เมนู

ภิกษุรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า มิใช่ผมแต่ผู้เดียวที่ต้องอาบัตินี้ ขอรับ
สงฆ์หมู่นี้ล้วนต้องอาบัตินี้ทั้งนั้น.
พระพหูสูตกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปอื่นที่ต้องอาบัติแล้ว หรือมิได้ต้อง
จักช่วยอะไรท่านได้ ขอรับ นิมนต์ท่านออกจากอาบัติของตนเสียเถิด ขอรับ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุนั้นทำคืนอาบัตินั้น ตามคำของพระพหูสูต
แล้ว เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ครั้นแล้วบอกภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง
หลายได้ทราบมาว่า ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุรูปนั้นต้อง
อาบที่ชื่อนี้ พวกท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอรับ จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย ถ้า
ภิกษุเหล่านั้น จะพึงทำคืนอาบัตินั้น ตามคำของภิกษุผู้บอก ทำได้อย่างนี้
นั่นเป็นการดี ถ้าจะไม่พึงทำคืน ภิกษุนั้นไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุ
เหล่านั้น.
โจทนาวัตถุภาณวาร จบ

อรรถกถาวิธีแสดงอาบัติ


คำว่า อิตฺถนฺนามํ อาปตฺตึ มีความว่า บรรดาอาบัติมีอาบัติ
ถุลลัจจัยเป็นต้น พึงระบุชื่ออาบัติตัว 1 กล่าวอย่างนี้ว่า ถุลฺลจฺจยํ อาปตฺตึ,
ปาจิตฺติยํ อาปตฺตึ.

คำว่า ตํ ปฏิเทเสมิ นี้ แม้กล่าวว่า ตํ ตุมฺหมูเล ปฏิเทเสมิ
ข้าพเจ้าแสดงคืน ซึ่งอาบัตินั้น ในสำนักท่าน ดังนี้ ย่อมเป็นอันกล่าวชอบ
เหมือนกัน.

ส่วนคำว่า ปสฺสสิ นี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ปสฺสสิ อาวุโส ตํ
อาปตฺตึ
เธอเห็นอาบัตินั้นหรือ ? ปสฺสถ ภนฺเต ตํ อาปตฺตึ ท่านเห็น
อาบัตินั้นหรือ ?
ก็คำว่า อาม ปสฺสามิ นี้ แม้กล่าวอย่างนี้ว่า อาม ภนฺเต ปสฺสามิ
ขอรับ ข้าพเจ้าเห็น. อาม อาวุโส ปสฺสามิ เออ ข้าพเจ้าเห็น, ย่อม
เป็นอันกล่าวชอบแล้วเหมือนกัน.
ส่วนวินิจฉัยในคำว่า อายตึ สํวเรยฺยาสิ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ถ้าภิกษุผู้แสดงแก่กว่า ภิกษุผู้รับอาบัติพึงกล่าวว่า อายตึ สํวเรยฺยาถ
ท่านพึงระวังต่อไป.
ฝ่ายผู้แสดงได้รับตอบอย่างนั้นแล้ว พึงกล่าวว่า สา สุฏฺฐุ
สํวริสฺสามิ
ดีละ ข้าพเจ้าจักสำรวมด้วยดี ดังนี้ทีเดียว.
วินิจฉัยในข้อว่า ยทา นิพฺเพมติโก นี้ พึงทราบดังนี้
ในอันธกอรรถกถา ท่านแก้ว่า ถ้าเป็นผู้ไม่หมดความสงสัยทีเดียว
แม้จะแสดงระบุวัตถุ ก็ควร วิธีแสดงในอาบัติที่สงสัยนั้นดังนี้:-
เมื่อพระอาทิตย์ถูกเมฆบัง ภิกษุฉันพลางมีความสงสัยว่า นี่จะเป็น
กาลหรือวิกาลหนอ ? ภิกษุนั้น พึงระบุวัตถุอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามี
ความสงสัยฉันแล้ว ถ้ามีกาล ข้าพเจ้าต้องทุกกฏมากหลาย ถ้าไม่มีกาล ข้าพเจ้า
ต้องปาจิตตีย์มากหลาย ดังนี้แล้ว พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติ
เหล่าใด เป็นทุกกฏมากหลายก็ดี เป็นปาจิตตีย์มากหลายก็ดีเพราะวัตถุนั้น
ข้าพเจ้าแสดงอาบัติเหล่านั้นในสำนักท่าน. ในอาบัติทั้งปวงก็นัยนี้.
วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขว สภาคาปตฺติ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุทั้ง 2 รูปต้องอาบัติใดด้วยวัตถุรวมกัน มีวิกาลโภชนะเป็นต้น
อาบัติเห็นปานนั้น ท่านเรียกว่า วัตถุสภาคฝ่ายภิกษุผู้ต้องเพราะวิกาลโภชนะ
เป็นปัจจัย ย่อมควรเพื่อแสดงในสำนัก ของภิกษุผู้ต้องเพราะอนติริตตโภชนะ
เป็นปัจจัย.

อันอาบัติที่มีวัตถุร่วมกันนี้เล่า ซึ่งภิกษุแสดงแล้ว เป็นอันแสดงแล้ว
ด้วยดีทีเดียว, แต่เธอทั้ง 2 ย่อมต้องอาบัติทุกกฏอื่น คือผู้แสดงต้องเพราะเหตุที่
แสดง และผู้รับต้องเพราะเหตุที่รับ อาบัติทุกกฏที่ต้องเพราะแสดงและรับนั้น
เป็นอาบัติมีวัตถุต่างกัน, เพราะฉะนั้น สมควรแสดงกะกันและกันได้.
วินิจฉัยในข้อว่า สามนฺโต ภิกฺขู เอวมสฺส วจนีโย นี้พึงทราบ
ดังนี้:-
ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า พึงบอกภิกษุผู้เป็นสภาคกันเท่านั้น. จริงอยู่
เมื่อบอกแก่ภิกษุผู้เป็นวิสภาคกัน ความบาดหมาง ความทะเลาะและความแตก
แห่งสงฆ์เป็นต้น ย่อมมีได้ เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรบอกแก่เธอ แต่พึงทำ
ความผูกใจว่า เราออกจากที่นี่แล้วจักทำคืน ดังนี้แล้ว ทำอุโบสถเถิด.
อรรถกถาวินิจฉัยในอนาปัตติปัณณรสกะ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า เต น ชานึสุ มีความว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น ไม่รู้ว่าภิกษุ
ทั้งหลายเข้าสีมาแล้ว หรือไม่รู้ว่ากำลังเข้า.
ข้อว่า อถญฺเญ อาวาสิกา ภิกฺขู อาคจฺฉนฺติ มีความว่า ภิกษุ
เจ้าถิ่นพวกอื่น ไปสู่บ้านหรือป่าด้วยกรณียกิจบางอย่างแล้ว มาสู่สถานที่ภิกษุ
เหล่านั้นนั่งแล้ว.
ข้อว่า วคฺคา สมคฺคสญฺญิโน มีความว่า พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่น
ชื่อว่า เป็นวรรค เพราะภิกษุเหล่าอื่นนั้นล่วงล้ำสีมาเข้ามา แต่พวกเธอ ชื่อว่า
เป็นผู้มีความสำคัญว่า พร้อมเพรียงเพราะไม่ทราบข้อที่ภิกษุเหล่าอื่นนั้นล่วงล้ำ
สีมาเข้ามา.

อรรถกถาวินิจฉัยในอนาปัตติปัณณรสกะ จบ

ทำอุโบสถไม่ต้องอาบัติ 15 ข้อ


[191] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุ
เจ้าถิ่นมากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน 4 รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่รู้ว่า
ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มี พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความ
สำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ได้ทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์
เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวน
มากกว่า ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี
พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-
1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุ
เจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน 4 รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวก
เธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็น
ธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำ
อุโบสถ สวดปาติโมกข์ เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์ ขณะนั้น มีภิกษุ
เจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่าภิกษุเหล่าองสวดปาติโมกข์ใหม่
พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.
2. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มี
ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน 4 รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง
พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า
เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำ
อุโบสถสวดปาติโมกข์ เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์ ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่น