เมนู

จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้มาด้วยคิดว่าเราทั้งหลาย
จักถอนสีมา จักไม่สามารถถอนได้. แต่ถ้ากำหนดนิมิตแห่งขัณฑสีมาแล้ว
ลำดับนั้น จึงกำหนดนิมิตที่สีมันตริกแล้วกำหนดนิมิตแห่งมหาสีมา. ครั้น
กำหนดนิมิตใน 3 สถานอย่างนี้แล้ว, ปรารถนาจะผูกสีมาใด. จะผูกสีมานั้น.
ก่อนก็ควร. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น. ก็ควรผูกตั้งต้นขัณฑสีมาไปโดยนัยตามที่
กล่าวแล้ว.
ก็บรรดาสีมาทั้งหลายที่สงฆ์ผูกอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ผู้สถิตอยู่ใน
ขัณฑสีมา ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้ทำกรรมในมหาสีมา, หรือผู้
สถิตอยู่ในมหาสีมา ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้ทำกรรมในขัณฑสีมา
อนึ่งภิกษุผู้สถิตอยู่ในสีมันตริก ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุทั้ง 2 พวก
แต่ภิกษุผู้สถิตในสีมันตริก ย่อมทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้สถิตในคามเขต
กระทำกรรม, จริงอยู่สีมันตริกย่อมควบถึงคามเขต.1

อรรถกถาวิธีผูกสีมา 2 ชั้น จบ

อรรถกถาวิธีผูกสีมาบนศิลาดาดเป็นต้น


อันที่จริง ธรรมดาสีมานั้น ซึ่งภิกษุสงฆ์ผูกแล้วบนพื้นแผ่นดินอย่าง
เดียวเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นอันผูก หามิได้. โดยที่แท้ สีมาที่ภิกษุสงฆ์ผูกไว้บน
ศิลาดาดก็ดี ในเรือนคือกุฎีก็ดี ในกุฎีที่เร้นก็ดี ในปราสาทก็ดี บนยอดเขาก็ดี
จัดว่าเป็นอันผูกแล้วเหมือนกันทั้งนั้น.
ในสถานที่เหล่านั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายจะผูกบนศิลาดาด อย่าสกัดรอย
หรือขุดหลุมดังครก บนหลังศิลาทำให้เป็นนิมิต. ควรวางศิลาที่ได้ขนาดเป็น

1. ตามนัยโยชนาแปลว่า . . . ย่อมถึงความเป็นคามเขต.

นิมิตแล้วกำหนดให้เป็นนิมิต, สมมติด้วยกรรมวาจา. ในเวลาจบกรรมวาจา
สีมาย่อมหยั่งลงไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด. ศิลาที่เป็นนิมิตจะไม่ตั้งอยู่ในที่
เดิม เพราะฉะนั้น ควรทำรอยให้ปรากฏโดยรอบ หรือสกัดเจาะศิลาที่มุมทั้ง 4
หรือจารึกอักษรไว้ว่า ตรงนี้เป็นแดนกำหนดสีมา ก็ได้. ภิกษุบางพวกริษยา
จุดไฟขึ้น ด้วยคิดว่า จักเผาสีมาเสีย ย่อมไหม้แต่ศิลา สีมาหาไหม้ไม่.
เมื่อจะผูกในเรือนคือกุฎีเล่า อย่ากำหนดฝาเป็นนิมิต ควรวางศิลาเป็น
นิมิต กะสถานที่ว่างพอจุภิกษุ 21 รูปไว้ข้างในแล้วสมมติสีมาเถิด. ร่วมในฝา
เท่านั้น ย่อมเป็นสีมา. ถ้าในร่วมในฝาไม่มีที่ว่างพอจุภิกษุได้ 21 รูป ควร
วางศิลานิมิตที่หน้ามุขก็ได้ แล้วสมมติสีมา. ถ้าแม้หน้ามุขนั้นไม่พอ ควรวาง
นิมิตทั้งหลายในที่ซึ่งน้ำตกจากชายคาภายนอก แล้วจึงสมมติสีมา. ก็เมื่อสมมติ
สีมาอย่างนั้น เรือนคือกุฎีทั้งหมด เป็นอันตั้งอยู่ในสีมาแท้.
เมื่อจะผูกในกุฎีที่เร้น ซึ่งมีฝา 4 ด้านเล่า อย่ากำหนดฝาเป็นนิมิต ควร
กำหนดแต่ศิลา. เมื่อข้างในไม่มีที่ว่าง ควรวางนิมิตทั้งหลายไว้ที่หน้ามุขก็ได้.
ถ้าหน้ามุขยังไม่พอ ควรวางศิลานิมิตทั้งหลายไว้ในที่ซึ่งน้ำตกจากชายคาในภาย
นอก แล้วกำหนดนิมิตสมมติสีมา. เมื่อผูกอย่างนี้ ย่อมเป็นสีมาทั้งภายในทั้ง
ภายนอกกุฎีที่เร้น.
เมื่อจะผูกบนปราสาทเล่า อย่ากำหนดฝาเป็นนิมิต พึงวางศิลาทั้งหลาย
ไว้ภายในแล้วสมมติสีมาเถิด. ถ้าภายในปราสาทไม่พอ พึงวางศิลาทั้งหลายที่หน้า
มุขแล้วสมมติเถิด. สีมาที่สมมติอย่างนี้ย่อมอยู่เฉพาะบนปราสาทเท่านั้น. ไม่
หยั่งลงไปถึงข้างล่าง แต่ถ้าปราสาทที่ทำบนรอดที่ร้อยในเสามากต้น ฝาชั้นล่าง
สูงขึ้นไปเนื่องเป็นอันเดียวกับไม้รอดทั้งหลาย โดยประการที่มีร่วมในแห่งนิมิต
ทั้งหลาย สีมาย่อมหยั่งถึงภายใต้. ส่วนสีมาที่ผูกบนพื้นปราสาทเสาเดียว ถ้าบน

ปลายเสา มีโอกาสพอจุภิกษุได้ 21 รูป ย่อมหยั่งถึงภายใต้. ถ้าวางศิลาทั้ง
หลายในที่เป็นต้นว่า กระดานเรียบอันยื่นออกไปจากฝาปราสาทแล้วผูกสีมา ฝา
ปราสาทย่อมอยู่ภายในสีมา, ส่วนการที่สีมานั้นจะหยั่งถึงภายใต้หรือไม่หยั่งลงไป
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. เมื่อจะกำหนดนิมิตภายใต้ปราสาทเล่าอย่า
กำหนดฝาและเสาไม้เป็นนิมิต แต่จะกำหนดเสาศิลาซึ่งยึดฝาไว้ควรอยู่. สีมาที่
กำหนดอย่างนี้ ย่อมมีเฉพาะร่วมในแห่งเสาริมโดยรอบของภายใต้ปราสาท. แต่
ถ้าฝาภายไต้ปราสาทเป็นของเนื่องถึงพื้นชั้นบน สีมาย่อมขึ้นไปถึงชั้นบนปรา-
สาทด้วย ถ้าท่านิมิตในที่ซึ่งน้ำตกจากชายคานอกปราสาท ปราสาททั้งหมดตั้ง
อยู่ในสีมา.
ถ้าพื้นบนยอดเขาเป็นที่ควรแก่โอกาส พอจุภิกษุได้ 21 รูป ผูกสีมา
บนพื้นนั้น อย่างที่ผูกบนศิลาดาด, แม้ภายใต้ภูเขาสีมาย่อมหยั่งลงไปถึง. โดย
กำหนดนั้นเหมือนกัน. แม้บนภูเขาที่มีสัณฐานดังโคนต้นตาลเล่า สีมาที่ผูกไว้
ข้างบน ย่อมหยั่งลงไปถึงข้างล่างเหมือนกัน. ส่วนภูเขาใดมีสัณฐานดังดอกเห็ด
ข้างบนมีโอกาสพอจุภิกษุได้ 21 รูป ข้างล่างไม่มี สีมาที่ผูกบนภูเขานั้น ไม่
หยั่งลงไปข้างล่าง. ด้วยประการอย่างนี้ ภูเขามีสัณฐานดังตะโพนหรือมีสัณฐาน
ดังบัณเฑาะก์ก็ตามที ข้างล่างหรือทรงกลางแห่งภูเขาใด ไม่มีพื้นที่เท่าตัวสีมา
สีมาที่ผูกบนภูเขานั้น ไม่หยั่งลงข้างล่าง ส่วนภูเขาใดมี 2 ยอดตั้งอยู่ใกล้กัน
บนยอดแม้อันหนึ่งไม่พอเป็นประมาณแห่งสีมา ควรก่อหรือถมตรงระหว่างยอด
แห่งภูเขานั้นให้เต็ม ทำให้เนื่องเป็นพื้นเดียวกันแล้วจึงสมมติสีมาข้างบน,
ภูเขาลูก 1 คล้ายพังพานงู เบื้องบนภูเขานั้น ผูกสีมาได้ เพราะมีโอกาสได้ประ
มาณเป็นสีมา; ถ้าภายใต้ภูเขานั้น มีเงื้อมอากาศสีมาไม่หยั่งลงไป. แต่ถ้าตรง
กลางเงื้อมอากาศนั้น มีศิลาโพรงเท่าขนาดสีมา สีมาย่อมหยั่งลงไปถึง. และ
ศิลานั้น เป็นของทั้งอยู่ในสีมาแท้. ถ้าแม้ฝาแห่งที่เร้นภายใต้ภูเขานั้นตั้งจดถึง

ส่วนยอด สีมาย่อมหยั่งถึง ทั้งข้างล่าง ทั้งข้างบน ย่อมเป็นสีมาหมด. แต่ว่า
ด้านในที่เร้นในภายโต้ อยู่ข้างนอกแนวแห่งแดนเป็นที่กำหนดสีมาที่อยู่ข้างบน
สีมาไม่หยังไปถึงภายนอก (แห่งที่เร้น) ถ้าแม้ด้านนอกที่เร้น อยู่ข้างในแถว
แห่งแดนเป็นที่กำหนดสีมาที่อยู่ข้างบนนั้น สีมาไม่หยั่งไปถึงในภายใน (แห่ง
ที่เร้น) ถ้าแม้ข้างบนภูเขานั้น มีโอกาสเป็นที่กำหนดสีมาเล็ก ข้างใต้มีที่เร้น
ใหญ่เกินโอกาสกำหนดสีมา สีมาย่อมมีเฉพาะข้างบนเท่านั้น ไม่หยั่งลงไปถึง
ภายใต้ แต่ถ้าที่เร้นเล็กขนาดเท่าสีมาขนาดเล็กที่สุด สีมาข้างบนใหญ่. สีมาที่
ตั้งครอบที่เร้นไว้นั้น ย่อมหยั่งลงไปถึง. ถ้าที่เร้นเล็กเกินไป ไม่ได้ขนาดกับ
สีมา สีมาย่อมมีเฉพาะข้างบนเท่านั้น ไม่หยั่งลงในภายใต้ ถ้าภูเขามีสัณฐานดัง
พังพานงูนั้น พังตกสงไปเองครั้งหนึ่ง แม้ถ้าได้ประมาณสีมา ส่วนที่ตกลงไป
ภายนอก ไม่เป็นสีมา. ส่วนที่ไม่ตกลงไป ถ้าได้ประมาณสีมา ยังคงเป็นสีมา.
ขัณฑสีมาเป็นพื้นที่ลุ่ม พูนถมขัณฑสีมานั้น ทำให้มีพื้นที่สูงขึ้น คง
เป็นสีมาตามเดิม. ชนทั้งหลายทำเรือนในสีมา เรือนนั้นเป็นอันนั้นอยู่ในสีมา
ด้วย. ขุดสระโบกขรณีในสีมา สีมานั้น ก็คงเป็นสีมาอยู่นั่นเอง. ห้วงน้ำไหล
ท่วมมณฑลสีมาไป จะผูกแคร่ทำสังฆกรรมในย่านสีมา ก็ควร. แม่น้ำ มีอุโมงค์
อยู่ภายใต้สีมา. ภิกษุผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ในแม่น้ำมีอุโมงค์นั้น ถ้าแม่น้ำนั้นผ่าน
ไปก่อน สีมาผูกทีหลัง, ไม่ยังกรรมให้เสีย. ถ้าผูกสีมาก่อน, แม่น้ำผ่านไป
ทีหลัง, ภิกษุนั้นยังกรรมให้เสีย. อนึ่ง ภิกษุผู้สถิตอยู่ ณ ภายใต้พื้นแผ่นดิน
ย่อมยังกรรมให้เสียเหมือนกัน. ก็ต้นไทรมีอยู่ในลานขัณฑสีมา. กิ่งแห่ง
ต้นไทรนั้น หรือย่านไทรที่ยื่นออกจากต้นไทรนั้น จดพื้นแผ่นดินแห่งมหา-
สีมาก็ดี จดต้นไม้เป็นต้นที่เกิดในมหาสีมานั้นก็ดี, พึงชำระมหาสีมาให้หมดจด
แล้วจึงทำกรรม หรือตัดกิ่งและย่านไทรเหล่านั้นเสีย กระทำให้ตั้งอยู่ภายนอก
ก็ได้. ภิกษุผู้ขึ้นไปบนกิ่งไม้เป็นต้นที่ไม่จดกัน ควรนำมาเข้าหัตถบาส. ด้วย
ประการอย่างนั้น กิ่งแห่งต้นไม้ที่เกิดในมหาสีมาก็ดี ย่านไทรก็ดี ย่อมทั้งอยู่

ในลานแห่งขัณฑสีมา ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พึงชำระสีมาให้หมดจดแล้ว
จึงทำกรรม หรือตัดกิ่งและย่านโทรเหล่านั้นเสีย กระทำให้ตั้งอยู่ภายนอกก็ได้
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. หากว่าเมื่อสงฆ์กำลังทำกรรมในย่านขัณฑสีมา ภิกษุ
บางรูปนั่งอยู่บนกิ่งไม้ที่ทอดอยู่บนอากาศยื่นเข้าไปในย่านสีมา เท้าของเธอถึง
ภาคพื้นก็ดี สบงจีวรของเธอถูกภาคพื้นก็ดี, ไม่สมควรทำกรรม. แต่ให้เธอ
ยกเท้าทั้ง 2 และสบงจีวรขึ้นเสียแล้วทำกรรม ควรอยู่. อันลักษณะนี้ บัณฑิต
พึงทราบแม้ตามนัยก่อน. ส่วนเนื้อความที่แปลกกัน มีดังต่อไปนี้:-
ให้เธอยกขึ้นแล้วทำกรรมในขัณฑสีมานั้น ไม่ควร ต้องนำมาเข้าหัตถ-
บาสแท้. ถ้าภูเขาซึ่งตั้งอยู่ภายในสีมาสูงตรงขึ้นไป ภิกษุผู้สถิตอยู่บนภูเขานั้น
ต้องนำมาเข้าหัตถบาส. แม้ในภิกษุผู้เข้าไปข้างในภูเขาด้วยฤทธึ์ ก็มีนัยเหมือน
กัน. แท้จริง สีมาที่สงฆ์ผูกเท่านั้น ไม่ครอบถึงประเทศทีไม่ได้ประมาณ วัตถุ
ไม่เลือกว่าชนิดไรที่เกิดในพัทธสีมา ถึงกันเข้าด้วยความเกี่ยวพันเป็นอันเดียว
กัน ในที่ใดที่หนึ่งย่อมนับว่าเป็นสีมาทั้งนั้น.
วินิจฉัยในบทว่า ติโยชนปรมํ นี้ว่า สีมาชื่อว่ามี 3 โยชน์เป็นอย่าง
ยิ่ง เพราะมี 3 โยชน์เป็นประมาณอย่างสูง. ซึ่งสีมามี 3 โยชน์เป็นอย่างยิ่งนั้น.
สีมานั้น ภิกษุผู้จะสมมติต้องสถิตอยู่ตรงกลาง สมมติให้มีโยชน์กึ่งในทิศ
ทั้ง 4 คือวัดจากที่ซึ่งตนสถิตนั้นออกไป. แต่ถ้าสถิตอยู่ตรงกลางแล้ว วัดออก
ไปทิศละ 3 โยชน์. ย่อมรวมเป็น 6 โยชน์. เช่นนี้ ใช้ไม่ได้. ภิกษุจะสมมติ
สีมา 4 เหลี่ยมเท่ากัน หรือ 3 เหลี่ยม พึงสมมติให้วัดจากมุมหนึ่งไปหามุมหนึ่ง
ได้ระยะ 3 โยชน์. ก็ถ้าให้ที่สุดรอบแห่งใดแห่งหนึ่งเกิน 3 โยชน์ไปแม้เพียง
ปลายเส้นผมเดียว ต้องอาบัติด้วย ทั้งสีมาไม่เป็นสีมาด้วย.

อรรถกถาวิธีผูกสีมาบนศิลาดาด จบ

อรรถกถทีปารสีมา


วินิจฉัยในบทว่า นทีปารํ นี้ต่อไป:-
ที่ว่า ฝั่ง เพราะเหตุว่า กั้นไว้, ถามว่า กั้นอะไร ? ตอบว่ากั้นแม่น้ำ
ฝั่งแห่งแม่น้ำ ชื่อนทีปารา ความว่า ซึ่งสีมาตรอบฝั่งแม่น้ำนั้น.1 ก็ลักษณะ
แห่งแม่น้ำ ในบทว่า นทีปารํ นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในนทีนิมิตนั่น เอง.
ข้อว่า ยตฺถสฺส ธุวนาวา วา มีความว่า ในแม่น้ำใด มีเรือสัญจร
ื้ไปมาเป็นนิจ ที่ท่าทั้งหลายอันยังเป็นสถานที่ผูกสีมา, เรือใด โดยกำหนด
อย่างเล็กที่สุด พอพาคนไปได้ 3 คนทั้งคนพาย ก็ถ้าเรือนั้น เขานำไปข้าง
เหนือหรือข้างใต้ ด้วยกรณียกิจเฉพาะบางอย่างเพื่อต้องการจะกลับมาอีกก็ดี
ถูกพวกขโมยลักไป แต่พึงได้คืนเป็นแน่ก็ดี อนึ่ง เรือใด ถูกพายุเชือกขาด
คลื่นซัดออกไปกลางแม่น้ำ พึงนำกลับคืนมาได้แน่นอนก็ดี เรือนั้น ย่อมเป็น
ธุวนาวาอีกเทียว. เรือเขาเข็นขึ้นบกไว้ในเมื่อน้ำลงงวดก็ดี เรือที่เขาเอาสิ่งของ
เป็นต้นว่า ปูนขาวและน้ำเชื้อบรรทุกเต็มจอดไว้ก็ดี จัดเป็นธุวนาวาได้. ถ้า
เป็นเรือแตก หรือมีแนวกระดานครากออก ย่อมไม่ควร. แต่พระมหาปทุมัต
เถระกล่าวว่า แม้หากว่า ภิกษุทั้งหลายยืมเรือมาชั่วคราว จอดไว้ในที่ผูกสีมา
แล้ว กำหนดนิมิต เรือนั้นจัด เป็นธุวนาวาเหมือนกัน.

1. ฎีกาและโยชนา แก้ปารยติว่า อชฺโฌตฺถรติ และว่าที่เป็นปารา มิใช่ปารํ เอาฝั่ง
โน้น ก็เพราะเพ่งเอาสีมาศัพท์ ดังนั้นน่าจะแปลว่า สีมาชื่อว่า คร่อม ก็เพราะย่อมคร่อม ถามว่า
ย่อมคร่อมอะไร ? ตอบว่า ย่อมคร่อมแม่น้ำ. สีมาคร่อมแม่น้ำ ชื่อนทีปารสีมา. ซึ่งนทีปารสีมานั้น.
อธิบายว่า ซึ่งสีมาอันคร่อมแม่น้ำอยู่. อนึ่งบาลีตรงนี้เป็น นทีปารสีมํ แต่ ยุ. และสี. เป็น
นทีปารํ สีมํ อย่างในอรรถกถา.