เมนู

อรรถกถทีปารสีมา


วินิจฉัยในบทว่า นทีปารํ นี้ต่อไป:-
ที่ว่า ฝั่ง เพราะเหตุว่า กั้นไว้, ถามว่า กั้นอะไร ? ตอบว่ากั้นแม่น้ำ
ฝั่งแห่งแม่น้ำ ชื่อนทีปารา ความว่า ซึ่งสีมาตรอบฝั่งแม่น้ำนั้น.1 ก็ลักษณะ
แห่งแม่น้ำ ในบทว่า นทีปารํ นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในนทีนิมิตนั่น เอง.
ข้อว่า ยตฺถสฺส ธุวนาวา วา มีความว่า ในแม่น้ำใด มีเรือสัญจร
ื้ไปมาเป็นนิจ ที่ท่าทั้งหลายอันยังเป็นสถานที่ผูกสีมา, เรือใด โดยกำหนด
อย่างเล็กที่สุด พอพาคนไปได้ 3 คนทั้งคนพาย ก็ถ้าเรือนั้น เขานำไปข้าง
เหนือหรือข้างใต้ ด้วยกรณียกิจเฉพาะบางอย่างเพื่อต้องการจะกลับมาอีกก็ดี
ถูกพวกขโมยลักไป แต่พึงได้คืนเป็นแน่ก็ดี อนึ่ง เรือใด ถูกพายุเชือกขาด
คลื่นซัดออกไปกลางแม่น้ำ พึงนำกลับคืนมาได้แน่นอนก็ดี เรือนั้น ย่อมเป็น
ธุวนาวาอีกเทียว. เรือเขาเข็นขึ้นบกไว้ในเมื่อน้ำลงงวดก็ดี เรือที่เขาเอาสิ่งของ
เป็นต้นว่า ปูนขาวและน้ำเชื้อบรรทุกเต็มจอดไว้ก็ดี จัดเป็นธุวนาวาได้. ถ้า
เป็นเรือแตก หรือมีแนวกระดานครากออก ย่อมไม่ควร. แต่พระมหาปทุมัต
เถระกล่าวว่า แม้หากว่า ภิกษุทั้งหลายยืมเรือมาชั่วคราว จอดไว้ในที่ผูกสีมา
แล้ว กำหนดนิมิต เรือนั้นจัด เป็นธุวนาวาเหมือนกัน.

1. ฎีกาและโยชนา แก้ปารยติว่า อชฺโฌตฺถรติ และว่าที่เป็นปารา มิใช่ปารํ เอาฝั่ง
โน้น ก็เพราะเพ่งเอาสีมาศัพท์ ดังนั้นน่าจะแปลว่า สีมาชื่อว่า คร่อม ก็เพราะย่อมคร่อม ถามว่า
ย่อมคร่อมอะไร ? ตอบว่า ย่อมคร่อมแม่น้ำ. สีมาคร่อมแม่น้ำ ชื่อนทีปารสีมา. ซึ่งนทีปารสีมานั้น.
อธิบายว่า ซึ่งสีมาอันคร่อมแม่น้ำอยู่. อนึ่งบาลีตรงนี้เป็น นทีปารสีมํ แต่ ยุ. และสี. เป็น
นทีปารํ สีมํ อย่างในอรรถกถา.