เมนู

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
วันอุโบสถ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระทั้งหลายลงประชุมก่อน.

ภิกษุหลายวัดทำอุโบสถร่วมกัน


[161] ก็โดยสมัยนั้นแล อาวาสในพระนครราชคฤห์หลายแห่ง มี
สีมาอันเดียวกัน ภิกษุทั้งหลายในอาวาสเหล่านั้น วิวาทกันว่า ขอสงฆ์จงทำ
อุโบสถในอาวาสของพวกเรา ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะ
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอาวาสในพระนครราชคฤห์นี้ก็หลายแห่ง มี
สีมาอันเดียวกัน ภิกษุทั้งหลายในอาวาสเหล่านั้นวิวาทกันว่า ขอสงฆ์จงทำอุโบสถ
ในอาวาสของพวกเรา ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทุก ๆ รูปพึงประชุมทำอุโบสถแห่งเดียวกัน ก็หรือภิกษุ
ผู้เถระอยู่ในอาวาสใด พึงประชุมทำอุโบสถในอาวาสนั้น แต่สงฆ์เป็นวรรคไม่
พึงทำอุโบสถ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระมหากัสสปเถระเดินทางไปทำอุโบสถ


[162] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมาจากอันธกวินทวิหาร
สู่พระนครราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ ในระหว่างทางข้ามแม่น้ำ ได้ถูกน้ำพัด
ไปเล็กน้อย จีวรของท่านเปียก ภิกษุทั้งหลายได้ถามท่านพระมหากัสสปว่า
อาวุโส เพราะเหตุไร จีวรของท่านจึงเปียก ? ท่านตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผม
มาจากอันธกวินทวิหารสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ ณ ที่นี้ ได้ข้ามแม่น้ำ

ในระหว่างทาง ถูกน้ำพัดไปเล็กน้อย เพราะเหตุนั้น จีวรของผมจึงเปียก
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีมานั้น ใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้ว
ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์จงสมมติสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่
อยู่ปราศจากไตรจีวร.

วิธีสมมติติจีวราวิปปวาส


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติติจีวราวิปปวาสสีมาอย่างนี้.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม-
วาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติติจีวราวิปปวาส


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้
แล้วให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจาก
ไตรจีวร นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติ
ไว้แล้วให้มีสังวาสเสมอถัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้
ซึ่งสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร การสมมติสีมานี้
ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.