เมนู

อรรถกถาอัชเฌสนา


บทว่า อนชฺฌิฏฺฐา ได้แก่ ไม่ได้รับบัญชา หรือไม่ได้รับเชิญ.
ก็ในอัชเฌสนาธิการนี้ การเชิญ เนื่องด้วยภิกษุผู้เชิญแสดงธรรมซึ่ง
สงฆ์สมมติก็มี เนื่องด้วยพระสังฆเถระก็มี. เมื่อภิกษุผู้เชิญแสดงธรรมนั้นไม่มี
ภิกษุเรียนพระสังฆเถระแล้ว หรืออันพระสังฆเถระอัญเชิญแล้ว ย่อมได้เพื่อ
กล่าวธรรม.
พระสังฆเถระเล่า ถ้าในวัดที่อยู่มีพระธรรมถึกมาก, พึงสั่งตามลำดับ
วาระ. ภิกษุผู้ซึ่งท่านสั่งว่าเธอจงสวดธรรม ก็ดี ว่า เธอจงแสดงธรรม ก็ดี ว่า
เธอจงให้ธรรมทาน กีดี พึงกล่าวธรรมได้ทั้ง 3 วิธี แต่ภิกษุผู้ได้รับคำสั่งว่า จง
สวด ย่อมได้เพื่อสวดเท่านั้น ผู้ได้รับคำสั่งว่า จงแสดง ย่อมได้เพื่อแสดง
เท่านั้น ผู้ได้รับคำสั่งว่า จงสวดสรภัญญะ ย่อมได้เพื่อสวดสรภัญญะเท่านั้น.
ฝ่ายพระเถระเล่า ผู้นั่งบนอาสนะสูงกว่า ย่อมไม่ได้เพื่ออัญเชิญ. ถ้า
พระสังฆเถระเป็นอุปัชฌาย์ และพระธรรมกถึกเป็นสัทธิวิหาริก และพระ-
อุปัชฌาย์นั่งบนอาสนะสูง สั่งสัทธิวิหาริกนั้นว่าเธอจงสวด. พึงตั้งใจสาธยาย.
แล้วสวดเถิด. แต่ถ้าในสำนักอุปัชฌาย์นี้ มีภิกษุหนุ่มมาก, พึงตั้งใจว่า เราสวด
แก่ภิกษุเหล่านั้น แล้วสวดเถิด.
ถ้าพระสังฆเถระในวัดที่อยู่ให้สวดแต่นิสิตของตนเท่านั้น ไม่อัญเชิญ
ภิกษุเหล่าอื่นที่สวดไพเราะบ้าง ภิกษุเหล่าอื่นพึงเรียนท่านว่า ท่านผู้เจริญ
พวกผมขอให้ภิกษุชื่อโน้นสวด. ถ้าท่านตอบ สวดเถิด หรือท่านนิ่งเสีย สมควร
ให้สวดได้. แต่ถ้าท่าห้าม ไม่ควรให้สวด.
หากว่า เริ่ม ธรรมสวนะ แต่เมื่อพระสังฆเถระยังมิได้มา. เมื่อท่าน
มากลางคัน กิจที่จะต้องหยุดขอโอกาส ไม่มี.

อนึ่ง เมื่อสวดแล้วจะอธิบายเนื้อความ พึงขอโอกาสท่านแล้ว จึง
อธิบายก็ได้. ไม่หยุดเลยอธิบายทีเดียวก็ได้ แม้ในพระสังฆเถระผู้มากลางคัน
เมื่อกำลังอธิบายก็มีนัยเหมือนกัน. ถึงในอุปนิสินนกถาพระสังฆเถระเป็นเจ้าของ,
เพราะฉะนั้น พระสังฆเถระนั้นพึงกล่าวเอง, หรือสั่งภิกษุอื่นว่า เธอจงกล่าว
ก็แลพระเถระนั่งสูงกว่าไม่ควรสั่ง. แต่ว่าจะสั่งแก่มนุษย์ทั้งหลายว่า ท่านจง
กล่าว ควรอยู่ชนทั้งหลายถามภิกษุผู้รู้จักตน ภิกษุนั้นพึงขอโอกาสพระเถระ
ก่อนจึงค่อยตอบ. ถ้าพระเถระได้รับตอบว่า ท่านผู้เจริญ ชนเหล่านี้ ถามปัญหา
กะผม ดังนี้แล้ว สั่งว่า ตอบเถิดก็ดี นิ่งเสียก็ดี จะตอบก็ควร.
แม้ในการอนุโมทนาเป็นต้น ในละแวกบ้าน ก็นัยนี้แล ถ้าว่าพระสังฆ
เถระอนุญาตว่าเธอพึงกล่าวในวัดที่อยู่หรือในละแวกบ้านเถิด ไม่ต้องบอกเล่าฉัน
ละ เป็นอันได้ข้ออ้าง, สมควรกล่าวได้ในที่ทั้งปวง. แม้เมื่อจะทำการสาธยาย
เล่า ก็ต้องขอโอกาสพระเถระเหมือนกัน. เมื่อขอโอกาสองค์ 1 แล้วกำลัง
สาธยาย องค์อื่นมาอีก กิจที่จะต้องขอโอกาสอีก ย่อมไม่มี. หากว่า เมื่อผูก
ใจว่าเราจักพัก แล้ว หยุดอยู่ พระเถระมา, เมื่อเริ่มอีกต้องขอโอกาส แม้เมื่อ
กำลังสาธยายธรรมที่ตนเริ่มไว้แล้ว แต่เมื่อพระสังฆเถระยังมิได้มา ก็นัยนี้แล.
พระสังฆเถระองค์ 1 อนุญาตแล้วว่า ไม่ต้องขอโอกาสฉันละ ท่องตามสบาย
เถิด ดังนี้ สมควรสาธยายตามสบาย แต่เมื่อพระสังฆเถระองค์อื่นมา ต้อง
ขอโอกาสท่านก่อนจึงสาธยาย.
ข้อว่า อตฺตนา วา1 อตฺตานํ สมฺมนฺนิตพฺพํ มีความว่า พึง
สมมติตนด้วยตนเองก็ได้. แต่เมื่อจะถาม ต้องแลดูบริษัท ถ้าอุปัทวะไม่มีแก่
ตน, พึงถามวินัย

1. พระบาลีวินัยเป็น อตฺตนา ว. แต่อตฺตนา วา น่าจะถูกกว่า.

ข้อว่า กเตปิ โอกาเส ปุคฺคลํ ตุลยิตฺวา มีความว่า เราตถาคต
อนุญาตให้ภิกษุ แม้เมื่อตนขอโอกาสแล้ว ต้องพิจารณาอย่างนี้ว่า อุปัทวะจาก
บุคคลนี้ จะมีแก่เรา หรือไม่มีหนอ ? ดังนี้ แล้วจึงโจทด้วยอาบัติ.
ข้อว่า ปุคฺคลํ ตฺลยิตฺวา โอกาสํ กาตุํ มีความว่า เราตถาคต
อนุญาตให้ภิกษุพิจารณาอย่างนี้ว่า ผู้นี้จะกล่าวอาบัติเฉพาะที่เป็นจริงเท่านั้น
หรือจะกล่าวที่ไม่เป็นจริงหนอ ดังนี้แล้ว จึงต่อยให้โอกาส.
บทว่า ปุรมฺหากํ ได้แก่เราทั้งหลาย . . . ก่อน.
บทว่า ปฏิกจฺเจว ได้แก่ ก่อนกว่าทีเดียว. กรรมไม่เป็นธรรมมี
นัยดังกล่าวแล้วนั่น แล.
บทว่า ปฏิกฺโกสิตุํ ไค้แก่ เพื่อห้าม.
ข้อว่า ทิฏฺฐิมฺปิ อาวิกาตุํ มีความว่า เราตถาคตอนุญาตให้ภิกษุ
ประกาศความเห็นของตน ในสำนักภิกษุอื่นอย่างนี้ว่า กรรมนี้ ไม่เป็นธรรม
นั่นไม่ชอบใจข้าพเจ้า.
คำว่า 4 รูป 5 รูป เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อต้องการ
มิให้มีอันตรายแก่ภิกษุเหล่านั้น.
ข้อว่า สญฺจิจฺจ น สาเวนฺติ มีความว่า แกล้งสวดค่อย ๆ ด้วย
ตั้งใจว่า ภิกษุเหล่าอื่นจะไม่ได้ยินด้วยประการใด เราจักสวดด้วยประการนั้น.
บทว่า เถราธิกํ มีความว่า เราตถาคตอนุญาตปาติโมกข์ ให้มีพระ
เถระเป็นใหญ่ อธิบายว่า เพื่อเป็นกิจ เนื่องด้วยพระเถระ.
บาลีว่า เถราเธยฺยํ ก็มี แปลว่า ให้มีพระเถระเป็นเจ้าหน้าที่. เพราะ
เหตุนั้น พระเถระพึงสวดเองก็ได้ พึงเชิญภิกษุอื่นก็ได้.
ในอธิการว่าด้วยการอัญเชิญปาติโมกข์นี้ วิธีเชิญ มีนัยดังกล่าวแล้ว
ในการอัญเชิญธรรมนั่นแล.

หน้าที่สวดปาติโมกข์


[175] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกโดยมรรคาอันจะไปเมืองโจทนาวัตถุ เสด็จ
จาริกโดยลำดับ ลุถึงเมืองโจทนาวัตถุแล้ว ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่ง
หนึ่งมีภิกษุอยู่ด้วยกันมากรูป บรรดาภิกษุเหล่านั้น พระเถระเป็นผู้เขลา ไม่
ฉลาด ท่านไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติ
โมกข์ จึงภิกษุเหล่านั้นติดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วว่า
ปาติโมกข์เป็นหน้าที่ของพระเถระ ก็พระเถระของพวกเรารูปนี้เป็นผู้เขลา ไม่
ฉลาด ไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถไม่รู้ปาติโมกข์หรือวิธีสวดปาติโมกข์พวก
เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ
เหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้ฉลาด สามารถ เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่
ของภิกษุรูปนั้น.

ส่งภิกษุไปศึกษาปาติโมกข์


[176] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุ
อยู่ด้วยกันมากรูป ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธี
ทำอุโบสถไม่รู้ปาติโมกข์หรือวิธีสวดปาติโมกข์ พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระว่า
ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ขอรับ ท่านตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เรา
สวดปาติโมกข์ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ 2 ว่า ขอพระ-
เถระจงสวดปาติโมกข์ขอรับแม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวด