เมนู

เรื่องภิกษุต้องอาบัติปวารณา 19. เรื่องภิกษุสงสัยในอาบัติปวารณา 20. เรื่อง
ภิกษุระลึกอาบัติ 21. เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ 22. เรื่องสงฆ์ทั้งหมด
สงสัยในสภาคาบัติ 23. เรื่องภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมามากกว่า 24. เรื่องภิกษุ
เจ้าถิ่นพวกอื่นมาเท่ากัน 25. เรื่องภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาน้อยกว่า 26. เรื่อง
วันปวารณาของเจ้าถิ่นเป็น 14 ค่ำ 27. เรื่องลักษณะเจ้าถิ่น 28. เรื่องภิกษุ
สมานสังวาสปวารณา 29. เรื่องไม่ควรไป 30. เรื่องไม่ควรปวารณาในบริษัท
มีภิกษุณีเป็นต้นนั่งอยู่ด้วย 31. เรื่องให้ฉันทะ 32. เรื่องห้ามปวารณาในวัน
มิใช่วันปวารณา 33. เรื่องคนชาวดง 34. เรื่องราตรีจวนสว่าง 35. เรื่อง
ฝน 36. เรื่องมีอันตราย 37 . เรื่องภิกษุมีอาบัติปวารณา 38. เรื่องไม่ยอม
ทำโอกาส 39. เรื่องงดปวารณาของพวกเราก่อน 40. เรื่องไม่เป็นอันงด
ปวารณา 41. เรื่องงดปวารณาของภิกษุ งดเพราะเรื่องอะไรเป็นต้น เป็น
อย่างไร งดด้วยได้เห็น ได้ยิน หรือรังเกียจโจทก์และจำเลย 42. เรื่องภิกษุ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย 43. เรื่องวัตถุปรากฏ 44. เรื่องก่อความบาดหมาง
45. เรื่องเลื่อนปวารณา 46. เรื่องไม่เป็นใหญ่ในปวารณา.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ

อรรถกถาปวารณาขันธกะ


วินิจฉัยในปวารณาขันธกะ. วินิจฉัยในข้อว่า เนว อาลเปยฺยาม
น สลฺลเปยฺยาม
นี้ พึงทราบดังนี้:-
คำแรกชื่อว่าคำทัก คำหลัง ๆ ชื่อว่า คำปราศรัย.
บทว่า หตฺถวิลงฺฆเกน ได้แก่ด้วยการช่วยกันใช้มือยก.

บทว่า ปสุสํวาสํ คือการอยู่ร่วมกันดังการอยู่ร่วมของเหล่าปศุสัตว์.
จริงอยู่ แม้เหล่าปศุสัตว์ย่อมไม่บอกความสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ตนแก่กันและ
กัน ไม่ทำการปฏิสันถารฉันใด แม้ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทำฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น
ความอยู่ร่วมกันของภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นการอยู่
ร่วมกันดังการอยู่ร่วมของเหล่าปศุสัตว์ นัยในบททั้งปวงเหมือนกัน.
ข้อว่า น ภิกฺขเว มูควตฺตํ ติตฺถิยสมาทานํ เป็นต้น มีความว่า
ภิกษุไม่พึงกระทำการสมาทานวัตรเช่นนี้ว่า เราทั้งหลายไม่พึงพูดกันตลอด
ไตรมาสนี้. เพราะว่า นั่นเป็นกติกาที่ไม่ชอบธรรม.
ข้อที่ภิกษุมาผ่อนผันพูดกะกันและกัน ชื่อว่า อญฺฌมญฺญานุโลมตา.
จริงอยู่ ภิกษุย่อมเป็นผู้อาจว่ากล่าวอะไร ๆ กะภิกษุผู้สั่งไว้ว่า ขอท่านผู้มีอายุ
จงว่ากล่าวข้าพเจ้าเถิด, แต่หาอาจว่ากล่าวภิกษุนอกจากนี้ไม่ ความยังกันและกัน
ให้ออกจากอาบัติทั้งหลาย ชื่ออาปัตติวุฏฐานตา, ความที่ภิกษุมาทั้งพระวินัยไว้
เป็นหลักประพฤติ ชื่อว่าวินยปุเรกขารตา.
จริงอยู่ ภิกษุผู้กล่าวอยู่ว่า ขอท่านผู้มีอายุจงว่ากล่าวข้าพเจ้าเถิด ดัง
นี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจักออกจากอาบัติ และเธอย่อมตั้ง
พระวินัยไว้เป็นหลักอยู่

ปวารณาวิธี


ญัตติอันได้นามว่า สัพพสังคาหิกานี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ,
อชฺช ปวารณา, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโข ปวาเรยฺย
แปลว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าว่า ความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ดังนี้ ก็เมื่อสวดประกาศอย่าง
นี้แล้ว สงฆ์จะปวารณา 3 ครั้ง 2 ครั้ง และครั้งเดียวก็ควร แต่จะปวารณาให้