เมนู

เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวดปาติโมกข์


[152] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สวดปาติโมกข์แก่บริษัทเท่า
ที่มีอยู่ คือเฉพาะบริษัทของตน ๆ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์แก่บริษัทเท่าที่มีอยู่ คือเฉพาะบริษัทของตน ๆ รูปใด
สวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุโบสถกรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้พร้อม
เพรียงกัน.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติอุโบสถกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ แล้วมีความดำริ
ต่อไปว่าความพร้อมเพรียงมีเพียงเท่าไรหนอแล มีเพียงอาวาสหนึ่ง หรือทั่ว
ทั้งแผ่นดินแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตความพร้อมเพรียง
เพียงชั่วอาวาสเดียวเท่านั้น.

เรื่องพระมหากัปปินเถระดำริจะไม่ทำอุโบสถ


[153] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะพักอยู่ ณ มัททกุจ-
ฉิมฤคทายวัน เขตพระนครราชคฤห์ คราวหนึ่ง ท่านไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่
ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราควรไปทำอุโบสถ หรือไม่ควร
ไป ควรไปทำสังฆกรรม หรือไม่ควรไป โดยที่แท้ เราเป็นผู้หมดจดแล้ว
ด้วยความหมดจดอย่างยิ่ง ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตก
แห่งจิตของท่านพระมหากัปปินะด้วยพระทัยของพระองค์ แล้วได้ทรงหายพระ-

องค์ไปในคิชฌกูฏบรรพมาปรากฏอยู่ตรงหน้าท่านพระมหากัปปินะ ณ มัททกุจ-
ฉิมฤคทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู่ หรือคู่แขนที่เหยียด
ฉะนั้น แล้วพระองค์ประทับนั่งเหนือพุทธอาสนะที่เขาจัดถวาย ฝ่ายท่านพระ
มหากัปปินะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดำนี้กะท่านพระกัปปินะผู้นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนกัปปินะ เธอไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตก
แห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราควรไปทำอุโบสถ หรือไม่ควรไป ควรไปทำ
สังฆกรรม หรือไม่ควรไป โดยที่แท้ เราเป็นผู้หมดจดแล้วด้วยความหมดจด
อย่างยิ่ง ดังนี้มิใช่หรือ.
ท่านพระมหากัปปินะทูลรับว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่
สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ซึ่งอุโบสถ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจัก
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ซึ่งอุโบสถ ดูก่อนพราหมณ์ เธอจงไปทำ
อุโบสถ จะไม่ไปไม่ได้ จงไปทำสังฆกรรม จะไม่ไปไม่ได้.
ท่านพระมหากัปปินะรับสนองพระพุทธพจน์ว่า อย่างนั้น พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ท่านพระมหากัปปินะเห็น-
แจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วได้ทรงหายพระองค์ไปในที่
ตรงหน้าท่านพระมหากัปปินะ ณ มัททกุจฉิมฤดูทายวัน มาปรากฏ ณ คิชฌกูฏ-
บรรพต โดยรวดเร็ว เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่
เหยียดฉะนั้น.

อรรถกถาวินิจฉัยในอุโบสถขันธกะ


ในบทว่า อญฺญติตฺถิยา นี้ มีวิเคราะห์ว่า ลัทธิ ท่านเรียกให้ชื่อว่า
ติดถะ แปลว่าท่า ท่าอื่น ชื่ออัญญติตถะ, ท่าอื่นของชนเหล่านั้น มีอยู่เหตุนั้น
ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า อัญญเดียรถีย์ มีคำอธิบายว่า ผู้มีลัทธิอื่นจากลัทธิใน
ศาสนานี้.
สองบทว่า ธมฺมํ ภาสนฺติ มีความว่า ย่อมชี้แจงถึงสิ่งที่ควรทำและ
ไม่ควรทำของเหล่าอัญญเดียรถีย์นั้น.
สองบทว่า เต ลภนฺติ คือ มนุษย์เหล่านั้นย่อมได้.
บทว่า มูคสูกรา คือ เหมือน สุกรตัวอ้วน.
ในข้อว่า อนชฺฌาปนฺโน วา โหติ อาปชฺชิตฺวา วา วุฏฺฐิโต
นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุไม่ต้องอาบัติใด หรือต้องแล้ว แต่ออก
แล้ว อาบัติ นี้ชื่อว่า อาบัติไม่มี.
ข้อว่า สมฺปชานมุสาวาโท กึ โหติ มีความว่า สัมปชานมุสาวาท
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุนั้น นี้ว่าโดยอาบัติ
เป็นอาบัติอะไร ? คือ เป็นอาบัติชนิดไหน ?
ข้อว่า ทุกฺกฏํ โหติ คือเป็นอาบัติทุกกฏ. ก็อาบัติทุกกฏนั้นแล ผู้
ศึกษาอย่าพึงเข้าใจว่า เป็นอาบัติตามลักษณะแห่งมุสาวาท แต่ควรทราบว่า
เป็นอาบัติมีการไม่ทำในวจีทวารเป็นสมุฏฐาน ตามพระวาจาของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า อันที่จริงพระอุบาลีเถระก็ได้กล่าวว่า.
ภิกษุไม่บอกด้วยวาจากับมนุษย์ไร ๆ (ผู้อยู่ใกล้) และไม่เอิ้น
บอกกะชนเหล่าอื่น (ผู้อยู่ห่าง) แต่ต้องอาบัติมีวาจาเป็นสมุฏฐาน