เมนู

เรื่องตายเพราะอหิวาตกโรค


สามเณรบรรพชา


[112] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลหนึ่งได้ตายลง เพราะอหิวาตกโรค
ตระกูลนั้นเหลืออยู่แต่พ่อกับลูก คนทั้งสองนั้นบวชในสำนักภิกษุแล้ว เที่ยว
บิณฑบาตด้วยกัน ครั้น เมื่อเขาถวายภิกษาแก่ภิกษุผู้เป็นบิดา สามเณรน้อยก็
ได้วิ่งเข้าไปกล่าวว่าข้าแต่พ่อ ขอพ่อจงให้แก่ลูกบ้าง จงให้แก่ลูกบ้าง.
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านี้มิใช่ผู้พระพฤติพรหมจรรย์ สามเณรน้อยรูปนี้ชะรอยเถิด
แต่ภิกษุณี ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็ก
ชายมีอายุหย่อน 15 ปี ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

เด็กชายตระกูลอุปัฏฐากบรรพชา


[113] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอานนท์มี
ศรัทธาเลื่อมใส ได้ตายลงเพราะอหิวาตกโรค เหลืออยู่แต่เด็กชายสองคน เด็ก
ชายทั้งสองเห็นภิกษุทั้งหลาย จึงวิ่งเข้าไปหาด้วยกิริยาที คุ้นเคยแต่ก่อนมา ภิกษุ
ทั้งหลายไล่ไปเสีย เด็กชายทั้งสองนั้นเมื่อถูกภิกษุทั้งหลายไล่ก็ร้องไห้ จึงท่าน
พระอานนท์ได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ มิให้บวชเด็กชาย
มีอายุหย่อน 15 ปี ก็เด็กชายทั้งสองคนนี้มีอายุหย่อน 15 ปี ด้วยวิธีอะไรหนอ
เด็กชายสองคนนี้จึงจะไม่เสื่อมเสีย ดังนี้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานว่า ดูก่อนอานนท์ เด็กชายสองคนนั้น
อาจไล่กาได้ไหม ?.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า อาจ พระพุทธเจ้าข้า.

ลำคับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้บวชเด็กชายมีอายุหย่อน 15 ปี แต่สามารถไล่กาได้.

เรื่องสามเณรของท่านพระอุปนนท์


[114] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนนทศากยบุตรมีสามเณรอยู่ 2
รูปคือสามเณรกัณฏกะ 1 สามเณรมหกะ 1 เธอทั้งสองประทุษร้ายกันและกัน
ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนสามเณรทั้งสองจึงได้
ประพฤติอนาจารเห็นปานนั้นเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
รูปเดียวไม่พึงให้สามเณร 2 รูปอุปัฏฐาก รูปใดให้อุปัฏฐาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

อรรถกถาภัณฑุกัมมกถา


บทว่า กมฺมากณฺฑุ ได้แก่ลูกช่างทอง ซึ่งมีศีรษะโล้นไว้แหยม
มีคำอธิบายว่า เด็นรุ่นมีผม 5 แหยม.1
ข้อว่า สงฺฆํ อปโลเกตุํ ภณฺฑิกมฺมาย มีความว่า เราอนุญาต
ให้ภิกษุบอกเล่าสงฆ์เพื่อประโยชน์แก่ภัณฑุกรรม. อาปุจฉนวิธี ในภัณฑุ-
กรรมาธิการนั้น ดังนี้ . พึงนิมนต์ภิกษุทั้งหลายผู้นับเนืองในสีมาให้ประชุมกัน
แล้ว นำบรรพชาเปกขะไปในสีมานั้นแล้ว บอก 3 ครั้งหรือ 2 ครั้ง หรือ
ครั้งเดียว ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าบอกภัณฑุกรรมของเด็กนี้กะสงฆ์. อนึ่ง
ในอธิการว่าด้วยการปลงผมนี้ จะบอกว่า ข้าพเจ้าบอกภัณฑุกรรมของเด็กนี้
ดังนี้ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าบอกสมณกรณ์ของทารกนี้ ดังนี้ก็ดี ว่า ทารกนี้อยากบวช

1. ตามนัยโยชนา ภาค 2 หน้า 202 ควรจะแปลว่า บทว่า กมมารภณฺฑุ ได้แก่ชายศีรษะโล้น
ลูกนายช่างทอง มีคำอธิบายว่า เด็กรุ่นบุตรนายช่างทอง มีผมอยู่ 5 แหยม. (ตุลาธาโร ก็คือ
สุวณฺณกาโร). ส่วนปาฐะว่า กมฺมารภณฺฑุ ในพระบาลีนั้น แปลเอาความว่า บุตรนายช่างทอง
ศีรษะโล้น (วินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม 4 หน้า 156).