เมนู

อธิษฐานปวารณา


วินิจฉัยในข้อว่า อชฺช เม ปวารณา นี้ พึงทราบดังนี้:-
ถ้าวันปวารณาเป็น 14 ค่ำ ภิกษุผู้อยู่รูปเดียวพึงอธิษฐานอย่างนี้ว่า
อชฺช เม ปวารณา จาตุทฺทสี แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้ 14 ค่ำ ถ้า
เป็นวัน 15 ค่ำ พึงอธิ ฐานอย่างนี้ว่า อชฺช เม ปวารณา ปณฺณรสี
แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้ 15 ค่ำ.
คำว่า ตทหุปวารณาย อาปตฺตึ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.
ข้อว่า ปุน ปวาเรตพฺพํ มีความว่า พึงทำบุพกิจแล้วตั้งญัตติ
ปวารณาตั้งแต่พระสังฆเถระลงมาอีก. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว
ในอุโบสถขันธกวรรณนาเถิด.

อติเรกานุวัตติกถา


วินิจฉัยในข้อว่า อาคนฺตุเกหิ อาวาสิกานํ อนุวตฺติตพฺพํ พึง
ทราบดังนี้:-
พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่น พึงทำบุพกิจว่า อชฺช ปวารณา จาตุทฺทสี
นั้นแล. แม้ในปวารณาวัน 15 ค่ำก็มีนัยเช่นเดียวกัน.
ในบทที่สุดแห่งพระบาลีนั้นว่า อาวาสิเกหิ นิสฺสีมํ คนฺตฺวา
ปวาเรตพฺพํ
มีวินิจฉัยนอกบาลี ดังนี้:-
ถ้าว่าภิกษุ 5 รูปจำพรรษาในวัสสูปนายิกาต้น, อีก 5 รูป จำพรรษา
ในวัสสูปนายิกาหลัง เมี่อภิกษุพวกแรกตั้งญัตติปวารณาแล้ว ภิกษุพวกหลัง
พึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนักของเธอ อย่าพึงตั้งญัตติ 2 อย่างในโรงอุโบสถ
เดียวกัน. แม้ถ้าว่ามีภิกษุ 4 รูป 3 รูป 2 รูป หรือรูปเดียวก็ตาม จำพรรษา

ในวัสสูปนายิกาหลัง มีนัยเช่นเดียวกัน. หากว่าภิกษุผู้จำพรรษาต้น 4 รูป,
แม้วันเข้าพรรษาหลังจะ 4 รูป 3 รูป หรือรูปเดียวก็ตาม มีนัยเหมือนกัน.
ถึงแม้ว่าในวันเข้าพรรษาต้น มี 3 รูป แม้ในวันเข้าพรรษาหลังมี 3 รูป 2 รูป
หรือรูปเดียวก็ตาม มีนัยเหมือนกัน.
ก็นี้เป็นลักษณะในปวารณาธิการนี้:-
ถ้าว่า ภิกษุผู้จำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง น้อยกว่าภิกษุผู้จำพรรษา
ในวันเข้าพรรษาต้น หรือเท่า ๆ กันและให้ครบคณะสังฆปวารณาได้ พึงทั้ง
ญัตติด้วยอำนาจสังฆปวารณา อนึ่ง ถ้าในวัสสุปนายิกาต้น มีภิกษุ 3 รูป. ใน
วัสสูปนายิกาหลัง มีเพียงรูปเดียว รวมกันเข้าเป็น 4 รูป ภิกษุ 4 รูปจะทั้ง
ญัตติเป็นการสงฆ์แล้ว ปวารณาหาควรไม่. แต่ภิกษุผู้จำพรรษาหลังนั้น เป็น
คณะปูรกะของคณะญัตติได้อยู่. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้จำพรรษาต้น 3 รูป พึง
ตั้งญัตติแล้วปวารณาเป็นการคณะ ภิกษุนอกนั้นพึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนัก
ของภิกษุเหล่านั้น. ในวัสสูปนายิกานี้มี 2 รูป ในวัสสูปนายิกาหลังมี 2 หรือ
รูปเดียว ก็มีนัยเหมือนกัน. ในวัสสูปนายิกาต้นมีรูปเดียว ในวัสสูปนายิกา
หลังก็มีรูปเดียว รูปหนึ่งพึงปวารณาในสำนักของอีกรูปหนึ่ง ฝ่ายอีกรูปหนึ่ง
พึงทำปาริสุทธิอุโบสถ. ถ้าว่า ภิกษุผู้เข้าพรรษาหลังมีมากกว่าภิกษุผู้เข้าพรรษา
ต้นแม้เพียงรูปเดียว ฝ่ายภิกษุพวกข้างน้อยกว่า พึงสวดปาติโมกข์ก่อน แล้ว
ปวารณาในสำนักของภิกษุฝ่ายข้างมากกว่าต่อภายหลัง. ส่วนในวันปวารณาที่
ครบ 4 เดือนในเดือน 12 ถ้าว่าภิกษุผู้เข้าพรรษาหลังมากกว่าภิกษุผู้จำพรรษา
ต้นซึ่งได้ปวารณาแล้วในวันมหาปวารณา หรือมีจำนวนเท่า ๆ กัน พวกภิกษุ
ผู้จำพรรษาหลัง พึงตั้งปวารณาญัตติแล้วปวารณา. เมื่อพวกเธอได้ปวารณา
กันเสร็จแล้ว, ฝ่ายพวกภิกษุผู้จำพรรษาต้น พึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนักของ

พวกเธอในภายหลัง. ถ้าภิกษุผู้ปวารณาแล้ว ในวันมหาปวารณามีมาก ภิกษุผู้
จำพรรษาหลังมีน้อยหรือมีรูปเดียว เมื่อพวกภิกษุผู้จำพรรษาต้นสวดปาติโมกข์
เสร็จแล้ว ภิกษุผู้จำพรรษาหลังนั้น พึงปวารณาในสำนักของพวกเธอ.

สามัคคีปวารณา


วินิจฉัยในข้อว่า น จ ภิกฺขเว อปฺปวารณาย ปวาเรตพฺพํ
อญฺญตฺร สงฺฆสามคฺคิยา
นี้ พึงทราบดังนี้:-
ความพร้อมเพรียงพึงทราบว่า เป็นเช่นกับความพร้อมเพรียงของภิกษุ
ชาวเมืองโกสัมพีเถิด. ก็แลพึงทำบุพกิจ ในกาลแห่งสามัคคีปวารณานี้ อย่าง
นี้ว่า อชฺช ปวารณา สามคฺคี แปลว่า ปวารณาวันนี้ เป็นคราวปรองดองกัน.
ฝ่ายภิกษุเหล่าใด งดปวารณาเสียเพราะเหตุเล็กน้อย ซึ่งไม่สำคัญอะไร แล้ว
เป็นผู้พร้อมเพรียงกันเจ้าได้, ภิกษุเหล่านั้น พึงทำปวารณา ในวันปวารณาเท่า
นั้น. ฝ่ายภิกษุทั้งหลายผู้จะทำสามัคคีปวารณา พึงงดวันปฐมปวารณาเสีย พึง
ทำในระหว่างนี้ คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง ไปจนถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นวันครบ
4 เดือน จะทำภายหลังหรือก่อนกำหนดนั้นไม่ควร.

ญัตติวิธาน


วินิจฉัยในข้อว่า เทฺววาจิกํ ปวาเรตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
เฉพาะภิกษุผู้ตั้งญัตติ พึงกล่าวว่า ยติ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ
เทฺววาจิกํ ปวาเรยฺย
แปลว่า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง
ปวารณา 2 หน.
ในการปวารณาหนเดียว พึงกล่าวว่า เอกวาจิกํ ปวาเรยฺย แปล
ว่า พึงปวารณาหนเดียว.