เมนู

ภิกษุทั้งหลายย่อมถอนสีมาด้วยเหตุ 2 ประการ คือ เพื่อจะทำสีมาที่
เล็กตามปกติให้ใหญ่ขึ้นอีก เพื่อประโยชน์แก่การขยายอาวาสออกไปบ้าง. เพื่อ
จะร่นสีมาที่ใหญ่โดยปกติให้เล็กลงอีก เพื่อประโยชน์แก่การให้โอกาสแห่งวิหาร
แก่ภิกษุเหล่าอื่นบ้าง.
บรรดาสีมา 2 ชนิดนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายรู้จักทั้งขัณฑสีมาและอวิป-
ปวาสสีมาไซร้ เธอจักอาจเพื่อจะถอน และเพื่อจะผูก. อนึ่งรู้จักขัณฑสีมา แม้
ไม่รู้จักอวิปปวาสสีมา จักอาจเพื่อจะถอน และเพื่อจะผูก. ไม่รู้จักขัณฑสีมา
รู้จักแต่อวิปปวาสสีมาเท่านั้น จักยืนอยู่ในที่ซึ่งปราศจากความรังเกียจ มีลาน
เจดีย์ ลานโพธิ์ และโรงอุโบสถเป็นต้นแล้ว บางที่ก็อาจเพื่อจะถอนได้. แต่
จักไม่อาจเพื่อจะผูกคืนได้เลย. หากจะพึงผูกไซร้. จะพึงกระทำความคาบเกี่ยว
แห่งสีมา กระทำวัดที่อยู่ให้ใช้ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ไม่รู้จัก ไม่พึงถอน.
ฝ่ายภิกษุเหล่าใดไม่รู้จักทั้ง 2 สีมา, ภิกษุเหล่านั้น จักไม่อาจเพื่อจะถอน จัก
ไม่อาจเพื่อจะผูกเป็นแท้. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าสีมานี้ ย่อมไม่เป็นสีมาด้วยกรรม-
วาจาบ้าง ด้วยความสาบสูญแห่งศาสนาบ้าง และภิกษุทั้งหลายผู้ไม่รู้จักสีมา. ไม่
สามารถทำกรรมวาจา เพราะฉะนั้นภิกษุผู้ไม่รู้จักสีมา ไม่พึงถอนสีมา. อัน
สีมานั้น อันภิกษุผู้รู้จักดีเท่านั้น พึงถอนด้วย พึงผูกด้วย.
อรรถกถาวิธีถอนสีมา จบ

อรรถกถาอพัทธสีมา


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสมานสังวาสและความเป็นผู้มี
อุโบสถอันเดียวกัน เนื่องด้วยพัทธสีมาอย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงสมาน
สังวาส และความเป็นผู้มีอุโบสถอันเดียวกันนั้นในโอกาสทั้งหลาย แม้ที่มิได้
ผูกสีมา จึงตรัสดำว่า อสมฺมตาย ภิกฺขเว สีมาย อฏฺฐปิตาย เป็นอาที.

วินิจฉัยในคำนั้น บทว่า อฏฺฐปิตาย ได้แก่ ไม่ได้กำหนด. ก็แม้นคร
ย่อมเป็นอันทรงถือเอาแล้วทีเดียว ด้วย คาม ศัพท์ ในคำว่า คามํ วา นิคมํ
วา
นี้.
บรรดาคามสีมาและนิคมสีมานั้น ท่านผู้ครองบ้านนั้น ย่อมได้พลีใน
ประเทศเท่าใด ประเทศเท่านั้น จะเล็กหรือใหญ่ก็ตามที ย่อมถึงความนับว่า
คามสีมา ทั้งนั้น. แม้ในนครสีมาและนิคมสีมา ก็นัยนี้แล.
พระราชาทรงกำหนดประเทศอันหนึ่งแม้ใด ในคามเขตอันหนึ่งเท่านั้น
ว่า นี้จงเป็นวิสุงคาม พระราชทานแก่บุคคลบางคน ประเทศแม้นั้น ย่อมเป็น
วิสุงคามสีมาแท้. เพราะเหตุนั้น วิสุงคามสีมานั้นด้วย คามสีมา นครสีมา
และนิคมสีมาตามปกตินอกนี้ด้วย ย่อมเป็นเช่นกับพัทธสีนาเหมือนกัน. แต่
สีมาเหล่านี้ไม่ได้ความคุ้มครองการอยู่ปราศจากไตรจีวรอย่างเดียว.
อรรถกถาอพัทธสีมา จบ

อรรถกถาสัตตัพภันตรสีมา


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกำหนดสิมาแก่ภิกษุผู้มักอยู่ในละ-
แวกบ้านอย่างผู้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงแม้แก่ภิกษุผู้มักอยู่ป่า จึงตรัสคำว่า
อคามเก เจ เป็นอาทิ.
วินิจฉัยในคำนั้น บทว่า อาคามเก เจ ได้แก่ ประเทศแห่งคงที่ไม่
ได้กำหนดด้วยคามสีมา นิคมสีมา และนครสีมา.
อีกประการหนึ่ง บทว่า อคามเก เจ มีความว่า ภิกษุย่อมอยู่ใน
ป่าเช่นดังดงชื่อวิชฌาฏวี, ครั้งนั้น 7 อัพภันตรโดยรอบจากโอกาสที่ภิกษุนั้นยืน
เป็นสมานสังวาสกสีมา. สีมานี้ย่อมได้ความคุ้มการอยู่ปราศจากไตรจีวรด้วย.