เมนู

อรรถกถาวัสสูปนายิกขันธกะ


วินิจฉัยในเรื่องวัสสูปนายิกขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อปฺปญฺญตฺโต ได้แก่ ยังมิได้ทรงอนุญาต หรือว่ายังมิได้
ทรงจัด.
สองบทว่า เตธ ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุทั้งหลายนั้น. อิธ ศัพท์ เป็น
เพียงนิบาต.
สัตว์ทั้งหลายผู้อาจไปในอากาศชื่อว่านก.
บทว่า สงฺกาสยิสฺสนฺติ ความว่า นกทั้งหลาย ก็จักขวนขวายน้อย
อยู่ประจำที่.
สองบทว่า สงฺฆาตํ อาปาเทนฺตา ได้แก่ ให้ถึงความพินาศ.
หลายบทว่า วสฺสาเน วสฺสํ อุปคนฺตุํ ความว่า เพื่อเข้าจำพรรษา
ตลอด 3 เตือนในฤดูฝน.
หลายบทว่า กติ นุ โข วสฺสูปนายิกา ความว่า วันเข้าพรรษา
มีเท่าไรหนอ ?
วินิจฉัยในคำว่า อุปรชฺซุคตาย อาสาฬฺหิยา พึงทราบดังนี้:-
วัน 1 แห่งดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น ซึ่งล่วงไปแล้ว เพราะเหตุ
นั้น ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น จึงชื่อว่า มีวัน 1 ล่วงไปแล้ว. เมื่อดิถี
เพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้นล่วงไปแล้ว คือก้าวล่วงแล้ววัน 1 อธิบายว่า ใน
วันแรมค่ำ 1

แม้ในนัยที่ 2 ก็มีความว่า เดือน 1 แห่งดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น
ซึ่งล่วงไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น จึงชื่อว่ามีเดือน
1 ล่วงไปแล้ว. เมื่อดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น ล่วงไปแล้ว คือก้าวล่วงแล้ว
เดือน 1 อธิบายว่า เมื่อเดือน 1 เติมบริบูรณ์. เพราะเหตุนั้น ในวันแรม
ค่ำ 1 ซึ่งถัดจากวันกลางเดือน 8 หรือในวันแรมค่ำ 1 ซึ่งถัดจากวัน กลางเดือน
9 จากเพ็ญเดือน 8 นั่นแล อันภิกษุผู้จะจำพรรษา พึงจัดแจงวิหารแล้วทั้งน้ำ
ฉันน้ำใช้ไว้ พึงทำสามีจิกรรมมีกราบไหว้พระเจดีย์เป็นต้นทั้งปวงให้เสร็จแล้ว
พึงเปล่งวาจาว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ดังนี้ ครั้ง
1 หรือ 2 ครั้งแล้ว จำพรรษาเถิด.
วินิจฉัยในคำว่า โย ปกฺถเมยฺย นี้ พึงทราบดังนี้:-
พึงทราบว่า ต้องอาบัติ เพราะไม่มีอาลัย หรือเพราะให้อรุณขึ้นใน
ที่อื่น.
วินิจฉัยในคำว่า โย อติกฺกเมยฺย นี้ พึงทราบดังนี้:-
พึงทราบว่า เป็นอาบัติหลายตัว ด้วยนับวัด.
ก็ถ้าว่า ในวันนั้น เธอเข้าไปยังอุปจารวัด 100 ตำบลแล้วเลยไปเสีย
พึงทราบว่า เป็นอาบัติ 100 ตัว แต่ถ้าว่า เลยอุปจารวัดไปแล้ว แค่ยังไม่ทัน
เข้าอุปจารวัดอื่น กลับมาเสีย พึงทราบว่า ต้องอาบัติตัว เดียวเท่านี้นั้น. ภิกษุผู้
ไม่จำพรรษาต้น เพราะอันตรายบางอย่างต้องจำพรรษาหลัง.
สองบทว่า วสฺสํ อุถฺคฑฺฒิตุกาโม ความว่า มีพระประสงค์จะ
เลื่อนเดือนต้นฤดูฝนออกไป อธิบายว่า มีพระประสงค์จะไม่นับ เดือน 9 จะ
ให้นับ เป็นเดือน 8 อีก.

สองบทว่า อาคเม ชุณฺเห มีอธิบายว่า ในเดือนอธิกมาส.
วินิจฉัยในข้อว่า อนุซานามิ ภิกฺขเว ราซูนํ อนุวตฺติตุํ นี้พึง
ทราบดังนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่ออนุวัตรตาม ด้วยทรงทำในพระ
หฤทัยว่า ชื่อว่าความเสื่อมเสียสักนิดหน่อย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุทั้งหลาย เพราะ
เลื่อนกาลฝนออกไป. เพราะฉะนั้น ภิกษุควรอนุวัตรตาม ในกรรมที่เป็นธรรม
อย่างอื่นได้ แต่ไม่ควรอนุวัตรตามแก่ใคร ๆ ในกรรมอันไม่เป็นธรรมฉะนี้
แล.

เรื่องทรงอนะญาตสัตตหกรณียะ


ทายกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย


[210] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว. เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดย
ลำดับลุถึงพระนครสาวัตถี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถุนั้น
ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสกชื่ออุเทนได้ให้สร้างวิหารอุทิศต่อสงฆ์ไว้ใน
โกศลชนบท เขาได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้า
ทั้งหลายจงมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุ
ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลายตอบไปอย่างนี้ว่า ท่านอุบาสก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติไว้ว่า ภิกษุจำพรรษา ไม่อยู่ให้ตลอด 3 เดือนต้น หรือ 3 เดือนหลัง
ไม่พึงหลีกไปสู่จาริก ขออุบาสกอุเทนจงรออยู่ชั่วระยะเวลาที่ภิกษุทั้งหลายจำ.
พรรษา ออกพรรษาแล้วจึงจักไปได้ แค่ถ้าท่านจะมีกรณียกิจรีบด่วน จงให้
ประดิษฐานวิหารไว้ในสำนักภิกษุเจ้าถิ่น ในโกศลชนบทนั้นนั่น แหละ
อุบาสกอุเทนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเมื่อเราส่งทูต
ไปแล้ว พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงได้ไม่มาเล่า เราก็เป็นทายก เป็นผู้ก่อสร้าง เป็น
ผู้บำรุงสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุเทนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.