เมนู

ถ้าน้ำลึก จะผูกร้านแล้วตั้งอยู่บนร้านนั้นก็ดี ตั้งอยู่บนร้านที่ผูกไว้บนต้นไม้ที่
เกิดภายในชาตสระก็ดี กระทำกรรมย่อมควร.
ส่วนวินิจฉัยในศิลาดาดและเกาะ ในชาตสระนี้ เป็นเช่นกับที่กล่าว
แล้ว ในแม่น้ำนั่นเอง. อนึ่ง ชาตสระที่มีน้ำพอใช้ ในกาลที่ฝนตกเสมอ. แม้
หากว่า ในคราวฝนแล้งหรือฤดูร้อนและฤดูหนาวจะแห้ง ไม่มีน้ำ, จะทำสังฆ-
กรรมในชาตสระนั่น ก็ควร.
ไม่ควรเชื่อถือคำที่ท่านกล่าวไว้ในอันธกอรรถกถาว่า ชาตสระทั้งปวง
ที่แห้งไม่มีน้ำ ย่อมจัดเข้าเป็นคามเขตไป แต่ถ้าชนทั้งหลาย ขุดบ่อหรือสระ
โบกขรณีเป็นต้น เพื่อต้องการน้ำ ในชาตสระนี้ สถานนั้น ไม่เป็นชาตสระ.
นับเป็นคามสีมา แม้ในการปลูกน้ำเต้าและแตงโมเป็นต้น ที่เขาทำ ในชาตสระ
นั้น ก็มีนัยเหมือนกัน.
อนึ่ง ถ้าชนทั้งหลายถมชาตสระนั้นให้เต็น ทำให้เป็นบกก็ดี ก่อคัน
ในทิสาภาคอันหนึ่ง ทำชาตสระนั้นทั้งหมดทีเดียวให้เป็นบึงใหญ่ก็ดี ไม่เป็น
ชาตสระแม้ทั้งหมด, นับเป็นคามสีมานั่นเอง. ถึงทะเลสาบ ก็จัดเป็นชาตสระ
เหมือนกัน. จะทำกรรมในโอกาสเป็นที่ขังน้ำตลอด 4 เดือนฤดูฝน ควรอยู่
ฉะนี้แล,
อรรถกถาอุทกุกเขปสีมา จบ

อรรถกถาสีมาสัมเภท


ข้อว่า สีมาย สีมํ สมฺภินฺทนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ผูกสีมาของตนคาบเกี่ยวพัทธสีมาของภิกษุเหล่าอื่น. ก็ถ้าว่าในทิศตะวันออกแห่ง
วัดที่อยู่เก่า มีต้นไม้ 2 ต้น คือ มะม่วงต้น 1 หว้าต้น 1 มีค่าคบพาด

เกี่ยวกัน, ในต้นมะม่วงและต้นหว้านั้น ต้นหว้าอยู่ทางทิศตะวันตกของต้นมะม่วง
และวัดที่อยู่มีสีมา เป็นแดนที่ภิกษุกันเอาต้นหว้าไว้ข้างใน กำหนดต้นมะม่วง
เป็นนิมิตผูกไว้ หากว่าภายหลังภิกษุทั้งหลายจะผูกสีมาทำวัดที่อยู่ในทิศตะวันออก
แห่งวัดที่อยู่นั้น จึงกันเอาต้นมะม่วงไว้ภายในกำหนด ต้นหว้าเป็นนิมิตผูกไซร้,
สีมากับสีมา ย่อมคาบเกี่ยวกัน. พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้กระทำอย่างนี้.
เพราะเหตุนี้ พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า สีมาย สีมํ สมฺภินฺทนฺติ
แปลว่า เจือสีมาด้วยสีมา.
ข้อว่า สีมาย สีมํ อชฺโฌตฺถรนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ทับพัทธสีมาของภิกษุเหล่าอื่น ด้วยสีมาของตน คือผูกสีมาของตน เอาพัทธ-
สีมาของภิกษุเหล่าอื่น ทั้งหมด หรือบางตอนแห่งพัทธสีมานั้นไว้ภายไม่ สีมา
ของตน.
ในข้อว่า สีมนฺตริกํ ฐเปตฺวา สีมํ สมฺมนฺนิตุํ นี้ มีวินิจฉัยว่า หาก
สีมาแห่งวิหารที่ทำไว้ก่อนแดนที่มิได้สมมติ พึงเว้นอุปจารแห่งสีมาไว้. หาก
เป็นแดนที่สมมติ พึงเว้นสีมันตริกไว้ประมาณศอก 1 โดยกำหนดอย่างต่ำ
ที่สุด.
ในกุรุนทีแก้ว่า แม้เพียงคืบเดียวก็ควร. ในมหาปัจจรีแก้ว่า แม้เพียง
8 นิ้วก็ควร.
อนึ่ง แม้ต้นไม้ต้นเดียวเป็นนิมิตแห่ง 2 สีมา และต้นไม้นั้น เมื่อโต
ขึ้น ย่อมทำสีมาให้สังกระกัน; เพราะเหตุนั้น ไม่ควรทำ.
อรรกถาสีมาสัมเภท จบ

วันอุโบสถมี 2


[166] ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า วันอุโบสถมีเท่าไร
หนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถนี้มี 2 คือ อุโบสถมีใน
วัน 14 ค่ำ อุโบสถมีในวัน 15 ค่ำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถ 2 นี้แล.

การทำอุโบสถมี 4 อย่าง


ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า การทำอุโบสถมีเท่าไร
หนอแล แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ
สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำอุโบสถนี้มี 4 คือ การทำ
อุโบสถเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม 1 การทำอุโบสถพร้อมเพียงโดยไม่เป็นธรรม
1 การทำอุโบสถเป็นวรรคโดยธรรม 1 การทำอุโบสถพร้อมเพียงโดยธรรม 1
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ในการทำอุโบสถ 4 อย่างนั้น การทำอุโบสถนี้
ใดเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม การทำอุโบสถเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเรา
ก็ไม่อนุญาต.
ในการทำอุโบสถ 4 นั้น การทำอุโบสถนี้ใด ที่พร้อมเพรียงโดยไม่
เป็นธรรม การทำอุโบสถเห็นปานนั้นไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.
ในการทำอุโบสถ 4 นั้น การทำอุโบสถนี้ใด เป็นวรรคโดยธรรม
การทำอุโบสถเห็นปานนั้นไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.
ในการทำอุโบสถ 4 นั้น การทำอุโบสถนี้ใดที่พร้อมเพรียงโดยธรรม
การทำอุโบสถเห็นปานนั้นควรทำ และเราก็อนุญาต.