เมนู

จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้มาด้วยคิดว่าเราทั้งหลาย
จักถอนสีมา จักไม่สามารถถอนได้. แต่ถ้ากำหนดนิมิตแห่งขัณฑสีมาแล้ว
ลำดับนั้น จึงกำหนดนิมิตที่สีมันตริกแล้วกำหนดนิมิตแห่งมหาสีมา. ครั้น
กำหนดนิมิตใน 3 สถานอย่างนี้แล้ว, ปรารถนาจะผูกสีมาใด. จะผูกสีมานั้น.
ก่อนก็ควร. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น. ก็ควรผูกตั้งต้นขัณฑสีมาไปโดยนัยตามที่
กล่าวแล้ว.
ก็บรรดาสีมาทั้งหลายที่สงฆ์ผูกอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ผู้สถิตอยู่ใน
ขัณฑสีมา ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้ทำกรรมในมหาสีมา, หรือผู้
สถิตอยู่ในมหาสีมา ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้ทำกรรมในขัณฑสีมา
อนึ่งภิกษุผู้สถิตอยู่ในสีมันตริก ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุทั้ง 2 พวก
แต่ภิกษุผู้สถิตในสีมันตริก ย่อมทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้สถิตในคามเขต
กระทำกรรม, จริงอยู่สีมันตริกย่อมควบถึงคามเขต.1

อรรถกถาวิธีผูกสีมา 2 ชั้น จบ

อรรถกถาวิธีผูกสีมาบนศิลาดาดเป็นต้น


อันที่จริง ธรรมดาสีมานั้น ซึ่งภิกษุสงฆ์ผูกแล้วบนพื้นแผ่นดินอย่าง
เดียวเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นอันผูก หามิได้. โดยที่แท้ สีมาที่ภิกษุสงฆ์ผูกไว้บน
ศิลาดาดก็ดี ในเรือนคือกุฎีก็ดี ในกุฎีที่เร้นก็ดี ในปราสาทก็ดี บนยอดเขาก็ดี
จัดว่าเป็นอันผูกแล้วเหมือนกันทั้งนั้น.
ในสถานที่เหล่านั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายจะผูกบนศิลาดาด อย่าสกัดรอย
หรือขุดหลุมดังครก บนหลังศิลาทำให้เป็นนิมิต. ควรวางศิลาที่ได้ขนาดเป็น

1. ตามนัยโยชนาแปลว่า . . . ย่อมถึงความเป็นคามเขต.