เมนู

ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอสงฆ์จงอาลัยความกรุณาว่ากล่าวเธอ เธอเห็น
อยู่จักทำคืนเสีย. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้
ครั้งที่ 3 ภิกษุชื่อติสสะปวารณาต่อสงฆ์ ฯลฯ เธอเห็นอยู่จักทำคืนเสีย. แต่ถ้า
ภิกษุผู้มอบปวารณา เป็นผู้แก่กว่า ภิกษุผู้นำพึงกล่าวว่า อายสฺมา ภนฺเต
ตสฺโส
แปลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญท่านติสสะ ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล
เป็นอันภิกษุผู้นำปวารณา ได้ปวารณาแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้มอบ
ปวารณานั้น.

มอบฉันทะ


วินิจฉัยในข้อ ปวารณํ เทนฺเตน ฉนฺทํปิ ทาตุํ นี้ พึงทราบ
ดังนี้:-
การมอบฉันทะพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในอุโบสถขันธกะเถิด.
และแม้ในปวารณาขันธกะนี้การมอบฉันทะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สังฆกรรม
ที่เหลือ เพราะฉะนั้น ถ้าว่า เมื่อมอบปวารณา ย่อมมอบฉันทะด้วย เมื่อ
ปวารณาได้นำมาแล้วบอกแล้วตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ทั้งภิกษุนั้น ทั้งสงฆ์
ย่อมเป็นอันได้ปวารณาแล้วทีเดียว. ถ้าภิกษุผู้ลงไม่ได้ มอบแต่ปวารณาเท่านั้น
หาได้มอบฉันทะไม่ เมื่อปวารณาของเธอได้บอกแล้ว และสงฆ์ได้ปวารณาเสร็จ
แล้ว ย่อมเป็นอันภิกษุทั้งปวงปวารณาดีแล้ว แต่กรรมอย่างอี่นย่อมกำเริบ,
แต่ถ้าภิกษุผู้ลงไม่ได้ มอบแต่ฉันทะเท่านั้น ไม่มอบปวารณา ปวารณาและ
กรรมที่เหลือของสงฆ์หากำเริบไม่ ส่วนภิกษุนั้นไม่จัดว่าได้ปวารณา. ก็ในวัน
ปวารณา แม้ภิกษุผู้อธิษฐานปวารณาในภายนอกสีมาแล้วจึงมา ก็ควรให้
ฉันทะ ปวารณากรรมของสงฆ์จึงจะไม่กำเริบเพราะเธอ.

อธิษฐานปวารณา


วินิจฉัยในข้อว่า อชฺช เม ปวารณา นี้ พึงทราบดังนี้:-
ถ้าวันปวารณาเป็น 14 ค่ำ ภิกษุผู้อยู่รูปเดียวพึงอธิษฐานอย่างนี้ว่า
อชฺช เม ปวารณา จาตุทฺทสี แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้ 14 ค่ำ ถ้า
เป็นวัน 15 ค่ำ พึงอธิ ฐานอย่างนี้ว่า อชฺช เม ปวารณา ปณฺณรสี
แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้ 15 ค่ำ.
คำว่า ตทหุปวารณาย อาปตฺตึ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.
ข้อว่า ปุน ปวาเรตพฺพํ มีความว่า พึงทำบุพกิจแล้วตั้งญัตติ
ปวารณาตั้งแต่พระสังฆเถระลงมาอีก. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว
ในอุโบสถขันธกวรรณนาเถิด.

อติเรกานุวัตติกถา


วินิจฉัยในข้อว่า อาคนฺตุเกหิ อาวาสิกานํ อนุวตฺติตพฺพํ พึง
ทราบดังนี้:-
พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่น พึงทำบุพกิจว่า อชฺช ปวารณา จาตุทฺทสี
นั้นแล. แม้ในปวารณาวัน 15 ค่ำก็มีนัยเช่นเดียวกัน.
ในบทที่สุดแห่งพระบาลีนั้นว่า อาวาสิเกหิ นิสฺสีมํ คนฺตฺวา
ปวาเรตพฺพํ
มีวินิจฉัยนอกบาลี ดังนี้:-
ถ้าว่าภิกษุ 5 รูปจำพรรษาในวัสสูปนายิกาต้น, อีก 5 รูป จำพรรษา
ในวัสสูปนายิกาหลัง เมี่อภิกษุพวกแรกตั้งญัตติปวารณาแล้ว ภิกษุพวกหลัง
พึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนักของเธอ อย่าพึงตั้งญัตติ 2 อย่างในโรงอุโบสถ
เดียวกัน. แม้ถ้าว่ามีภิกษุ 4 รูป 3 รูป 2 รูป หรือรูปเดียวก็ตาม จำพรรษา