เมนู

ฝ่ายพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าคามเขตต่าง ๆ ย่อมเป็นเช่น
กับสีมาที่ผูกต่างแผนกกัน. ฉันทะและปาริสุทธิย่อมไม่มาจากคามเขตนั้น ๆ, แต่
ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ภายในนิมิต้องมา ดังนี้. แล้วกล่าวเสริมอีกว่า ในเวลาสมมติ
สมานสังวาสกสีมา การมาก็ตาม ไม่มาก็ตาม ของภิกษุเหล่านั้น ย่อมควร.
แต่ในเวลาสมมติอวิปปวาสสีมา ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ภายในนิมิต ต้องมา. เมื่อไม่
มา ต้องนำฉันทะมา. ก็แลเมื่อภิกษุทั้งหลายประชุมกันแล้ว ฉันทะของภิกษุผู้
ควรแก่ฉันทะได้นำมาแล้ว อย่างนั้น พึงวางอารามิกบุรุษ และสามเณรเขื่อง ๆ
ไว้ในทางเหล่านั้น และในที่ทั้งหลายมีท่าน้ำและประตูบ้านเป็นต้น เพื่อนำภิกษุ
อาคันตุกะมาเข้าหัตถบาสเร็ว ๆ และเพื่อกันไว้ภายนอกสีมา แล้วพึงตีกลอง
สัญญา หรือป่าสังข์สัญญา แล้วผูกสีมาด้วยกรรมวาจาว่า สุณาตุ เม ภนฺเต
สงฺโฆ
เป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในลำดับแห่งการกำหนดนิมิต.
ในเวลาที่จบกรรมวาจานั่นเอง กันนิมิตทั้งหลายไว้ภายนอก สีมาย่อมหย่งลงไป
ในเบื้องล่างลึกถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด.
อรรถกถาวิธีผุกมหาสีมา จบ

อรรถกกถาวิธีผูกขัณฑสีมา


ภิกษุทั้งหลายผู้จะสมมติสังวาสกสีมานี้ ควรผูกขัณฑสีมาก่อน เพื่อทำ
สังฆกรรมทั้งหลายมีบรรพชาและอุปสมบทเป็นต้น ได้สะดวก, ก็แลเมื่อจะผูก
ขัณฑสีมานั้น ต้องรู้จักวัตร. ก็ถ้าจะผูกในวัดที่อยู่ที่ทายกสร้างให้ประดิษฐาน
วัตถุทั้งปวง มีต้นโพธิ์ เจดีย์และหอฉันเป็นต้นเสร็จแล้ว อย่าผูกตรงกลางวัด.
ที่อยู่อันเป็นสถานที่ประชุมของชนมาก พึงผูกในโอกาสอันสงัด ที่สุดท้ายวัดที่
อยู่. เมื่อจะผูกในวัดที่อยู่ที่ทายกไม่ได้สร้าง พึงกะที่ไว้สำหรับวัตถุทั้งปวง มี
ต้นโพธิ์และเจดีย์เป็นต้นไว้แล้ว เมื่อประดิษฐานวัตถุทั้งหลายเสร็จแล้ว ขัณฑ-

สีมาจะอยู่ในโอกาสอันสงัดสุดท้ายวัดที่อยู่ด้วยประการใด พึงผูกด้วยประการนั้น
เถิด. ขัณฑสีมานั้นโดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดถ้าจุภิกษุได้ 21 รูป ใช้ได้. ย่อม
กว่านั้น ใช้ไม่ได้, ที่ใหญ่แม้จุภิกษุจำนวนพัน ก็ใช้ได้. เมื่อจะผูกขัณฑสีมา
นั้น พึงวางศิลาที่ควรเป็นนิมิตได้ไว้โดยรอบโรงที่จะผูกสีมา. อย่ายืนอยู่ใน
ขัณฑสีมา ผูกมหาสีมา, อย่ายืนอยู่ในมหาสีมา ผูกขัณฑสีมา. แต่ต้องยืนอยู่
เฉพาะในขัณฑสีมา ผูกขัณฑสีมา, ต้องยืนอยู่เฉพาะในมหาสีมา ผูกมหาสีมา.
อรรถกถาวิธีผูกมหาสีมา จบ

อรรถกถาวิธีผูกสีมา 2 ชั้น



ในสีมา 3 ชนิดนั้น มีวิธีผูก ดังต่อไป:-
พึงกำหนดนิมิตทั้งหลายโดยรอบอย่างนี้ว่า ศิลานั่น เป็นนิมิต แล้ว
ผูกสีมาด้วยกรรมวาจา. ลำดับนั้น พึงทำอวิปปวาสกรรมวาจาซ้ำลง เพื่อทำ
ขัณฑสีมานั้น แลให้มั่นคง. จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้มา
ด้วยคิดว่า เราทั้งหลาย จักถอนสีมา จักไม่อาจถอน. ครั้นสมมติสีมาแล้ว
พึงวางศิลาหมาย สีมันตริกไว้ภายนอก. สีมันตริก ว่าโดยส่วนแคบที่สุด
ประมาณศอก 1 จึงควร. ในกุรุนทีแก้ว่า แม้ประมาณคืบ 1 ก็ควร ใน
มหาปัจจรีแก้ว่า แม้ประมาณ 4 นิ้วก็ควร. ก็ถ้าวัดที่อยู่ใหญ่ ควรผูกขัณฑสีมา
ไว้ 2 แห่งก็ได้ 3 แห่งก็ได้ เกินกว่านั้นก็ได้. ครั้นสมมติขัณฑสีมาอย่างนั้นแล้ว
ในเวลาจะสมมติมหาสีมา พึงออกจากขัณฑสีมา ยืนอยู่ในมหาสีมา กำหนด
ศิลาหมายสีมันตริก เดินวนไปโดยรอบ, ลำดับนั้น พึงกำหนดนิมิตทั้งหลาย
ที่เหลือแล้วอย่าละหัตถบาสกัน พึงสมมติสมานสังวาสกสีมาด้วยกรรมวาจาแล้ว
ทำอวิปปวาสกรรมวาจาด้วย เพื่อทำสมานสังวาสกสีมานั้นให้มั่นคง.