เมนู

เรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท


[125] ก็โดยสมัยนั้นแล บัณเฑาะก์คนหนึ่งบวชในสำนักภิกษุ เธอ
เข้าไปหาภิกษุหนุ่ม ๆ แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้าย
ข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบทาย เจ้าบัณเฑาะก์จง
พินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า เธอถูกพวกภิกษุพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวก
สามเณรโค่งผู้มีร่างล่ำสันแล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษ-
ร้ายข้าพเจ้า พวกสามเณรพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบทาย เจ้าบัณเฑาะก์
จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า เธอถูกพวกสามเณรรุกราน จึงเข้าไปหา
พวกคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้า แล้วพูดอย่างนี้ว่า มาเถิด ท่านทั้งหลาย จง
ประทุษร้ายข้าพเจ้า พวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า ประทุษร้ายแล้วจึงเพ่ง
โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นบัณ-
เฑาะก์ บรรดาพวกสมณะเหล่านี้ แม้พวกใดที่มิใช่บัณเฑาะก์ แม้พวกนั้นก็
ประทุษร้ายบัณเฑาะก์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณะเหล่านี้ก็ล้วนแต่ไม่ใช่เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า พา
กันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้
สึกเสีย.

อรรถกถาปัณฑกวัตถุ


สองบทว่า ทหเร ทหเร ได้แก่ หนุ่ม ๆ.
บทว่า โมลิคลฺเล ได้แก่ ผู้มีร่างกายอวบ
สองบทว่า หตฺถิภณฺเฑ อสฺสภณฺเฑ ได้แก่ คนเลี้ยงช้างและคน
เลี้ยงม้า.
ในคำว่า ปณฺฑโก ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่า บัณเฑาะก์มี
5 ชนิด คือ อาสิตตาบัณเฑาะก์ 1 อุสุยยบัณเฑาะก์ 1 โอปักกมิยบัณเฑาะก์ 1
ปักขบัณเฑาะก์ 1 นปุงสกับบัณเฑาะก์ 1.
ในบัณเฑาะก์ 5 ชนิดนั้น บัณเฑาะก์ใดเอาปากอมองคชาตของชาย
เหล่าอื่น ถูกน้ำอสุจิรดเอาแล้ว ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ ชื่อ
อาสิตตบัณเฑาะก์.
ฝ่ายบัณเฑาะก์ใดเห็นอัชฌาจารของชนเหล่าอื่น เมื่อความริษยาเกิด
ขึ้นแล้ว ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ ชื่ออุสุยยบัณเฑาะก์.
บัณเฑาะก์ใดมีอวัยวะดังพืชทั้งหลาย ถูกนำไปปราศแล้วคือ ถูกเขา
ตอนเสียแล้ว ด้วยความพยายาม1 บัณเฑาะก์นี้ ชื่อโอปักกมิยบัณเฑาะก์.
ส่วนบางคนข้างแรมเป็นบัณเฑาะก์ ด้วยอานุภาพแห่งอกุศลวิบาก แต่
ข้างขึ้น ความเร่าร้อนของเขาย่อมสงบไป นี้ชี่อว่า ปักขบัณเฑาะก์.

1. ทางสันสฤต อุปกฺรม (อุปกฺกม) หมายความว่า จิกิตฺสา (ติกิจฺฉา) ก็ได้ดังนั้น อุปกฺกม
ในที่นี้จึงน่าจะหมายความไปทางวิธีหมอ เช่นการเยียวยาผำตัดเป็นต้น.