เมนู

ดังนี้ก็ดี ควรทั้งนั้น. ถ้าสถานแห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกันมีอยู่ คือโอกาสเป็นที่
กำหนดปรากฏว่า ภิกษุ 10 รูปหรือ 20 หรือ 30 รูป อยู่ด้วยกัน จะไปสู่
โอกาสที่ภิกษุเหล่านั้นยืนแล้ว หรือโอกาสที่นั่งแล้วบอกเล่าโดยนัยก่อนนั้นเอง
ก็ได้. แม้จะวานพวกภิกษุหนุ่มหรือเหล่า สามเณรแต่เว้นบรรพชาเปกขะเสีย
ให้บอกโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า มีบรรพชาเปกขะอยู่คนหนึ่ง พวกผม
บอกภัณฑุกรรมของเขา ดังนี้ ก็ควร ถ้าภิกษุบางพวกเข้าสู่เสนาสนะ หรือพุ่ม
ไม้เป็นต้น หลับอยู่ก็ดี ทำสมณธรรมอยู่ก็ดี ฝ่ายภิกษุสามเณรผู้บอกเล่า แม้
เที่ยวตามหาก็ไม่พบ จึงมีความสำคัญว่า เราบอกหมดทุกรูปแล้ว ขึ้นชื่อว่า
บรรพชาเป็นกรรมเบา เพราะเหตุนั้น บรรพชาเปกขะนั้นบวชแล้ว เป็นอัน
บวชด้วยดีแท้ ไม่เป็นอาบัติแม้เก่อุปัชฌย์ผู้ให้บวช. แต่ถ้าวัดที่อยู่ใหญ่เป็น
ที่อยู่ของภิกษุหลายพัน ถึงจะนิมนต์ก็ภิกษุทั้งหมดให้ประชุมก็ทำได้ยาก ไม่จำ
ต้องกล่าวถึงบอกเล่าตามลำดับ ต้องอยู่ในขัณฑสีมา หรือไปสู่แม้น้ำ หรือ
ทะเลเป็นต้นแล้วจึงให้บวช. ฝ่ายผู้ใดเป็นคนโกนผมใหม่ หรือสึกออกไป
หรือเป็นคนใดคนหนึ่ง ในพวกนักบวชมีนิสครนถ์เป็นต้น มีผมเพียง 2 องคุลี
หรือหย่อนกว่า 3 องคุลี กิจที่จะต้องปลงผมของผู้นั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น
แม้จะไม่บอกภัณฑุกรรม ให้บุคคลเช่นนั้นบวช ก็ควร. ฝ่ายผู้ใดมีผมยาวเกิน
2 องคุลี โดยที่สุดแม้ไว้ผมเพียงแหยมเดียว ผู้นั้น ภิกษุต้องบอกภัณฑกรรม
ก่อนจึงให้บวชได้ อุบาลิวัตถุมีนัยกล่าวแล้วในมหาวิภังค์นั่นแล.
อรรถกถาภัณฑุกัมกถา จบ

อรรถกถากากุฑเฑปกวัตถุ


บทว่า อหิวาตกโรเคน ได้แก่ มารพยาธิ. จรึงอยู่โรคนั้นเกิดขึ้น
ในสกุลใด สกุลนั้นพร้อมทั้งสัตว์ 2 เท้า 4 เท้าย่อมวอควายหมด. ผู้ใดทำลาย
ฝาเรือนหรือหลังคาหนีไป หรือไปอยู่ภายนอกบ้านเป็นต้น ผู้นั้นจึงพ้น. ฝ่าย

บิดากับบุตรในสกุลนี้ ก็พ้นแล้วด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระธรรม
สังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำว่า บิดากับบุตรยังเหลืออยู่ ดังนี้ .
บทว่า กากุฑฺฑปกํ มีความว่า เด็กใดถือก้อนดินด้วยมือซ้ายนั่งแล้ว
อาจเพื่อจะไล่กาทั้งหลายซึ่งพากันมาให้บินหนีไปแล้วบริโภคอาหารซึ่งวางไว้ข้าง
หน้าได้ เด็กนี้จัดว่าผู้ไล่กาไป จะให้เด็กนั้นบวช ก็ควร.
อรรถกถากากุฑเฑปกวัตถุ จบ

เรื่องถือนิสัย


[115] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในพระนครราช-
คฤห์นั้นแล ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษติเตียน
โพนทะนาว่า ทิศทั้งหลาย คับแคบมืดมนแก่พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่พระสมณะพวกนี้ ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่ง
โทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดู
ก่อนอานนท์เธอจงไปไขดาลบอกภิกษุทั้งหลายในบริเวณวิหารว่า อาวุโสทั้ง
หลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาจะเสด็จจาริกทักขิณาคีรีชนบท ท่าน
ผู้ใดมีความประสงค์ท่านผู้นั้นจงมา.
ท่านพระอานนท์รับสนองพระพุทธบัญชาแล้ว ไขดาลแจ้งแก่ภิกษุทั้ง
หลายในบริเวณวิหารว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาจะ
เสด็จจาริกทักขิณาคีรีชนบท ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ท่านผู้นั้นจงมา.
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติให้ภิกษุถือนิสัยอยู่ตลอด 10 พรรษา และให้ภิกษุมีพรรษาได้ 10
ให้นิสัย พวกผมจักต้องไปในทักขิณาคีรีนั้น จักต้องถือนิสัยด้วย จักพักอยู่
เพียงเล็กน้อยก็ต้องกลับมาอีก และจักต้องกลับถือนิสัยอีก ถ้าพระอาจารย์ ของ
พวกผมไป แม้พวกผมก็จักไป หากท่านไม่ไป แม้พวกผมก็จักไม่ไป อาวุโส
อานนท์ ความที่พวกผมมีใจเบาจักปรากฏ.