เมนู

9. ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต.
10. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไห้สวดปาติโมกข์ย่อในเพราะอันตราย
เห็นปานนี้ เมื่อไม่มีอันตราย ให้สวดโดยพิสดาร.

อรรถกถาปาติโมกขุทเทส


ข้อว่า นิทานํ อุทฺทิสิตฺวา อวเสสํ สุเตน สาเวตพฺพํ มีความว่า
ครั้นสวดนิทานนี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ ฯปฯ อาวิกตา หิสฺส
ผาสุ โหติ
แล้ว พึงกล่าวว่า อุทฺทิฏฺฐํ โข อายสฺมนฺโต นิทานํ. ตตฺถา-
ยสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ. กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ? ทุติยมฺปิ ปุจฺฉามิ ฯปฯ
เอวเมตํ ธารยามิ1
แล้วพึงสวด 4 อุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท อย่างนี้ว่า สุตา
โขุ ปนายุสฺมนฺเตหิ จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา ฯปฯ อวิวทมา-
เนหิ สิกขิตพฺพํ.
ปาฏิโมกขุทเทส 4 ที่เหลือ พึงทราบตามนัยนี้.
สัญจรภัยนั้น ได้แก่ ภัยเกิดแก่มนุษย์ผู้ท่องเที่ยวไปในดง.
วินิจฉัยในอันตราย 10 คือ ราชันตรายเป็นอาทิ. ถ้าเมื่อภิกษุทั้งหลาย
คิดว่า เราจักทำอุโบสถ นั่งประชุมกันแล้ว พระราชาเสด็จมา นี้ชื่อว่าราชัน-
ตราย. พวกโจรพากันมา นี้ชื่อโจรันตราย. ไฟป่าลามมา หรือไฟเกิดขึ้นใน
อาวาส นี้ชื่ออัคคยันตราย. ฝนตกหรือน้ำหลากมา นี้ชื่ออุทกันตราย. มนุษย์
มากันมาก นี้ชื่อมนุสสันตราย. ผีเข้าภิกษุ นี้ชื่ออมนุสสันคราย. สัตว์ร้ายมี
เสือเป็นต้น เข้ามา นี้ชื่อวาฬันคราย. สัตว์พิษมีงูเป็นต้น กัดภิกษุ นี้ชื่อสิรึส-
ปันตราย. ภิกษุอาพาธ หรือทำกาลกิริยา หรือพวกคนมีเวรกัน ปองจะฆ่า

1. นิทานุทเทส ไม่น่าจะต้องถาม ดูอธิบายในวินัยมุขเล่ม 2 กัณฑ์ที่ 17.