เมนู

ทุกข์ยิ่งมากล้น พระพุทธเจ้าข้า ความรักบุตรย่อมตัดผิว ครั้นแล้ว ตัดหนัง
ตัดเนื้อ ตัดเอ็น ตัดกระดูก แล้วดังอยู่จรดเยื่อในกระดูก หม่อมฉันขอประทาน
พระวโรกาสพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่พึงบวชบุตรที่บิดามารดายังมิไค้อนุญาต
พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระเจ้าสุทโธทนศากยะทรง
เห็นแจ้ง ทรงสมาทาน ทรงอาจหาญ ทรงร่าเริง ด้วยธรรมีกถา เมื่อพระเจ้า
สุทโธทนะศากยะ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพระที่ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเหตุเพราะเป็น
เค้ามูลนั้น ไนเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์ตามพระ
พุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จเที่ยวจาริกโดยลำดับ
ถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น.

เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดมีสามเณรมากรูปได้


[119] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระสารีบุตร ส่ง
เด็กชายไปในสำนักท่านพระสารีบุตร ด้วยมอบหมายว่า ขอพระเถระโปรด
บรรพชาเด็กคนนี้ ทีนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบัญญัติไม่ให้ภิกษุรูปเดียวรับสามเณร 2 รูปไว้อุปัฏฐาก ก็เรามีสามาเณร
ราหุลนี้อยู่แล้ว ทีนี้เราจะปฏิบัติอย่างไร ดังนี้ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า.
พระผู้ทีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถรูปเดียว รับสามเณรสองรูปไว้อุปัฏฐากได้
ก็หรือเธออาจจะโอวาทอนุศาสน์สามเณรมีจำนวนเท่าใดก็ให้รับไว้อุปัฏฐาก มี
จำนวนเท่านั้น.

สิกขาบทของสามเณร


[120] ครั้งนั้น สามเณรทั้งหลาย ได้มีความดำริว่า สิกขาบทของ
พวกเรามีเท่าไรหนอแล และพวกเราจะต้องศึกษาในอะไร ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตสิกขาบท 10 แก่สามเณรทั้งหลาย และให้สามเณรทั้งหลายศึกษาใน
สิกขาบท 10 นั้น คือ:-
1. เว้นจากการทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป.
2. เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้.
3. เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์.
4. เว้นจากการกล่าวเท็จ.
5. เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท.
6. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล.