้นสวดปาติโมกข์
เสร็จแล้ว ภิกษุผู้จำพรรษาหลังนั้น พึงปวารณาในสำนักของพวกเธอ.

สามัคคีปวารณา


วินิจฉัยในข้อว่า น จ ภิกฺขเว อปฺปวารณาย ปวาเรตพฺพํ
อญฺญตฺร สงฺฆสามคฺคิยา
นี้ พึงทราบดังนี้:-
ความพร้อมเพรียงพึงทราบว่า เป็นเช่นกับความพร้อมเพรียงของภิกษุ
ชาวเมืองโกสัมพีเถิด. ก็แลพึงทำบุพกิจ ในกาลแห่งสามัคคีปวารณานี้ อย่าง
นี้ว่า อชฺช ปวารณา สามคฺคี แปลว่า ปวารณาวันนี้ เป็นคราวปรองดองกัน.
ฝ่ายภิกษุเหล่าใด งดปวารณาเสียเพราะเหตุเล็กน้อย ซึ่งไม่สำคัญอะไร แล้ว
เป็นผู้พร้อมเพรียงกันเจ้าได้, ภิกษุเหล่านั้น พึงทำปวารณา ในวันปวารณาเท่า
นั้น. ฝ่ายภิกษุทั้งหลายผู้จะทำสามัคคีปวารณา พึงงดวันปฐมปวารณาเสีย พึง
ทำในระหว่างนี้ คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง ไปจนถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นวันครบ
4 เดือน จะทำภายหลังหรือก่อนกำหนดนั้นไม่ควร.

ญัตติวิธาน


วินิจฉัยในข้อว่า เทฺววาจิกํ ปวาเรตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
เฉพาะภิกษุผู้ตั้งญัตติ พึงกล่าวว่า ยติ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ
เทฺววาจิกํ ปวาเรยฺย
แปลว่า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง
ปวารณา 2 หน.
ในการปวารณาหนเดียว พึงกล่าวว่า เอกวาจิกํ ปวาเรยฺย แปล
ว่า พึงปวารณาหนเดียว.

เฉพาะในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน พึงกล่าวว่า สมานวสฺสิกํ
ปวาเรยฺย
แปลว่า พึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน ก็แลในการปวารณามีพรรษา
เท่ากันนี้ ภิกษุผู้มีพรรษาเท่ากันแม้มากรูป ย่อมได้เพื่อปวารณาพร้อมกัน.

การงดปวารณา


วินิจฉัยในข้อว่า กาสิตาย ลปิตาย อปริโยสิตาย นี้ พึงทราบ
ดังนี้:-
การงดปวารณา 2 อย่าง คือ งดรอบไปอย่างหนึ่ง งดเป็นส่วนบุคคล
อย่างหนึ่ง.
การงดปวารณามี 2 อย่างนั้น ในการงดรอบทั่วไป มีวินิจฉัยว่า
กรรมวาจาที่สวดว่าเรื่อยไปตั้งแต่ สุ อักษร จนถึง เร อักษร ว่า สุณาตุ เม
ภนฺเต สงฺโฆ, เป สงฺโฆ เตวาจิกํ ปวาเร
ดังนี้ ปวารณายังไม่จัดว่า
จบก่อน.
ในระหว่างนี้ เมื่อภิกษุงดไว้แม้ในบทหนึ่ง ปวารณาเป็นอันงด. ต่อ
เมื่อถึง อักษรแล้ว ปวารณาเป็นอันจบ เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุงดไว้ทั้งแต่
อักษรนั้นไป ปวารณาไม่จัดว่าได้งด.
ส่วนในการงด เป็นส่วนบุคคล มีวินิจฉัยว่า คำปวารณาอันภิกษุ
กล่าวว่าเรื่อยไปทั้งแต่ สํ อักษร จนถึง ฏิ อักษร อันเป็นด้วยท้ายแห่งอักษร
ทั้งปวงนี้ว่า สงฺฆํ ภนฺเต ปวาเรมิ ฯเปฯ ทุติยมฺปิ ฯเปฯ ตติยมฺปิ
ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺถาย วา ฯเปฯ
ปสฺสนฺโต ปฏิ
ดังนี้, ปวารณายังไม่จัดว่าจบก่อน. ในระหว่างนี้ เมื่อภิกษุ
งดไว้แม้นี้ในบทอันหนึ่ง ปวารณาย่อมเป็นอันงด. ต่อเมื่อกล่าวบทว่า กริสฺสามิ