เมนู

อรรถกถาอุโภตาปสาทิกถา


บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณเครื่องเป็นบัณฑิต.
บทว่า พฺยตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณเครื่องเป็นผู้ฉลาด.
บทว่า เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเกิดขึ้นฉับพลัน1.
บทว่า อปฺปรชกฺขชาติโก มีความว่า จัดว่าเป็นผู้มีชาติแห่งคน
ไม่มีกิเลส คือ เป็นคนหมดจด เพราะข่มกิเลสไว้ด้วยสมาบัติ.
บทว่า. อาชานิสฺสติ ได้แก่ จักกำหนดได้ คือ จักแทงตลอด.
หลายบทว่า ภควโตปิ โข ญาณํ อุทปาทิ มีความว่าพระ-
สัพพัญญุตญานเได้เกิดขึ้นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนั้น ทำกาลกิริยาแล้ว
ไปเกิดในอากิญจัญญายตนภพ ในเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันนี้ไป.
บทว่า มหาชานิโย มีอรรถวิเคราะห์ว่า ความเสื่อมใหญ่ชื่อว่ามีแก่
เธอ เพราะเป็นผู้เสื่อมเสียจากมรรคผลที่จะพึงบรรลุ ในภายใน 7 วัน เพราะ
ฉะนั้น เธอจึงชื่อผู้มีความเสื่อมใหญ่. อนึ่งชื่อผู้มีความเสื่อมใหญ่ เพราะเกิด
ในอักขณะ2.
บทว่า อกโทสกาลกโต มีความว่า ได้ทำกาลกิริยาเสียเมื่อวันวาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นว่า แม้อุทกดาบสนั้น ก็เกิดแล้วในเนวสัญญานา
สัญญายตนภพ.

1. ฐานศัพท์ลงในอรรถว่า ขณ ต่อ พลัน ทันทีทันใด เช่นในคำว่า ฐานโส อุปกปฺปติ. อนึ่ง
คำนี้ก็มคำไขไว้ในแก้อรรถ บทว่า วีมํสาย หน้า 234 ข้างหน้า.
2. สมัยมิใช่คราวมีพระพุทธเจ้า.

บทว่า พหูปการา คือ ผู้มีอุปการะมาก.
บทว่า ปธานปหิตตฺตํ มีความว่า ผู้ยอมตัวเพื่อประโยชน์แก่ความ
เพียร.
บทว่า อุปฏฺฐหึสุ มีความว่า ได้บำรุงด้วยวัตรมีให้น้ำบ้วนปาก
เป็นต้น.
หลายบทว่า อนฺตรา จ โพธึ อนุตรา จ คยํ มีความว่า
อาชีวกชื่อ อุปกะ ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ระหว่างโพธิมัณฑ์กับแม่น้ำคยา
ต่อกัน.
บทว่า อทฺธานุมคฺคปฏิปนฺนํ มีความว่า เสด็จดำเนินทางไกล.
บทว่า สพฺพาภิภู มีความว่า เราครอบงำไตรภูมิกธรรมทั้งปวง.
บทว่า สพฺพวิทู มีความว่า ได้รู้ คือได้เข้าใจธรรมที่มี 4 ภูมิ
ทั้งหมด.
บาทพระคาถาว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนูปลิตฺโต ความว่าอัน
เครื่องฉาบทาคือกิเลส ฉาบทาไม่ได้ในไตรภูมิกธรรมทั้งปวง.
บทว่า สพฺพญฺชโห ความว่า ตัดไตรภูมิกธรรมทั้งปวงได้ขาด.
บทว่า ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต ความว่า เป็นผู้พ้นวิเศษ เพราะธรรม
เป็นที่สิ้นตัณหาคือนิพพาน ด้วยอำนาจทำให้เป็นอารมณ์.
บทว่า สยํ อภิญฺญาย ได้แก่ เรารู้ธรรมมี 4 ภูมิทั้งหมดด้วยตนเอง.
บทว่า กมุทฺทิเสยฺยํ ความว่า จะพึงอ้างเอาใคร คือคนอื่นว่า ผู้
นี้เป็นอาจารย์เราเล่า.
หลายบทว่า น เม อาจริโย อตฺถิ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าอาจารย์
ในโลกุตรธรรมของเราย่อมไม่มี.

หายบทว่า นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล มีความว่า ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้
เปรียบปานกับเราย่อมไม่มี.
บทว่า สีติภูโต มีความว่า จัดว่าเป็นผู้มีความเย็นใจ เพราะดับไฟ
คือกิเลสเสียทั้งหมด.
บทว่า นพฺพุโต มีความว่า จัดว่าเป็นผู้ดับแล้ว เพราะกิเลสทั้ง
หลายนั้นเองดับไป.
สองบทว่า กาสีนํ ปุรํ ได้แก่ เมืองหลวงในแคว้นของชาวกาสี.
บาทคาถาว่า อหญฺญึ อมตทุนฺทภึ มีความว่า เราจะไปด้วย คิดว่า
จักตีกลองอมฤตเพื่อได้ดวงตาเห็นธรรรม.
สองบทว่า อรหสิ อนนฺตชิโน มีความว่า ท่านสมควรเป็นผู้
ชำนะไม่มีที่สุดจริง.
บทว่า หุเวยฺยาวุโส มีความว่า ผู้มีอายุ พึงเป็นได้ถึงอย่างนั้น
เทียวนะ.
สองบทว่า สีสํ โอกมฺเปตฺวา ได้แก่ สั่นศีรษะ.
บทว่า สณฺฐเปสุํ คือ ได้ทำกติกา.
บทว่า พาหุลฺลิโก ได้แก่ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มี
จีวรมากเป็นต้น.
บทว่า ปธานวิพฺภนฺโต ได้แก่ เป็นผู้คลายเสียแล้ว คือตกเสีย
แล้ว เสื่อมเสียแล้ว จากความเพียร.
สองบทว่า อาวตฺโต พาหุลฺลาย ได้แก่ ผู้เวียนมาเพื่อประโยชน์
แก่ความเป็นผู้มักมากด้วยปัจจัยมีจีวรเป็นต้น .

1. ในปฐมสมโพธิว่า ดูก่อนอาวุโส นามวำ อนันตชิโน พึงเป็นชื่อได้.

หลายบทว่า โอทหถ ภิกฺขเว โสตํ มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย
ท่านจงเงี่ยโสต คือจงทำโสตินทรีย์ให้บ่ายหน้า เพื่อฟังธรรม.
ด้วยสองบทว่า อมตมธิคตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าพระ
นิพพานเป็นธรรมไม่ตาย เราได้บรรลุแล้ว.
บทว่า จริยาย คือด้วยความประพฤติที่ทำได้ยาก.
บทว่า ปฏิปทาย ได้แก่ ด้วยข้อปฏิบัติที่ทำได้ยาก.
หลายบทว่า อภิชานาถ เม โน มีความว่า ท่านทั้งหลายจำได้
อยู่ คือเล็งเห็นอยู่หรือ ได้แก่ ซึ่งภาษิตเห็นปานนี้ ของเรา.
บทว่า เอวรูปํ ภาสิตเมตํ ได้แก่ ความเผยกล่าวเห็นปานนี้.
ข้อว่า อสกฺขิ โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู สฌฺญาเปตุํ มี
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงอาจให้ภิกษุเบญจวัคคีย์ทราบว่า พระองค์
ได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว.
บทว่า จกฺขุกรณี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาดวงตา คือ
ปัญญา. ต่อจากนี้ไปทุกบท ว่าโดยความเฉพาะบทแล้ว เป็นคำตื้น ๆ ทั้ง
นั้น ว่าโดยต่างแห่งอธิบายอนุสนธิและคำประกอบพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว
ในอรรถกถาแห่งมัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี1 เถิด. และตั้งแต่นี้ไป เมื่อ
ข้าพเจ้าจะคอยรักษาน้ำใจของมหาชน ผู้ขยาดต่อความพิสดารเกินไป จำต้อง
ไม่พรรณนาสุตตันตกถา จักพรรณนาแต่วินัยกถาเท่านั้น.
ข้อว่า สา ว ตสฺส อายสฺมโต อุปสมฺปทา อโหสิ มีความ
ว่า ในวันเพ็ญเดือนแปด เมื่อพระผู้มีอายุโกณฑัญญะกับเทวดาสิบแปดโกฏิ
ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระวาจานั้นแล ซึ่งสำเร็จด้วยพระพุทธพจน์ของ

1. ป. สุ. 144.

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ได้เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ของพระผู้มีอายุนั้น.
ในคำว่า อถ โข อายสฺมโต จ วปฺปสฺส เป็นต้น มีวินิจฉัย
ว่า ในวันแรมค่ำหนึ่ง ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแก่พระวัปฺปเถระ ในวันแรม
2 ค่ำได้เกิดขึ้นแก่พระภัททิยเถระ ในวันแรม 3 ค่ำได้เกิดแก่พระมหานาม
เถระ ในวันแรม 4 ค่ำ ได้เกิดขึ้นแก่พระอัสสชิเถระ. ก็แลเพื่อชำระมลทิน
ซึ่งเกิดขึ้นในกัมมัฏฐานของภิกษุเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จอยู่ภายใน
วิหารเท่านั้น. เมื่อมลทินแห่งกัมมัฏฐานเกิดขึ้นทีไร ก็ได้เสด็จลงมาทางอากาศ
แล้วทรงชำระเสีย. ก็แลในวันแรม 5 ค่ำ แห่งปักษ์พระองค์ไห้เธอทั้งหมด
ประชุมพร้อมกันแล้วตรัสสอนด้วยอนัตตสูตร1. เพราะเหตุนั้น พระธรรม
สังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อถโข ภควา ปญฺจวคฺคิเย เป็นต้น.
ข้อว่า เตน โข ปน สมเยน ฉ โลเก อรตนโต โหนฺติ
มีดวามว่า ในวันแรม 5 ค่ำ มนุษย์ 6 คน เป็นพระอรหันต์ในโลก.

อรรถกถาอุโภตาปสาทิกถา จบ

1. อนัตตลักขณสูตร มหาวคฺค. ปฐม. 24

เรื่องยสกุลบุตร


[25] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครพาราณสี มีกุลบุตร ชื่อ ยส
เป็นบุตรเศรษฐี สุขมาลชาติ ยสกุลบุตรนั้นมีปราสาท 3 หลัง คือ หลังหนึ่ง
เป็นที่อยู่ในฤดูหนาว หลังหนึ่งเป็นทิ่อยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน
ยสกุลบุตรนั้นรับบำเรอด้วยพวกดนตรี ไม่มีบุรุษเจือปนในปราสาทฤดูฝนตลอด
4 เดือนไม่ลงมาเบื้องล่างปราสาท ค่ำวันหนึ่ง เมื่อยสกุลบุตรอิ่มเอิบพร้อมพรั่ง
บำเรออยู่ด้วยกามคุณ 5 ได้นอนหลับก่อน ส่วนพวกบริวารชนนอนหลับภาย
หลังประทีปน้ำรังมันตามสว่างอยู่ตลอดคืน คืนนั้นยสกุลบุตรตื่นขึ้นก่อน ได้เห็น
บริวารชนของตนกำลังนอนหลับ บางนางมีพิณตกอยู่ที่รักแร้ บางนางมีตะโพน
วางอยู่ข้างคอ บางนางมีเปิงมางตกอยู่ที่อก บางนางสยายผม บางนางมี
น้ำลายไหล บางนางบ่นละเมื่อต่าง ๆ ปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจป่าช้าผีดิบ ครั้น
แล้วความเห็นเป็นโทษได้ปรากฏแก่ยสกุลบุตร จิตตั้งอยู่ในความเบื่อหน่าย จึง
ยสกุลบุตรเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ แล้ว
สวมรองเท้าทองเดินตรงไปยังประตูนิเวศน์ พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ด้วยหวัง
ใจว่า ใคร ๆ อย่าได้ทำอันตรายแก่การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของ
ยสกุลบุตรเลย ลำดับนั้น ยสกุลบุตรเดินทรงไปทางประตูพระนคร พวก
อนนุษย์เปิดประตูให้ด้วยหวังใจว่า ใคร ๆ อย่าได้ทำอันตรายแก่การออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตร ทีนั้น ยสกุลบุตรได้เดินทรงไปทางป่า
อิสิปตนะมฤคทายวัน.
[26] ครั้นปัจจุสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้าตื่นบรรทมแล้ว
เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกล ครั้น