เมนู

อรรถกถาวินิจฉัยในอุโบสถขันธกะ


ในบทว่า อญฺญติตฺถิยา นี้ มีวิเคราะห์ว่า ลัทธิ ท่านเรียกให้ชื่อว่า
ติดถะ แปลว่าท่า ท่าอื่น ชื่ออัญญติตถะ, ท่าอื่นของชนเหล่านั้น มีอยู่เหตุนั้น
ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า อัญญเดียรถีย์ มีคำอธิบายว่า ผู้มีลัทธิอื่นจากลัทธิใน
ศาสนานี้.
สองบทว่า ธมฺมํ ภาสนฺติ มีความว่า ย่อมชี้แจงถึงสิ่งที่ควรทำและ
ไม่ควรทำของเหล่าอัญญเดียรถีย์นั้น.
สองบทว่า เต ลภนฺติ คือ มนุษย์เหล่านั้นย่อมได้.
บทว่า มูคสูกรา คือ เหมือน สุกรตัวอ้วน.
ในข้อว่า อนชฺฌาปนฺโน วา โหติ อาปชฺชิตฺวา วา วุฏฺฐิโต
นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุไม่ต้องอาบัติใด หรือต้องแล้ว แต่ออก
แล้ว อาบัติ นี้ชื่อว่า อาบัติไม่มี.
ข้อว่า สมฺปชานมุสาวาโท กึ โหติ มีความว่า สัมปชานมุสาวาท
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุนั้น นี้ว่าโดยอาบัติ
เป็นอาบัติอะไร ? คือ เป็นอาบัติชนิดไหน ?
ข้อว่า ทุกฺกฏํ โหติ คือเป็นอาบัติทุกกฏ. ก็อาบัติทุกกฏนั้นแล ผู้
ศึกษาอย่าพึงเข้าใจว่า เป็นอาบัติตามลักษณะแห่งมุสาวาท แต่ควรทราบว่า
เป็นอาบัติมีการไม่ทำในวจีทวารเป็นสมุฏฐาน ตามพระวาจาของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า อันที่จริงพระอุบาลีเถระก็ได้กล่าวว่า.
ภิกษุไม่บอกด้วยวาจากับมนุษย์ไร ๆ (ผู้อยู่ใกล้) และไม่เอิ้น
บอกกะชนเหล่าอื่น (ผู้อยู่ห่าง) แต่ต้องอาบัติมีวาจาเป็นสมุฏฐาน

หาต้องอาบัติมีกายเป็นสมุฏฐานไม่ ปัญหาข้อนี้ผู้ฉลาดทั้งหลายคิด
กันนัก.

บทว่า อนฺตรายิโก คือ ทำอันตราย.
ข้อว่า กิสฺส ผาสุ โหติ มีความว่า ความสำราญย่อมมีเพื่อประ-
โยชน์อะไร ?
ข้อว่า ปฐมสฺส ฌานสฺส อธิคมาย มีความว่า ความสำราญย่อม
มี คือ ความสุขย่อมมี แก่ภิกษุนั้น เพื่อประโยชน์แก่ความบรรลุปฐมฌาน.
นัยในคุณวิเศษทั้งปวง มีทุติยฌานเป็นต้น ก็เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงปาติโมกขุทเทสครั้งแรก ทั้งอุทเทสทั้งนิทเทส ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เทวสิกํ ได้แก่ ทุก ๆ วัน.
หลายบทว่า จาตุทฺทเส วา ปณฺณรเส วา มีความว่า ในวัน
จาตุททสี 2 ครั้ง ในปักษ์ที่ 3 และที่ 7 แห่งฤดูอันหนึ่ง. ในวันปัณณรสี 6
ครั้ง ในปักษ์ที่เหลือ จากนั้น อันนี้เป็นอรรถอันหนึ่งก่อน. และอรรถนี้
กล่าวด้วยมุ่งเอาจิตตามปกติ. แต่เมื่อปัจจัยเห็นปานนั้นมี ก็สมควรจะสวดในวัน
จาตุททสี หรือวันปัณณรสี วันใดวันหนึ่ง ก็ได้ ตามพระบาลีว่า สกึ ปกฺขสฺส
จาตุทฺทเส วา ปณฺณรเส วา.
ก็เนื้อความนี้ บัณฑิตพึงทราบ แม้โดย
พระบาลีว่า อุโบสถของภิกษุทั้งหลายผู้เจ้าถิ่นเป็นวันจาตุททสี, อุโบสถของภิกษุ
ทั้งหลายผู้อาคันตุกะเป็นวันปัณณรสี, ถ้าภิกษุผู้เจ้าถิ่นมากกว่าภิกษุผู้อาคันตุกะ
ต้องคล้อยตามภิกษุผู้เจ้าถิ่น.1

1. มหาวคฺค. ปฐม 261

อรรถกถาสีมากถา


ข้อว่า พึงกำหนดนิมิตก่อน นั้น มีความว่า พระวินัยธรพึงทักว่า
ในทิศบูรพา อะไรเป็นนิมิต ? เมื่อผู้ใดผู้หนึ่ง ตอบว่าภูเขา เจ้าข้า พระวินัยธร
พึงระบุอีกว่า ภูเขานั้น เป็นนิมิต. พึงกำหนดนิมิตก่อนอย่างนี้. แต่จะกำหนด
อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจะทำภูเขานั่นเป็นนิมิต จักทำภูเขานั่นเป็นนิมิต ทำภู
เขานั่นเป็นนิมิตแล้ว ภูเขานั่นจงเป็นนิมิต เป็นนิมิตแล้ว จักเป็นนิมิติ1 ดังนี้
ใช้ไม่ได้. แม้ในนิมิตทั้งหลายมีศิลาเป็นต้น มีนัยเหมือนกันก็พระวินัยธรทัก
นิมิตไปโดยลำดับอย่างนี้ว่า ในทิศน้อยแห่งทิศบูรพา ในทิศทักษิณ ในทิศน้อย
แห่งทิศทักษิณ ในทิศปัศจิมในทิศน้อยแห่งทิศปัศจิม ในทิศอุดร ในทิศน้อย
แห่งทิศอุดร อะไรเป็นนิมิต ? เมื่อผู้ใดผู้หนึ่ง ตอบว่า น้ำ เจ้าข้า เมื่อตน
ระบุว่า น้ำนั่นเป็นนิมิต แล้วอย่าหยุดในทิศนี้ พึงทักซ้ำอีกว่าในทิศบูรพา
อะไรเป็นนิมิต ? เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งตอบว่า ภูเขาเจ้าข้า พึงระบุว่า ภูเขานั่น
เป็นนิมิต. พึงกำหนดนิมิตที่ได้กำหนดไว้ที่แรกอย่างนี้แล้ว จึงค่อยหยุด. จริง
อยู่ ด้วยการกำหนดอย่างนี้นิมิตกับนิมิตจึงจัดว่าเชื่อมถึงกัน. ครั้นกำหนดนิมิต
อย่างนี้แล้ว ลำดับนั้น พึงสมมติสีมาด้วยกรรมวาจาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
เป็นลำดับไป. ในที่สุดแห่งกรรมวาจาพื้นที่ภายในนิมิตทั้งหลายย่อมเป็นสีมา
ตัวนิมิตทั้งหลายเป็นภายนอกสีมา. นิมิตทั้งหลายในสีมานั้น แม้กำหนดครั้ง
เดียว ก็เป็นอันกำหนดไว้ดีแล้วแท้. แต่ในอันธกอรรถกถา แก้ว่า เมื่อจะผูก
มณฑลสีมา ต้องกำหนดนิมิต 3 ครั้ง. และอุปสัมบันก็ได้ อนุปสัมบันก็ไค้
จงตอบอย่างนี้ว่า ภูเขา เจ้าข้า ฯ ล ฯ น้ำเจ้าข้า ควรทั้งนั้น.

1. โหหิติ ภวิสฺสติ ทั้ง 2 คำนี้ คล้าย ๆ กับว่าใช้คำใดก็ได้ ท่านใช้ตามภาษาของท่านโดย
สะดวก ครั้นมาแปลเป็นภาษาไทยเข้าก็ลำบาก นอกจากจะแปลขอไปทีพอได้ความหรือมิฉะนั้น
ก็ยกคำบาลีนั้นมาให้เห็นในคำแปลว่า . . . นิมิตฺตํ โหหิติ นิมิตฺตํ ภวิสฺสติ เพราะต่างก็เป็น
กิริยาในความว่ามีว่าเป็น รูปอนาคตด้วยกัน.