เมนู

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่
แล้วสงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ อะไรเป็นบุพพกิจของสงฆ์ ท่าน
ทั้งหลายพึงบอกความบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าจักสวดปาติโมกข์ พวกเราบรรดาที่มี
อยู่ทั้งหมดจงฟัง จงใส่ใจซึ่งปาติโมกข์นั้นให้สำเร็จประโยชน์ ท่านผู้ใดมีอาบัติ
ท่านผู้นั้น พึงเปิดเผย เมื่ออาบัติไม่มี พึงนิ่งอยู่ ก็ด้วยความเป็นผู้นิ่งแล
ข้าพเจ้าจักทราบท่านทั้งหลายว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การสวดประกาศกว่าจะครบ 3
จบ ในบริษัทเห็นปานนี้ย่อมเป็นเหมือนการกล่าวแก้เฉพาะรูป ที่ถูกถามผู้เดียว
ฉะนั้น ก็ภิกษุรูปใด เมื่อสวดประกาศกว่าจะครบ 3 จบ รู้ลึกได้ ไม่ยอม
เปิดเผยอาบัติที่มีอยู่ สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น ท่านทั้งหลาย ก็
สัมปชานมุสาวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุต้องอาบัติแล้วระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ พึงเปิดเผยอาบัติที่มี
อยู่ เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ.

นิทานุเทสวิภังค์


[150] คำว่า ปาติโมกข์ นี้ เป็นเบื้องต้น เป็นประธาน เป็น
ประมุขแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า ปาติโมกข์.
คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้ เป็นคำกล่าวที่อ่อนหวาน เป็นคำแสดง
ความเคารพ.
คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้ เป็นชื่อของถ้อยคำที่ประกอบด้วยความ
เคารพและประกอบด้วยความยำเกรง.

คำว่า จักสวด คือจักบอก จักแสดง จักทำให้ปรากฏ จักริเริ่ม
จักเปิดเผย จักจำแนก จักทำให้ตื้น จักประกาศ.
บทว่า นั้น ตรัสเรียกปาติโมกข์.
คำว่า ที่มี่อยู่ทั้งหมด ความว่า ภิกษุในบริษัทนั้นมีจำนวนเท่าไร
เป็นเถระก็ตาม นวกะก็ตาม มัชฌิมะก็ตาม เหล่านี้เรียกว่า ที่มีอยู่ทั้งหมด.
คำว่า จงฟังให้สำเร็จประโยชน์ ความว่า จงตั้งใจ มนสิการ
ประมวลเรื่องทั้งหมดด้วยใจ.
คำว่า จงใส่ใจ ความว่า จงเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตไม่ซัดส่าย ทั้งใจฟัง.
คำว่า ท่านผู้ใดมีอาบัติ ความว่า ภิกษุเถระก็ตาม นวกะก็ตาม
มัชฌิมะก็ตาม มีอาบัติ 5 กอง ตัวใดตัวหนึ่ง มีอาบัติ 7 กอง ตัวใดตัวหนึ่ง.
คำว่า ท่านผู้นั้นพึงเปิดเผย ความว่า ภิกษุนั้นพึงแสดง พึง
เปิดเผยพึงทำให้ตื้น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ หรือใน
บุคคลผู้หนึ่ง.
อาบัติชื่อว่า ไม่มี คือ ภิกษุไม่ต้องอาบัติ หรือว่าต้อง แต่ออก
แล้ว.
คำว่า พึงนิ่งอยู่ คือพึงนิ่ง ในต้องพูด.
คำว่า ข้าพเจ้าจักทราบว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ คือรู้จัก จักทรงจำไว้.
คำว่า ย่อมเป็นเหมือนการกล่าวแก้ เฉพาะรูปที่ถูกถามผู้เดี่ยว
ความว่า พึงรู้ในบริษัทนั้นว่า ถามเรา ดังนี้ เหมือนภิกษุรูป 1 ถูกภิกษุ
อีกรูป 1 ถาม พึงแก้ฉะนั้น.
บริษัทที่ชื่อว่า เห็นปานนี้ ตรัสเรียกภิกษุบริษัท.

คำว่า การสวดประกาศกว่าจะครบ 3 จบ ความว่า สวดประ-
กาศแม้ครั้งที่ 1 สวดประกาศแม้ครั้งที่ 2 สวดประกาศแม้ครั้งที่ 3.
บทว่า ระลึกได้ คือรู้ จำได้.
อาบัติที่ชื่อว่า มีอยู่ คือภิกษุต้องอาบัติแล้ว หรือต้องแล้วยังมิได้
ออก.
คำว่า ไม่ยอมเปิดเผย ความว่า ไม่ยอมแสดง ไม่ยอมเปิดเผย
ไม่ยอมทำให้ตื้น ไม่ยอมประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ หรือใน
บุคคลผู้ 1.
คำว่า สัมปชานมุสาวาท ย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น คือ สัมปชาน-
มุสาวาท. เป็นอะไร เป็นอาบัติทุกกฏ.
คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ความ
ว่าเป็นธรรมทำอันตรายแก่อะไร เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุปฐมฌาน
เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุทุติยฌาน เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุ
ตติยฌาน เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุจตุตถฌาน เป็นธรรมทำอันตราย
แก่การบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก
กุศลธรรม.
บทว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะเหตุดังนั้น.
บทว่า ระลึกได้ คือรู้ จำได้.
บทว่า หวังความบริสุทธิ์ คือประสงค์เพื่ออกจากอาบัติ ประสงค์
เพื่อความหมดจด.
อาบัติที่ชื่อว่า มีอยู่ คือภิกษุต้องอาบัติแล้ว หรือต้องแล้ว ยังมิได้
ออก.

คำว่า พึงเปิดเผย ความว่า พึงทำให้แจ้งในท่ามกลางสงฆ์ ท่าน
กลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง.
คำว่า เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ
ความว่า ความผาสุขมีเพื่ออะไร ความผาสุกมีเพื่อบรรลุปฐมฌาน ความผาสุก
มีเพื่อบรรลุทุติยฌาน. ความผาสุกมีเพื่อบรรลุตติยฌาน ความผาสุกมีเพื่อ
บรรลุจตตุถฌาน ความผาสุกมีเพื่อบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก กุศลธรรม.

สวดปาติโมกข์วันอุโบสถ


[151] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน ภิกษุทั้งหลายพา
กันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน รูปใดสวด
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
การสวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถแล้ว จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ 3 ครั้ง คือ ใน
วันที่ 14 วันที่ 15 และวันที่ 8ํ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ 3 ครั้ง รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ 1 ครั้ง
คือในวันที่ 14 หรือวันที่ 15.