เมนู

แล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ขณะนั้น ยสกุลบุตร
เปล่งอุทานในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่
นี่ขัดข้องหนอ ทันทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะยสกุลบุตรว่า ดูก่อนยส ที่
นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยส นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ ที่นั้น
ยสกุลบุตรร่าเริงบันเทิงใจว่าได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ดังนี้
แล้วถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้
มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา
สัคคกถา โทษ ความค่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์
ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน
มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระ
ธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่ง
ใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา
ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับ
น้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น.

บิดาของยสกุลบุตรตามหา


[27] ครั้นรุ่งเช้า มารดาของยสกุลบุตรขึ้นไปยังปราสาท ไม่เห็น
ยสกุลบุตร จึงเข้าไปหาเศรษฐีผู้คหบดี แล้วได้ถามว่า ท่านคหบดีเจ้าข้า พ่อ
ยสกุลบุตรของท่านหายไปไหน ฝ่ายเศรษฐีผู้คหบดีส่งทูตขี่ม้าไปตามหาทั้ง 4
ทิศแล้ว ส่วนตัวเองไปหาทางป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ได้พบรองเท้าทองวาง

อยู่ ครั้น แล้วจึงตามไปสู่ที่นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเศรษฐี
ผู้คหบดีมาแต่ไกล ครั้นแล้วทรงพระดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงบันดาล
อิทธาภิสังขารให้เศรษฐีคหบดี นั่งอยู่ ณ ที่นี้ไม่เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้
แล้วทรงบันดาลอิทธาภิสังขารดังพระพุทธดำริ ครั้งนั้น เศรษฐีผู้คหบดีได้
เช้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นยสกุล-
บุตรบ้างไหม พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้รีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี ถ้าอย่างนั้น เชิญนั่ง บาง
ที่ท่านนั่งอยู่ ณ ที่นี้จะพึงได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้.
ครั้งนั้น เศรษฐีผู้คหบดีร่าเริงบันเทิงใจว่า ได้ยินว่า เรานั่งอยู่ ณ ที่
นี้แหละจักเห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้ จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อเศรษฐีผู้คหบดีนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา
โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความ
ออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า เศรษฐีผู้คหบดี มีจิตสงบ
มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรง
ประกาศพระธรรนเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์
เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับ
เป็นธรรมดา ได้เกิดแก่เศรษฐีผู้คหบดี ณ ที่นั่งนั่นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจาก
มลทิน ควรได้รับน้ำย้อม ฉะนั้น.
ครั้นเศรษฐีผู้คหบดี ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้
ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจาก

ถ้อยคำ แสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอน
ของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า
พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระ-
พุทธเจ้าว่า เป็นอุบายสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ก็เศรษฐีผู้คหบดีนั้น ได้เป็นอุบายสกล่าวอ้างพระรัตนตรัย เป็นคนแรก
ในโลกะ

ยสกุลบุตรสำเร็จพระอรหัตต์


[28] คราวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม แก่บิดา ของ
ยสกุลบุตร จิตของยสกุลบุตร ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้
แจ้งแล้ว ก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า เมื่อแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตรอยู่ จิตของ
ยสกุลบุตร ผู้พิจารณาเห็นภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว พ้น
แล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ยสกุลบุตรไม่ควรจะกลับเป็นคฤหัสถ์
บริโภคกาม เหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้งก่อน ถ้ากระไร เราพึงคลายอิทธาภิสังขาร
นั้นได้แล้ว พระองค์ก็ได้ทรงคลายอิทธาภิสังขารนั้น เศรษฐีผู้คหบดีได้เห็น
ยสกุลบุตรนั่งอยู่ ครั้นแล้วได้พูดกะยสกุลบุตรว่า พ่อยส มารดาของเจ้า
โศกเศร้าคร่ำครวญถึง เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด ครั้งนั้น ยสกุลบุตร