เมนู

อรรถกถาอุปสัมปทายัตตวิธี


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปฐมํ อุปชฺฌํ คาทาเปตพฺโพ นี้ต่อไป
ภิกษุใดย่อมสอดส่องโทษและมิใช่โทษ เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่ออุปัชฌาย์.
อุปสัมปทาเปกขะนั้น อันภิกษุพึงให้ว่าถืออุปัชฌาย์นั้นอย่างนี้ว่า ขอท่านเป็น
อุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิดเจ้าข้า.
บทว่า วิตฺถายนฺติ มีความว่า อุปสัมปทาเปกขะทั้งหลาย ย่อมเป็น
ผู้มีตัวแข็งทื่อ.
สองบทว่า อุลฺลุมฺปตุ มํ มีความว่า ขอสงฆ์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด.
ศัพท์ ตาวเทว มีความว่า ในเวลาติดต่อกับเวลาที่อุปสัมปทาเปกขะ
อุปสมบทแล้วทีเดียว.
ข้อว่า ฉายา เมตพฺพา มีความว่า พึงวัดเงาว่าชั่วบุรุษ 1 หรือว่า
2 ชั่วบุรุษ.
ข้อว่า อุตุปฺปมาณํ อาจิกฺขิตพฺพํ มีความว่า พึงบอกประมาณฤดู
อย่างนี้ว่า ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูนั่นเอง ชื่อประมาณแห่งฤดูใน
คำนี้ ถ้าฤดูทั้งหลายมีฤดูฝนเป็นต้น ยิ่งไม่เต็ม ฤดูใดของอุปสัมบันใด ยังไม่เต็ม
ด้วยวันมีประมาณเท่าใด, พึงกำหนดวันเหล่านั้น แห่งฤดูนั้น แล้วบอกส่วน
แห่งวัน แก่อุปสัมบันนั้น. อีกประการหนึ่ง พึงบอกประมาณฤดูอย่างนี้ว่า
ฤดูชื่อนี้ทั้งฤดูนั้นแลเต็มหรือยังไม่เต็ม พึงบอกส่วนแห่งวันอย่างนี้ว่า เช้าหรือ
เย็น.
บทว่า สงฺคีติ เป็นต้น มีความว่า พึงประมาณการบอกทั้งหมดมี
บอกกำหนดเงาเป็นต้นนี้แลเข้าด้วยกันบอกอย่างนี้ว่า เธออันใคร ๆ ถามว่า
ท่านได้ฤดูอะไร ? เงาของท่านเท่าไร ? ประมาณฤดูของท่านอย่างไร ส่วน

แห่งวันของท่านเท่าไร ? ดังนี้ พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ฤดูชื่อนี้ คือ ฤดูฝนก็ตาม
ฤดูหนาวก็ตาม ฤดูร้อนก็ตาม เงาของข้าพเจ้าเท่านี้ ประมาณฤดูเท่านี้ ส่วน
แห่งวันเท่านี้.
บทว่า โอหาย ได้แก่ ทิ้ง.
สองบทว่า ทุติยํ ทาตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุให้เป็นเพื่อน
แก่ภิกษุผู้อุปสมบทใหม่ ซึ่งจะไปสู่บริเวณจากโรงที่อุปสมบทและให้บอก-
อกรณียกิจ 4 .
บทว่า ปฌฺฑุปลาโส ได้แก่ ใบไม้มีสีเหลือง.
สองบทว่า พนฺธนา ปมุตฺโต ได้แก่ หล่นแล้วจากขั้ว.
สองบทว่า อภพฺโพ หริตตฺตาย มีความว่า ไม่อาจเป็นของเขียว
สดอีก.
สองบทว่า ปุถุสิลา ได้แก่ ศิลาใหญ่.
ข้อว่า อลพฺภมานาย สามคฺคิยา อนาปตฺติ สมฺโภเค สํวาเส
มีความว่า ความพร้อมเพรียงเพื่อประโยชน์แก่การทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุนั้น
อันภิกษุยังไม่ได้เพียงใด ไม่เป็นอาบัติในเพราะกินร่วม1 และอยู่ร่วมต่างโดยทำ
อุโบสถ และปวารณาเป็นต้นกับภิกษุนั้น เพียงนั้น.
คำที่เหลือทุกแห่งนับว่าปรากฏแล้วแท้ เพราะเป็นคำที่จะพึงทราบได้
ง่าย โดยทำนองที่กล่าวไว้แล้วในมหาวิภังค์ ด้วยประการฉะนี้.

คำอธิบายความแห่งมหาขันธกะ


อันประดับ ด้วย 172 เรื่องในอรรถกถาแห่งพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

1. สมฺโภเคติ ธมฺมสมฺโภเค อามิสสมฺโภิเค จาติ สารตฺถทีปนี.