เมนู

อรรถกถทีปารสีมา


วินิจฉัยในบทว่า นทีปารํ นี้ต่อไป:-
ที่ว่า ฝั่ง เพราะเหตุว่า กั้นไว้, ถามว่า กั้นอะไร ? ตอบว่ากั้นแม่น้ำ
ฝั่งแห่งแม่น้ำ ชื่อนทีปารา ความว่า ซึ่งสีมาตรอบฝั่งแม่น้ำนั้น.1 ก็ลักษณะ
แห่งแม่น้ำ ในบทว่า นทีปารํ นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในนทีนิมิตนั่น เอง.
ข้อว่า ยตฺถสฺส ธุวนาวา วา มีความว่า ในแม่น้ำใด มีเรือสัญจร
ื้ไปมาเป็นนิจ ที่ท่าทั้งหลายอันยังเป็นสถานที่ผูกสีมา, เรือใด โดยกำหนด
อย่างเล็กที่สุด พอพาคนไปได้ 3 คนทั้งคนพาย ก็ถ้าเรือนั้น เขานำไปข้าง
เหนือหรือข้างใต้ ด้วยกรณียกิจเฉพาะบางอย่างเพื่อต้องการจะกลับมาอีกก็ดี
ถูกพวกขโมยลักไป แต่พึงได้คืนเป็นแน่ก็ดี อนึ่ง เรือใด ถูกพายุเชือกขาด
คลื่นซัดออกไปกลางแม่น้ำ พึงนำกลับคืนมาได้แน่นอนก็ดี เรือนั้น ย่อมเป็น
ธุวนาวาอีกเทียว. เรือเขาเข็นขึ้นบกไว้ในเมื่อน้ำลงงวดก็ดี เรือที่เขาเอาสิ่งของ
เป็นต้นว่า ปูนขาวและน้ำเชื้อบรรทุกเต็มจอดไว้ก็ดี จัดเป็นธุวนาวาได้. ถ้า
เป็นเรือแตก หรือมีแนวกระดานครากออก ย่อมไม่ควร. แต่พระมหาปทุมัต
เถระกล่าวว่า แม้หากว่า ภิกษุทั้งหลายยืมเรือมาชั่วคราว จอดไว้ในที่ผูกสีมา
แล้ว กำหนดนิมิต เรือนั้นจัด เป็นธุวนาวาเหมือนกัน.

1. ฎีกาและโยชนา แก้ปารยติว่า อชฺโฌตฺถรติ และว่าที่เป็นปารา มิใช่ปารํ เอาฝั่ง
โน้น ก็เพราะเพ่งเอาสีมาศัพท์ ดังนั้นน่าจะแปลว่า สีมาชื่อว่า คร่อม ก็เพราะย่อมคร่อม ถามว่า
ย่อมคร่อมอะไร ? ตอบว่า ย่อมคร่อมแม่น้ำ. สีมาคร่อมแม่น้ำ ชื่อนทีปารสีมา. ซึ่งนทีปารสีมานั้น.
อธิบายว่า ซึ่งสีมาอันคร่อมแม่น้ำอยู่. อนึ่งบาลีตรงนี้เป็น นทีปารสีมํ แต่ ยุ. และสี. เป็น
นทีปารํ สีมํ อย่างในอรรถกถา.

ในบทว่า ธุวนาวา นั้น พระมหาสุมัตเถระแก้ว่า นิมิตก็ดีสีมาก็ดี
ย่อมไปด้วยกรรมวาจา หาได้ไปด้วยเรือไม่, แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
ธุวนาวาไว้, เพราะฉะนั้น ต้องเป็นเรือประจำแท้ ๆ จึงจะสมควร.
ข้อว่า ธุวเสตุ วา มีความว่า แม่น้ำใด มีสะพานสำหรับพวกคน
เดินเท้า ซึ่งทำเสร็จด้วยไม้ขนานกัน หรือเรียบด้วยแผ่นกระดานก็ดี มีสะพาน
ใหญ่ควรแก่การสัญจรแห่งสัตว์พาหนะ มีช้างและม้าเป็นต้นก็ดี ชั้นที่สุด แม้
สะพานที่พอเดินไปได้คนเดียว ซึ่งเขาตัดไม้ประกอบพอเป็นทางสัญจรของ
มนุษย์ทั้งหลาย ในขณะนั้นเองย่อมนับว่า สะพานถาวร เหมือนกัน. แต่ถ้า
แม้เอามือยืดหวายและเถาวัลย์เป็นต้น ที่ผูกไว้ข้างบนแล้ว ยังไม่อาจได้ข้ามไป
โดยสะพานนั้นได้, เราควร.
ข้อว่า เอวรูปํ นทีปารสีมํ สมฺมนฺนิตุํ มีความว่า ในแม่น้ำได
มีเรือประจำหรือสะพานถาวรมีประการดังกล่าวแล้วนี้ ที่ท่าตรงกันนั้นเอง เรา
อนุญาตให้สมมตินทีปารสีมาเห็นปานนั้นในแม่น้ำนั้นได้. ถ้าเรือประจำก็ดี
สะพานถาวรก็ดี ไม่มีที่ท่าตรงกัน ขึ้นไปข้างบนหรือลงไปข้างล่างหน่อยหนึ่ง
จึงมี แม้อย่างนี้ ก็ควร. แต่พระกรวิกติสสเถระกล่าวว่า แม้ในระยะเพียง
คาวุตหนึ่ง มีเรือประจำหรือสะพานถาวร ก็ควร.
ก็แล เมื่อภิกษุจะสมมตินทีปารสีมานี้ พึงยืนที่ฝั่งหนึ่ง กำหนดนิมิต
ที่ฝั่งแม่น้ำทางเหนือน้ำ แล้ววนไปรอบตัวตั้งแต่นิมิตนั้น พึงกำหนดนิมิตที่
ฝั่งแม่น้ำทางใต้น้ำ ในที่สุดแห่งแดนกำหนดเท่าที่ต้องการแล้ว กำหนดนิมิต
ที่ฝั่งแม่น้ำ ในที่ซึ่งตรงข้ามกับฝั่งโน้น . ตั้งแต่นั้นไป พึงกำหนดเรื่อยไปจน
ถึงนิมิตที่ฝั่งแม่น้ำ ซึ่งตรงกับนิมิตที่กำหนดไว้เป็นที่หนึ่งทางเหนือน้ำ ด้วย
อำนาจแดนกำหนดเท่าที่ต้องการ แล้วกลับมาเชื่อมกับนิมิตที่กำหนดไว้เป็นที่

หนึ่ง. ลำดับนั้นพึงให้ภิกษุทั้งหลายซึ่งสถิตอยู่ภายในนิมิตทั้งปวงเข้าหัตถบาส
แล้วสมมติสีมาด้วยกรรมวาจา ภิกษุผู้สถิตอยู่ในแม่น้ำ แม้ไม่มา ก็ไม่ทำให้
เสียกรรม. ในขณะที่สมมติเสร็จ เว้นแม่น้ำเสีย ร่วมในแห่งนิมิตทั้งหลาย
ย่อมเป็นสีมาอันเดียวกัน ทั้งฝั่งนอกและฝั่งใน. ส่วนแม่น้ำ ไม่นับว่าเป็น
พัทธสีมา เพราะว่า แม่น้ำนั่น เป็นนทีสีมาแผนกหนึ่งแล้ว. หากว่า ภายใน
แม่น้ำ มีเกาะ ปรารถนาจะทำเกาะนั้นไว้ภายในสีมา พึงกำหนดนิมิตทั้งหลาย
ที่ฝั่งซึ่งตนสถิตอยู่ตามนัยก่อนนั่นแล แล้วกำหนดนิมิตที่ท้ายเกาะทั้งฝั่งนี้และ
ฝั่งโน้น ลำดับนั้น พึงกำหนดนิมิตที่ฝั่งโน้น ในที่ซึ่งตรงกันข้ามกับนิมิตที่ฝั่ง
นี้แห่งแม่น้ำ ตั้งแต่นั้นไป พึงกำหนดเรื่อยไปจนถึงนิมิต ซึ่งตรงกับนิมิตที่
กำหนดไว้เป็นที่หนึ่งทางเหนือน้ำ ตามนัยก่อนนั่นแล ลำดับนั้นพึงกำหนดนิมิต
ที่ท้ายเกาะทั้งฝั่งโน้น และฝั่งนี้ แล้วกลับมาเชื่อมกับนิมิตที่กำหนดไว้เป็นที่หนึ่ง
ลำดับนั้น พึงให้ภิกษุทั้งหลายที่ฝั่งทั้ง 2 และที่เกาะเข้าหัตถบาสกันทั้งหมด
แล้วสมมติสีมาด้วยกรรมวาจา.
ภิกษุผู้สถิตอยู่ในแม่น้ำ แม้ไม่มา ก็ไม่ทำให้เสียกรรม. ในขณะที่
สมมติเสร็จ เว้นแม่น้ำเสียร่วมในแห่งนิมิตทั้งหลาย ทั้ง 2 ฝั่ง แม่น้ำ ทั้ง
เกาะ ย่อมเป็นสีมาอันเดียวกัน. ส่วนแม่น้ำคงเป็นนทีสีมา. ก็แล ถ้าเกาะยาว
เกินกว่าแดนกำหนดสีมาแห่งวัดที่อยู่ไปทางเหนือน้ำ หรือทางใต้น้ำ เมื่อเป็น
เช่นนั้น พึงกำหนดนิมิตท้ายเกาะฝั่งใน ซึ่งตรงกันกับนิมิตแห่งแดนกำหนดสีมา
ตั้งแต่นั้นไป เมื่อจะโอบรอบหัวเกาะ ต้องกำหนดนิมิตท้ายเกาะฝั่งนอก ซึ่ง
ตรงกันข้ามกับนิมิตท้ายเกาะฝั่งในอีก. ต่อจากนั้นไป พึงเริ่มต้นแต่นิมิตที่ตรง
กันข้ามที่ฝั่งโน้น กำหนดนิมิตที่ฝั่งโน้น และนิมิตท้ายเกาะทั้งฝั่งนอกและฝั่งใน
เสร็จ ตามนัยก่อนนั่นแล แล้ว จึงทำการเชื่อมกับนิมิตที่กำหนดไว้เป็นที่หนึ่ง.

สีมาที่กำหนดนิมิตสมมติอย่างนี้ย่อมมีสัณฐานดังภูเขา. แต่ถ้าเกาะยาวเกินกว่า
แดนกำหนดสีมาแห่งวิหาร ทั้งเหนือน้ำ ทั้งใต้น้ำไซร้, เมื่อกำหนดนิมิตโอบรอบ
หัวเกาะทั้ง 2 ตามนัยก่อนนั่นแล แล้ว จึงทำการเชื่อมนิมิต. สีมาที่กำหนด
สมมติอย่างนี้ ย่อมมีสัณฐานดังตะโพน. ถ้าเป็นเกาะเล็กอยู่ภายในแห่งแดน
กำหนดสีมาวิหาร พึงกำหนดนิมิตทั้งหลายตาม นัยแรกแห่งนัยทั้งปวง. สีมา
ที่กำหนดสมมติอย่างนั้น ย่อมมีสัณฐานดังบัณเฑาะว์.
บทว่า อนุปริเวณิยํ ได้แก่ บริเวณนั้น ๆ ในวัดที่อยู่แห่งหนึ่ง.
บทว่า อสงฺเถเตน ได้แก่ ไม่ทำที่สังเกตไว้.
สองบทว่า เอกํ สมูหนิตฺวา ได้แก่ ถอนเสียด้วยกรรมวาจา.
ข้อว่า ยโต ปาฏิโมกฺขํ สุณาติ มีความว่า ภิกษุนั่งในหัตถบาส
ของภิกษุทั้งหลายฟังปาติโมกข์อยู่ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น อุโบสถเป็น
อันเธอกระทำแล้วแท้.
ก็คำว่า ยโต ปาฏิโมกฺขํ สุณาติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
เนื่องกับเรื่อง. ถึงเมื่อภิกษุนั่งแล้วในหัตถบาส แม้ไม่ฟังอุโบสถก็เป็นอัน
ทำแล้ว.
ข้อว่า นิมิตฺต กิตฺเตตพฺพา มีความว่า จะกำหนดนิมิตชนิดใด
ชนิดหนึ่ง มีศิลา อิฐ ท่อนไม้และหลักเป็นต้น เล็กก็ดี ใหญ่ก็ดี ทำให้เป็น
เครื่องหมายแห่งหน้ามุขอุโบสถ ไว้กลางแจ้งหรือในที่ใดที่หนึ่ง มีโรงกลมเป็น
ต้น ย่อมควร.
อีกอย่างหนึ่ง ข้อว่า นิมิตฺตา กิตฺเตตพฺพา มีความว่า พึงกำหนด
วัตถุทั้งหลายที่ใช้เป็นนิมิตได้ก็ตาม ที่ใช้เป็นนิมิตไม่ได้ก็ตาม เป็นนิมิตเพื่อรู้
แดนกำหนด.

ในข้อว่า เถเรหิ ภิกฺขูหิ ปฐมตรํ สนฺนิปติตุํ นี้ มีวินิจฉัยว่า
หากว่า พระมหาเถระไม่มาก่อน ท่านก็ต้องทุกกฏ.
ในข้อว่า สพฺเพเหว เอกชฺฌํ สนฺนิปติตฺวา อุโปสโถ กาตพฺโพ
นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าอาวาสเก่า มีอยู่ท่ามกลางวัดที่อยู่. และในอาวาสเก่านี้ มี
ที่นั่งพอแก่ภิกษุทั้งหลาย พึงประชุมกันทำอุโบสถในอาวาสนั้น. ถ้าอาวาสเก่า
ทั้งทรุดโทรมทั้งคับแคบ อาวาสอื่นที่สร้างทีหลังไม่คับแคบ พึงทำอุโบสถใน
อาวาสนั้น.
แม้ในข้อว่า ยตฺถ วา ปน เถโร ภิกฺขุ วิหรติ นี้ มีวินิจฉัย
ว่า ถ้าวัดที่อยู่ของพระเถระพอแก่ภิกษุทั้งปวงเป็นที่สำราญ สะดวก พึงทำอุโบสถ
ในวัดที่อยู่นั้น. แต่ถ้าวัดที่อยู่นั้นอยู่ในประเทศอันไม่ราบเรียบปลายแด, พึง
บอกแก่พระเถระว่า ท่านผู้เจริญวัดที่อยู่ของท่านเป็นถิ่นที่ไม่สำราญ ไม่สะดวก
ที่นี่ไม่มีโอกาสสำหรับภิกษุทั้งหมด ที่อาวาสโน้นมีโอกาส ท่านสมควรจะไปที่
อาวาสนั้น. หากว่า พระเถระไม่มา พึงนำฉันทะและปาริสุทธิของท่านมา
แล้วทำอุโบสถในสถานที่ผาสุกเพียงพอแก่ภิกษุทั้งปวง.
บทว่า อนฺธกวินฺทา มีความว่า วัด ชื่ออันธกวินทะ ห่างจากกรุง
ราชคฤห์ประมาณคาวุจ 1 เท่านั้น พระเถระอาศัยวัดนั้นอยู่มาจากอันธกวิน-
ทวิหารนั้น สู่กรุงราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ. อธิบายว่า จริงอยู่ มหาวิหาร
18 ตำบล รอบกรุงราชคฤห์มีสีมา อันเดียวกันทั้งหมด สีมาแห่งมหาวิหาร
เหล่านั้น พระธรรมเสนาบดีผูก เพราะเหตุฉะนั้น พระมหากัสสปเถระจึงต้อง
มา เพื่อให้สามัคคีแก่สงฆ์ในเวฬุวัน.
สองบทว่า นทึ ตรนฺโต ได้แก่ ข้ามแม่น้ำ ชื่อสิปปินิยะ.

ข้อว่า มนํ วุฬฺโห อโหสิ มีความว่า ได้เป็นผู้มีภาวะอันน้ำพัด
ไปไม่ถึงนิดหน่อย.
ได้ยินว่า แม่น้ำนั้นไหลลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พัดไปด้วยกระแสอันเชี่ยว
พระเถระไม่ทันใส่ใจถึงน้ำในแม่น้ำนั้น ซึ่งกำลังไหลเชี่ยวจึงได้เป็นผู้ถูกน้ำพัด
ไปหน่อยหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับลอย จีวรทั้งหลายของท่านถูกน้ำซัด จึงเปียก.
กรรมวาจาก่อน ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่กาลที่เกิด
กรรมวาจานี้ว่า สมฺมตา สีมา สงฺเฆน ติจีวเรน อวิปฺปวาโส
ฐเปตฺวา คามญฺจ คามูปจารญฺจ.
กรรมวาจาหลังนี้เท่านั้น ย่อมเป็นของ
ถาวร. แต่กรรมวาจาหลังนี้ หาควรแก่นางภิกษุณีทั้งหลายไม่ กรรมวาจาก่อน
เท่านั้น จึงควร. เพราะเหตุไร ?. เพราะว่าภิกษุณีสงฆ์ย่อมอยู่ภายในบ้าน. หาก
ว่าพึงเป็นเช่นนั้นไซร้, ภิกษุณีสงฆ์นั้น ไม่พึงได้ความบริหารไตรจีวร ด้วย
กรรมวาจาหลังนั้น, แต่การบริหารของภิกษุสงฆ์นั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น กรรม
วาจาก่อนนั่นแล ย่อมควร. จริงอยู่ สีมาทั้ง 2 ย่อมได้แก่ภิกษุณีสงฆ์. ใน
สีมาแห่งภิกษุณีสงฆ์นั้น นางภิกษุณีทั้งหลายจะสมมติสีมาครอบสีมาแห่งภิกษุ
สงฆ์ทั้งหลายก็ดี จะสมมติไว้ภายในสีมาของภิกษุทั้งหลายนั้นก็ดี ย่อมควร.
แม้ในการที่ภิกษุทั้งหลาย สมมติสีมาครอบสีมาแห่งนางภิกษุณีก็มีนัยเหมือนกัน.
เพราะว่า ภิกษุและภิกษุณี 2 ฝ่ายนั้น เป็นคณปูรกะ ในกรรมของกันและกัน
ไม่ได้ ไม่ทำกรรมวาจาให้เป็นวรรค. ก็ในคำว่า ฐเปตฺวา คามญฺจ
คามูปจารญฺจ
นี้ บัณฑิตพึงทราบว่าสงเคราะห์แม้ซึ่งนิคมและนครด้วยตาม
ศัพท์นั่นแล.
อุปจารบ้านนั้น ได้แก่เครื่องล้อมแห่งบ้านที่ล้อม. โอกาสแห่งเครื่อง
ล้อมของบ้านที่ไม่ได้ล้อม. ภิกษุผู้ทรงไตรจีวรอธิษฐานย่อมไม่ได้บริหารใน
อุปจารบ้านเหล่านั้น. อวิปปวาสสีมาของภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ครอบบ้านและ

อุปจารบ้าน ด้วยประการฉะนี้. สมานสังวาสกสีมาเท่านั้น ย่อมครอบถึง. ก็
บรรดาสีมา 2 อย่างนี้สมานสังวาสกสีมาย่อมไปตามธรรมดาของตน. ส่วน
อวิปปวาสสีมา ย่อมไปเฉพาะในที่ซึ่งสมานสังวาสกสีมาไปถึง. ทั้งการกำหนด
นิมิตของอวิปปวาสสีมานั้น จะมีแผนกหนึ่งก็หามิได้. ในสีมา 2 ชนิดนั้น
ถ้าในเวลาสมมติอวิปปวาสสีมามีบ้านอยู่. อวิปปวาสสีมานั้น ย่อมไม่ครอบถึง
บ้านนั้น. อนึ่ง ถ้าสมมติสีมาแล้ว บ้านจึงตั้งลงภายหลัง, แม้บ้านนั้นย่อมนับ
เป็นสีมาด้วย. เหมือนอย่างว่า บ้านที่ตั้งลงภายหลัง ย่อมนับเป็นสีมาด้วยฉัน
ใด แม้ประเทศแห่งบ้านที่ทั้งลงก่อน ขยายกว้างออกไปในภายหลัง ย่อมนับ
เป็นสีมาด้วย ก็ฉันนั้น. แม้ถ้าในเวลาสมมติสีมา เรือนทั้งหลายเขาทำไว้
เสร็จแล้ว ทั้งความผูกใจว่า เราทั้งหลายจักเข้าไบ่ ก็มี แต่มนุษย์ทั้งหลาย
ไม่เข้าไปก็ดี ทิ้งบ้านเก่าพร้อมทั้งเรือนด้วย ไปในที่อื่นเสียก็ดี. บ้านนั้นไม่
จัดเป็นบ้านเลย สีมาย่อมครอบถึง. แต่ถ้าแม้สกุลหนึ่ง ที่เข้าไปแล้วก็ดี ที่มา
แล้วก็ดี มีอยู่ บ้านนั้นคงเป็นบ้าน สีมาย่อมไม่ครอบถึง.
อรรถกถา นทีปารสีมา จบ

อรรถกถาวิธีถอนสีมา


วินิจฉัยในข้อว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว ติจีวเรน อวิปฺปวาโส
ลมูหนฺตพฺโพ
นี้ต่อไป:-
อันภิกษุผู้จะถอนพึงรู้จักวัตร. วัตรในการถอนนั้นดังนี้ อันภิกษุผู้ยืน
อยู่ในขัณฑสีมา ไม่พึงถอนอวิปปวาสสีมา, ยืนอยู่ในอวิปปวาสสีมา ไม่พึงถอน
แม้ซึ่งขัณฑสีมาเหมือนกัน. แต่ต้องยืนอยู่ในขัณฑสีมา ถอนขันฑสีมาเทียว.
ต้องยืนอยู่ในสีมา นอกจากนี้ถอนสีมานอกจากนี้เหมือนกัน.