เมนู

บริษัทยังไม่ทันลุกไปและบางพวกลุกไปแล้ว 75. เรื่องบริษัทลุกไปหมดแล้ว
76. เรื่องภิกษุรู้ 77. เรื่องภิกษุสงสัย 78. เรื่องภิกษุฝืนใจทำด้วยเข้าใจ
ว่าควร 79. เรื่องภิกษุรู้ ได้เห็นและได้ยิน 80. เรื่องภิกษุอาคันตุกะกับ
ภิกษุเจ้าถิ่น 81. เรื่องวันจาตุททสี วันปัณณรสี 82. เรื่องวันปาฏิบทกับ
วันปัณณรสี 83. เรื่องลิงค์ 84. เรื่องสังวาส 85. เรื่องให้ปาริสุทธิค้าง
คราว 86. เรื่องทำอุโบสถในกาลมิใช่วันอุโบสถ นอกจากวันสังฆสามัคคี
อุทานที่จำแนกแล้วเหล่านี้ เป็นหัวข้อบอกเรื่อง.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ

อรรถกถาในวัคคาสมัคคสัญญิโนปัณณรสกาทิกถา


วินิจฉัยในวัคคาสมัคคสัญญิโนปัณณรสกะ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า เต ชานนฺติ มีความว่า พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่น สถิตอยู่บนภูเขา
หรือบนบก เห็นภิกษุเหล่าอื่นล่วงล้ำสีมาเข้ามาแล้ว หรือกำลังล่วงล้ำเข้ามา
แค่พวกเธอผู้มีความสำคัญว่า พร้อมเพรียงเพราะไม่รู้ หรือเพราะสำคัญว่า จัก
เป็นผู้มากันแล้ว เวมติกปัณณรสกะ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
วินิจฉัยในกุกกุจจปกตปัณณรสกะ พึงทราบดังนี้.
บุคคลผู้ถูกความอยากครอบงำแล้ว ท่านกล่าวว่า ผู้อันความอยากตรึง
ไว้แล้ว ฉันใด ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทำความสันนิษฐานในชั้นต้นแล้ว
ยังถูกความรังเกียจกล่าวคือ ความเป็นผู้มีความสำคัญในการไม่ควรว่าเป็นการ
ควร ครอบงำ โนขณะกระทำพึงทราบว่า ผู้อันความรังเกียจตรึงไว้แล้ว ฉัน
นั้น.

ในเภทปุเรกขารปัณณรสกะ ท่านปรับถุลลัจจัย เพราะเหตุที่อกุศลจิต
แรงกล้า.
ใน อาวาสิเกนะ อาคันตุกเปยยาละ พึงทราบคำเป็นต้นว่า เต น
ชานนุติ อตฺถญฺเญ อาคนฺตุกา
เหมือนคำที่ได้กล่าวแล้วใน อาวาสิเกนะ
อาวาสิกเปยยาละ
อันมีมาก่อนว่า เต น ชานนฺติ อตฺถญฺเญ อาวาสิกา
เป็นอาทิ.
ส่วนใน อาคันตุเกนะ อาวาสิกเปยยาละ พึงเติมคำว่า อาคนฺตุกา
ภิกฺขู สนฺนิปตนฺติ
เหมือนคำที่มาใน ปุริมเปยยาละ ว่า อาวาสิกา ภิกฺขู
สนฺนิปตนฺติ
แต่ใน อาคันตุเกนะ อาคันตุกเปยยาละ พึงประกอบด้วย
อำนาจภิกษุอาคันตุกะ ในบททั้ง 2 ฉะนี้แล.
วินิจฉัย ในข้อว่า อาวาสิกานํ ภิกฺขูนํ จาตุทฺทโส โหติ,
อาคนฺตุกานํ ปณฺณรโส
นี้ พึงทราบดังนี้:-
อุโบสถของอาคันตุกะเหล่าใด เป็นวัน 15 ค่ำ พึงทราบว่า อาคัน-
ตุกะเหล่านั้น มาแล้วจากนอกแว่นแคว้น หรือได้ทำอุโบสถที่ล่วงไปแล้วเป็น-
วัน 14 ค่ำ.
ข้อว่า อาวาสิกานํ อนุวตฺติตพฺพํ มีความว่า เมื่อพวกภิกษุผู้เจ้าถิ่น
ทำบุพกิจอยู่ว่า อชฺชุโปสโถ จาตุทฺทโส อุโบสถวันนี้ 14 ค่ำ พวกภิกษุ
อาคันตุกะพึงคล้อยตาม คือ ไม่พึงคัดค้าน.
ข้อว่า นากามา ทาตพฺพา มีความว่า สามัคคี อันพวกภิกษุผู้
เจ้าถิ่น ไม่พึงให้แก่พวกภิกษุอาคันตุกะ ด้วยความไม่เต็มใจ.
บทว่า อาวาสิกาการํ ได้แก่ อาการ อธิบายว่า อาจาระของภิกษุ
ผู้เจ้าถิ่น. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

สภาพเป็นเครื่องจับอาจารสัณาน ของภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้นว่า
ภิกษุเหล่านี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรหรือไม่ ? ชื่อว่า อาการ.
ธรรมชาติซึ่งส่อ1 ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น ผู้เร้นอยู่ในที่นั้น ๆ อธิบาย
ว่า ซึ่งให้รู้ได้ แม้มองไม่เห็น. ชื่อว่า ลิงค์.
ธรรมชาติเป็นที่เห็นแล้วรู้ซึ่งภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้นว่า มี ชื่อว่า นิมิต.
สภาพเป็นเครื่องใช้ ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้นว่า เป็นผู้มีบริขารเช่นนี้
อธิบายว่า เป็นเหตุได้ข้ออ้างเช่นนั้น ชื่อว่า อุทเทส.
คำว่าอาการนั้นเป็นต้นทั้งหมด เป็นชื่อของเสนาสนบริขารต่าง ๆ มี
เตียงและตั่งที่จัดตั้งไว้เป็นอันดีเป็นต้น และเป็นชื่อของเสียงฝีเท้าเป็นต้น ก็แล
คำว่า อาการเป็นต้นนั้น พึงประกอบตามที่ควรประกอบ แม้ในอาการของภิกษุ
อาคันตุกะเป็นต้น ก็นัยนี้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญาตกํ ได้แก่ เป็นของ ๆ ภิกกํ
เหล่าอื่น.
สามบทว่า ปาทานํ โธตํ อุทกนิสฺเสกํ ได้แก่ สถานที่รดน้ำแห่ง
เท้าทั้งหลายที่ล้างแล้ว. เอกพจน์ในบทว่า โธตํ พึงทราบในอรรถแห่งพหูพจน์.
อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ปาทานํ โธตอุทกนิสฺเสกํ. ความว่า สถาน
เป็นที่รดน้ำสำหรับล้างเท้าทั้งหลาย.
วินิจฉัยในนานาสังวาสกาทิวัตถุ พึงทราบดังนั้น:-
บทว่า สมานสํวาสกทิฎฺฐึ ได้แก่ ความเห็นว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่น
เหล่านั้น มีสังวาสเสมอกัน.
บทว่า น ปุจฺฉนฺติ ได้แก่ ไม่ถามถึงลัทธิของภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น
คือ ไม่ถามก่อน ทำวัตรและวัตรอาศัย คือวัตรใหญ่น้อยแล้ว ทำอุโบสถร่วมกัน.

1. ฎีกาและโยชนา แก้ คมยติ ว่า โพเธติ โดยนัยนี้ก็แปลว่า ธรรมชาติซึ่งให้รู้. . .

บทว่า นาภิวิตรนฺติ ได้แก่ ไม่สามารถจะย่ำยี คือ ปราบปรามข้อที่
เป็นนานาสังวาสกันได้ อธิบายว่า ให้ภิกษุผู้เข้าถิ่นเหล่านั้นสละทิฏฐินั้นไม่ได้.
ข้อว่า สภิกฺขุกา อาวาสา มีความว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ทำอุโบสถ
มีอยู่ในอาวาสใด ภิกษุไม่อาจ ออกจากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสใดในวันนั้นเที่ยว
อาวาสนั้น ยังไม่ได้ทำอุโบสถ ไม่ควรไป.
สองบทว่า อญฺญตฺร สงฺเฆน ได้แก่ เว้นจากภิกษุทั้งหลายซึ่ง
ครบจำนวนเป็นสงฆ์.
สองบทว่า อญฺญตฺร อนฺตรายา ได้แก่ เว้นอันตราย 10 อย่าง
ที่กล่าวแล้วในหนหลังเสีย. แต่ว่า เมื่อมีอันตราย ก็ควรจะไปกับสงฆ์. มีตน
เป็นที่ 4 หรือมีตนเป็นที่ 5 โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด.
ประเทศแห่งใดแห่งหนึ่ง มีศาลานวกรรมเป็นต้น ชื่ออนาวาส. เหมือน
อย่างว่า อาวาสเป็นต้นภิกษุไม่ควรไป ฉันใด ถ้าภิกษุทั้งหลายทำอุโบสถกัน
ในวัด สีมาก็ดี แม่น้ำก็ดี อันภิกษุไม่ควรไปเพื่ออธิษฐานอุโบสถ ก็ฉะนั้น
แต่ถ้ามีภิกษุบางรูปอยู่ที่สีมาและแม่น้ำนี้ไซร้ จะไปสู่สำนักภิกษุนั้น ควรอยู่.
จะไปเสียจากอาวาส แม้ที่เลิกอุโบสถเสียแล้ว ควรอยู่. ภิกษุผู้ใดไปแล้วอย่าง
นั้น ย่อมได้แม้เพื่ออธิษฐาน อันภิกษุแม้ผู้อยู่ป่า ในวันอุโบสถ เที่ยวบิณฑ-
บาตในบ้านแล้ว ต้องกลับไปวัดของตนเท่านั้น. ถ้าเข้าไปสู่วัดอื่น ต้องทำ
อุโบสถในวัดนั้นก่อน จึงค่อยไป ไม่ทำก่อนแล้วไปเสีย ไม่ควร.
ข้อว่า ยํ ชญฺญา สกฺโกมิ อชฺเชว คนฺตุํ มีความว่า ภิกษุพึง
ทราบซึ่งอาวาสใดว่า เราสามารถไปที่นั่นได้ในวันนี้ทีเดียว อาวาสเห็นปานนั้น
ควรไป. จริงอยู่ ภิกษุนี้แม้ทำอุโบสถกับภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น จักเป็นผู้
ไม่ทำอันตรายแก่อุโบสถเลยทีเดียว ฉะนี้แล.

การเข้าสู่หัตถบาสเท่านั้น เป็นประมาณ ในข้อว่า ภิกฺขุนิยา นิสินฺน-
ปริสาย เป็นอาทิ.
ข้อว่า อญฺญตฺร อวุฏฺฐิตาย ปริสาย มีความว่า จริงอยู่ ขึ้นชื่อ
ว่า การให้ปาริวาสิยปาริสุทธิ ปาริสุทธิที่แรมวัน นี้ย่อมไม่ควร จำเดิมแค่
การที่บริษัทลุกออกไป แต่เมื่อบริษัทยังไม่ลุกออกไป ย่อมควร เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เว้นแค่บริษัทยังไม่ลุกออกไป. ลักษณะ
แห่งปาริวาสิยปาริสุทธินั้น พึงถือเอาจากวรรณนาแห่งปาริวาสิยฉันททานสิก-
ขาบทในภิกขุนีวิภังค์.1
วันที่ไม่ใช่วันอุโบสถนั้น ได้แก่วันอื่น นอกจากวันอุโบสถ 2 วัน
นี้ คือ วันอุโบสถ 14 ค่ำ 1 วันอุโบสถ 15 ค่ำ 1
ข้อว่า อญฺญตฺร สงฺฆสามคฺคียา มีความว่า เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว
สังฆสามัคดีอันใด อันสงฆ์กลับทำได้อีก เหมือนสังฆสามัคคีของภิกษุชาว
โกสัมพี เว้นสังฆสามัคดีเห็นปานนั้น เสีย. ก็แลโนกาลนั้น สงฆ์พึงทำอุโบสถ
สวดว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ อชฺชุโปสโถ สามคฺคี.
อนึ่ง ภิกษุเหล่าใด เมื่อมีภิกษุผู้ทำการทะเลาะวิวาทกันเล็กน้อยไม่สู้
สำคัญ จึงงดอุโบสถไว้แล้ว กลับเป็นผู้พร้อมเพรียงกันอีก อันภิกษุเหล่านั้น
ต้องทำอุโบสถแท้ ฉะนี้แล.
อรรถกถาในวัคคสมัคคสัญญิโนปัณณรสกาทิกถา จบ
อุโบสถกขันธกวรรณนา จบ


1. สมนฺต. ทุติย.

วัสสูปนายิกขันธกะ


เรื่องภิกษุหลายรูป


[205] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ
เวพุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติการจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน คนทั้งหลาย
จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึง
ได้เทียวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอัน
เขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่าง 1 ซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็ก ๆ จำนวนมากให้
ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเป็นผู้กล่าวธรรมอัน
ต่ำทราม ยังพัก ยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่า ก็ยัง
ทำรังบนยอดไม้ และพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบ
ย่าติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียน อินทรีย์อย่าง 1 ซึ่งชีวะ ยังสัตว์เล็ก ๆ
จำนวนมากให้ถึงความวอดวาย ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนา จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย เราอนุญาต ให้จำพรรษา.