เมนู

ลำคับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้บวชเด็กชายมีอายุหย่อน 15 ปี แต่สามารถไล่กาได้.

เรื่องสามเณรของท่านพระอุปนนท์


[114] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนนทศากยบุตรมีสามเณรอยู่ 2
รูปคือสามเณรกัณฏกะ 1 สามเณรมหกะ 1 เธอทั้งสองประทุษร้ายกันและกัน
ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนสามเณรทั้งสองจึงได้
ประพฤติอนาจารเห็นปานนั้นเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
รูปเดียวไม่พึงให้สามเณร 2 รูปอุปัฏฐาก รูปใดให้อุปัฏฐาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

อรรถกถาภัณฑุกัมมกถา


บทว่า กมฺมากณฺฑุ ได้แก่ลูกช่างทอง ซึ่งมีศีรษะโล้นไว้แหยม
มีคำอธิบายว่า เด็นรุ่นมีผม 5 แหยม.1
ข้อว่า สงฺฆํ อปโลเกตุํ ภณฺฑิกมฺมาย มีความว่า เราอนุญาต
ให้ภิกษุบอกเล่าสงฆ์เพื่อประโยชน์แก่ภัณฑุกรรม. อาปุจฉนวิธี ในภัณฑุ-
กรรมาธิการนั้น ดังนี้ . พึงนิมนต์ภิกษุทั้งหลายผู้นับเนืองในสีมาให้ประชุมกัน
แล้ว นำบรรพชาเปกขะไปในสีมานั้นแล้ว บอก 3 ครั้งหรือ 2 ครั้ง หรือ
ครั้งเดียว ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าบอกภัณฑุกรรมของเด็กนี้กะสงฆ์. อนึ่ง
ในอธิการว่าด้วยการปลงผมนี้ จะบอกว่า ข้าพเจ้าบอกภัณฑุกรรมของเด็กนี้
ดังนี้ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าบอกสมณกรณ์ของทารกนี้ ดังนี้ก็ดี ว่า ทารกนี้อยากบวช

1. ตามนัยโยชนา ภาค 2 หน้า 202 ควรจะแปลว่า บทว่า กมมารภณฺฑุ ได้แก่ชายศีรษะโล้น
ลูกนายช่างทอง มีคำอธิบายว่า เด็กรุ่นบุตรนายช่างทอง มีผมอยู่ 5 แหยม. (ตุลาธาโร ก็คือ
สุวณฺณกาโร). ส่วนปาฐะว่า กมฺมารภณฺฑุ ในพระบาลีนั้น แปลเอาความว่า บุตรนายช่างทอง
ศีรษะโล้น (วินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม 4 หน้า 156).