เมนู

พระคุณเจ้าทั้งหลาย จะพึงขนเครื่องทัพพสัมภาระนั้นไปได้ กระผมขอถวาย
เครื่องทัพพสัมภาระนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปได้เพราะ
กรณียะของสงฆ์ แต่ต้องกลับใน 7 วัน.
เรื่องทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะ จบ
วัสสาวาสภารวารที่ 1 จบ

อรรถกถาธุระเป็นไปด้วยสัตตาหกรณียะ


วินิจฉัยในสัตตาหกรณียะทั้งหลาย พึงทราบดังต่อไปนี้:-
ตั้งแต่คำว่า ภิกฺขุนีสงฺฆํ อุทฺทิสฺส เป็นต้นไป ย่อมมีความเสื่อม
ตลอดไป 3 อย่าง คือ เว็จกุฎี 1 เรือนไฟ 1 ศาลาเรือนไฟ 1.
โรงเก็บสิ่งของเป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วทีเดียว ในสิกขาบท
ทั้งหลาย มีอุทโทสิตสิกขาบทเป็นต้น.
ก็โรงครัว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าในวัสสูปนายิกขันธกะนี้ว่า รสวตี.
คำว่า วาเรยฺยํ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในสัญจริตสิกขาบท.
หลายบทว่า ปุรายํ สุตฺตนฺโต น ปลุชฺชติ ความว่า ทราบเท่าที
พระสุตตันตะนี้จะไม่สาบสูญเสีย.
ข้อว่า ปญฺจนฺนํ สตฺตาหกรณีเยน ความว่า แม้เมื่อสหธรรมิก
มิได้ส่งทูตมานิมนท์ ภิกษุก็ควรไป ด้วยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้
พิสดารข้างหน้า โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เราจักแสวงหาคิลานภัตหรือคิลานุ-

ปัฏฐากภัตหรือเภสัช แก่สหธรรมิกทั้ง 5 มีภิกษุเป็นต้น เหล่านั้นบ้าง จักถาม
บ้าง จักพยาบาลบ้าง. แม้ในที่แห่งมารดาบิดา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตไว้แล้วข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.
แต่ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใด เป็นอุปัฏฐากของ
มารดาและบิดา ซึ่งเป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี แม้เมื่อชนเหล่านั้นมิได้ส่งทูต
มานิมนต์ ภิกษุจะไปก็ควร. คำนั้นท่านมิได้กล่าวไว้เลย ทั้งในอรรถกถาและ
บาลี เพราะฉะนั้น ไม่ควรจะถือเอา.
บทว่า ภิกฺขุภติโก ได้แก่ บุรุษผู้อยู่กับภิกษุทั้งหลายในวัดเดียวกัน.
บทว่า อุทฺริยติ ได้แก่ ชำรุด.
สองบทว่า ภณฺฑํ เฉทาปิตํ ได้แก่ เครื่องทัพพสัมภาระที่เขาให้
ตัดไว้แล้ว.
บทว่า อวหราเปยฺยุํ คือพึงให้ขนมา.
วินิจฉัยในคำว่า สงฺฆกรณีเยน นี้ พึงทราบดังนี้:-
กิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันภิกษุพึงทำในเสนาสนะทั้งหลาย มีโรง
อุโบสถเป็นต้นก็ดี ในสถานที่ทรงอนุญาต มีฉัตรและไพทีแห่งพระเจดีย์เป็นต้น
ก็ดี โดยที่สุด แม้เป็นเสนาสนะเฉพาะตัวของภิกษุทุกอย่างเป็นกิจอันสงฆ์พึงทำ
ทั้งนั้น. เพราะฉะนั้น เพื่อให้กิจนั้นสำเร็จ ภิกษุควรไปเพื่อขนทัพพสัมภาระ
เป็นต้นมา หรือเพื่อให้ไวยาวัจกรให้ค่าจ้างและรางวัลเป็นต้น แก่ชนทั้งหลาย
มีช่างไม้เป็นต้น .
วินิจฉัยในรัตติเฉทซึ่งพ้นจากบาลี ในสัตตหกรณียาธิการ พึงทราบ
ดังต่อไปนี้:-
อันภิกษุอันเขามิได้นิมนต์ เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม ไม่สมควร
ไป. แต่ถ้าว่าภิกษุได้กระทำการนัดหมายกันไว้ก่อนแล้ว ในอาวาสใหญ่แห่ง

หนึ่งว่า เราทั้งหลายพึงประชุมกันในวันชื่อโน้น ดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้อันเขา
นิมนต์แล้วได้ จะไปก็ควร. จะไปด้วยคิดว่า เราจักซักย้อมจีวร ไม่ควร. แต่
ถ้าอาจารย์และอุปัชฌาย์ใช้ไปควรอยู่. วัดอยู่ในที่ไม่ไกลนัก เธอไปในวัดนั้น
ด้วยตั้งใจว่า เราจักกลับมาในวันนี้ทีเดียว แต่ไม่สามารถจะมาให้ทันได้ ควร
อยู่. ย่อมไม่ได้เพื่อจะไป แม้เพื่อประโยชน์แก่อุเทสและปริปุจฉาเป็นต้น. แต่
ย่อมได้เพื่อจะไปด้วยคิดว่า เราจักเยี่ยมอาจารย์ ถ้าว่าอาจารย์กล่าวกะเธอว่า
คุณจงอย่าไปในวันนี้เลย ดังนี้ จะไม่กลับก็ควร. ย่อมไม่ได้เพื่อจะไปเยี่ยม
สกุลอุปัฏฐาก หรือสกุลของญาติ.

อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา


ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียนเป็นต้น


[214] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง
ในโกศลชนบท ถูกเหล่าสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไปได้บ้าง หนีมันรอดมา
ได้บ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่าดังนี้:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้วถูกสัตว์
ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไปได้บ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง พวกเธอพึงหลีก
ไปด้วยความสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี่จำพรรษาแล้ว
ถูกงูเบียดเบียน มันขบกัดเอาบ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง พวกเธอพึงหลีกไป
ด้วยสำคัญว่านั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว
พวกโจรเบียดเบียน มันปล้นบ้าง รุมตีบ้าง พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า
นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ถูก
พวกปีศาจรบกวน มันเข้าสิงบ้าง พาเอาไปบ้าง พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญ
ว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว
หมู่บ้านประสบอัคคีภัย ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต พวกเธอพึงหลีก
ไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.