เมนู

อรรถกถาสีมากถา


ข้อว่า พึงกำหนดนิมิตก่อน นั้น มีความว่า พระวินัยธรพึงทักว่า
ในทิศบูรพา อะไรเป็นนิมิต ? เมื่อผู้ใดผู้หนึ่ง ตอบว่าภูเขา เจ้าข้า พระวินัยธร
พึงระบุอีกว่า ภูเขานั้น เป็นนิมิต. พึงกำหนดนิมิตก่อนอย่างนี้. แต่จะกำหนด
อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจะทำภูเขานั่นเป็นนิมิต จักทำภูเขานั่นเป็นนิมิต ทำภู
เขานั่นเป็นนิมิตแล้ว ภูเขานั่นจงเป็นนิมิต เป็นนิมิตแล้ว จักเป็นนิมิติ1 ดังนี้
ใช้ไม่ได้. แม้ในนิมิตทั้งหลายมีศิลาเป็นต้น มีนัยเหมือนกันก็พระวินัยธรทัก
นิมิตไปโดยลำดับอย่างนี้ว่า ในทิศน้อยแห่งทิศบูรพา ในทิศทักษิณ ในทิศน้อย
แห่งทิศทักษิณ ในทิศปัศจิมในทิศน้อยแห่งทิศปัศจิม ในทิศอุดร ในทิศน้อย
แห่งทิศอุดร อะไรเป็นนิมิต ? เมื่อผู้ใดผู้หนึ่ง ตอบว่า น้ำ เจ้าข้า เมื่อตน
ระบุว่า น้ำนั่นเป็นนิมิต แล้วอย่าหยุดในทิศนี้ พึงทักซ้ำอีกว่าในทิศบูรพา
อะไรเป็นนิมิต ? เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งตอบว่า ภูเขาเจ้าข้า พึงระบุว่า ภูเขานั่น
เป็นนิมิต. พึงกำหนดนิมิตที่ได้กำหนดไว้ที่แรกอย่างนี้แล้ว จึงค่อยหยุด. จริง
อยู่ ด้วยการกำหนดอย่างนี้นิมิตกับนิมิตจึงจัดว่าเชื่อมถึงกัน. ครั้นกำหนดนิมิต
อย่างนี้แล้ว ลำดับนั้น พึงสมมติสีมาด้วยกรรมวาจาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
เป็นลำดับไป. ในที่สุดแห่งกรรมวาจาพื้นที่ภายในนิมิตทั้งหลายย่อมเป็นสีมา
ตัวนิมิตทั้งหลายเป็นภายนอกสีมา. นิมิตทั้งหลายในสีมานั้น แม้กำหนดครั้ง
เดียว ก็เป็นอันกำหนดไว้ดีแล้วแท้. แต่ในอันธกอรรถกถา แก้ว่า เมื่อจะผูก
มณฑลสีมา ต้องกำหนดนิมิต 3 ครั้ง. และอุปสัมบันก็ได้ อนุปสัมบันก็ไค้
จงตอบอย่างนี้ว่า ภูเขา เจ้าข้า ฯ ล ฯ น้ำเจ้าข้า ควรทั้งนั้น.

1. โหหิติ ภวิสฺสติ ทั้ง 2 คำนี้ คล้าย ๆ กับว่าใช้คำใดก็ได้ ท่านใช้ตามภาษาของท่านโดย
สะดวก ครั้นมาแปลเป็นภาษาไทยเข้าก็ลำบาก นอกจากจะแปลขอไปทีพอได้ความหรือมิฉะนั้น
ก็ยกคำบาลีนั้นมาให้เห็นในคำแปลว่า . . . นิมิตฺตํ โหหิติ นิมิตฺตํ ภวิสฺสติ เพราะต่างก็เป็น
กิริยาในความว่ามีว่าเป็น รูปอนาคตด้วยกัน.