เมนู

อรรถกถาติรัจฉานคตวัตถุกถา


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นาคโยนิยา อฏฺฏิยติ นี้ ดังนี้:-
นาคนั้น ในประวัติกาล ย่อมได้เสวยอิสริยสมบัติเช่นกับเทพสมบัติ
ด้วยกุศลวิบากแม้โดยแท้. ถึงกระนั้น สรีระแห่งนาค ผู้ปฏิสนธิด้วยอกุศล
วิบาก มีปกติเที่ยวไปในน้ำ มีกบเป็นอาหารย่อมมีปรากฏ ด้วยการเสพเมถุน
กับนางนาคชาติของตน คือมีชาติเสมอกัน และด้วยการวางใจหยั่งลงสู่ความหลับ
เพราะเหตุนั้น นาคนั้นจึงระอาด้วยกำเนิดนาคนั้น.
บทว่า หรายติ ได้แก่ ย่อมละอาย.
บทว่า ชิดุจฺฉติ คือ ย่อมเกลียดชังอัตภาพ
หลายบทว่า ตสฺส ภิกฺขุโน นิกฺขนฺเต มีความว่า เมื่อภิกษุนั้น
ออกไปแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ในเวลาที่ภิกษุนั้นออกไป.
ข้อว่า วิสฺสฏฺโฐ นิทฺทํ โอกฺกมิ มีความว่า เมื่อภิกษุนั้นยัง
ไม่ออก นาคนั้น ไม่ปล่อยสติหลับอยู่ด้วยอำนาจแห่งความหลับอย่างลิงนั่นแล
เพราะกลัวแต่เสียงร้อง ครั้นภิกษุนั้นออกไปแล้ว จึงปล่อยสติ วางใจ คือ
หมดความระแวง คำเนินไปสู่ความหลับอย่างเต็มที่.
สองบทว่า วิสฺสรมกาสิ มีความว่า ภิกษุนั้น ด้วยอำนาจความกลัว
ละสมณสัญญาเสีย ได้กระทำเสียงดังผิดรูป.
สองบทว่า ตุมฺเห ขฺวตฺถ ตัดบทว่า ตุมฺเห โข อตฺถ บทนั้น
ท่านมิได้ทำการลบ อักษรกล่าวไว้. ความสังเขปในคำนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ
ดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายแล เป็นนาค ชื่อเป็นผู้มีธรรมไม่งอกงาม คือ ไม่เป็น